Water Bubbles in Gray

Cutaneous DCS, Skin DCS, Skin Bend … คืออะไร

Cutaneous DCS คือ DCS ที่มีอาการแสดงทางผิวหนัง ซึ่งมีสาเหตุหลัก 3 ประการแสดงอาการออกมาให้เราสังเกตเห็นได้ รู้ไว้เพื่อแก้ไขได้ทันท่วงที

อ่าน Cutaneous DCS, Skin DCS, Skin Bend … คืออะไร
Water Bubbles in Gray

มาทำความรู้จักกับ …Decompression Sickness (DCS)… อีกซักครั้ง

DCS เรื่องใหญ่และอันตรายที่สุดสำหรับการดำน้ำ รู้จักไว้ให้ชัดเจนกันเถอะ

อ่าน มาทำความรู้จักกับ …Decompression Sickness (DCS)… อีกซักครั้ง

เลือดกำเดาไหล เมื่อขึ้นสู่ผิวน้ำ

หลายท่านอาจเคยเป็น หรือเคยเห็นเพื่อนนักดำน้ำ มีเลือดออกจากจมูกมาคั่งอยู่ในหน้ากากดำน้ำ ระหว่างขึ้นสู่ผิวน้ำ … มารู้จักสาเหตุและวิธีป้องกันอาการนี้กันครับ

อ่าน เลือดกำเดาไหล เมื่อขึ้นสู่ผิวน้ำ
Headache Migraine Medicine

อาการปวดศีรษะ ระหว่างอยู่ใต้น้ำ !!!

อาการปวดศีรษะนี้ ถ้าเกิดขึ้นระหว่างอยู่ใต้น้ำ คงทำให้การดำน้ำไดฟ์นั้นหมดสนุกไปเยอะครับ มารู้จักกับสาเหตุของอาการปวดหัวระหว่างดำน้ำกันดีกว่า

อ่าน อาการปวดศีรษะ ระหว่างอยู่ใต้น้ำ !!!
Strip for Female Menstruation

การดำน้ำระหว่างมีประจำเดือน … มีความเสี่ยงหรือไม่ ???

ปัญหาสำคัญของสาวๆ นักดำน้ำทั้งหลาย คือ มีประจำเดือนในช่วงที่ไปดำน้ำพอดี คำถามคือ ควรปฏิบัติตัวอย่างไร และมีความเสี่ยงอะไรบ้าง

อ่าน การดำน้ำระหว่างมีประจำเดือน … มีความเสี่ยงหรือไม่ ???

โรคหอบหืด กับ ความเสี่ยงในการดำน้ำ

ผู้ป่วยหอบหืดสามารถดำน้ำได้หรือไม่ มีข้อควรระวังอะไรสำหรับนักดำน้ำที่เป็นหอบหืด และบัดดี้ของเขา

อ่าน โรคหอบหืด กับ ความเสี่ยงในการดำน้ำ
Yellow-lipped sea krait (Laticauda colubrina)

รู้จักกับ งูทะเล … ถ้าเจอกันตอนดำน้ำ ใครควรจะกลัวใคร ?

พิษงูทะเลนั้นร้ายแรงกว่างูเห่า 2-10 เท่าอีกต่างหาก มันช่างน่ากลัวเสียนี่กระไร … ความจริงแล้ว ยังมีอีกหลายประเด็นเกี่ยวกับงูทะเลที่ไม่ได้พูดถึงกัน ว่าจริงๆ แล้ว มันร้ายกาจแบบนั้นจริงหรือไม่

อ่าน รู้จักกับ งูทะเล … ถ้าเจอกันตอนดำน้ำ ใครควรจะกลัวใคร ?
Picture of A Doctor with A Heart in Hands

รู้จักกับ PFO (Patent Foramen Ovale) หรือสภาวะหัวใจห้องบนมีรูรั่วถึงกัน

มาทำความรู้จักกับ PFO (Patent Foramen Ovale) หรือ สภาวะผนังของหัวใจระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายและขวามีรูรั่ว … ความผิดปกติของผนังหัวใจแต่กำเนิดชนิดนี้ มีข้อห้ามหรือเสี่ยงในการดำน้ำ อย่างไร

อ่าน รู้จักกับ PFO (Patent Foramen Ovale) หรือสภาวะหัวใจห้องบนมีรูรั่วถึงกัน

การใส่ คอนแทคเลนส์ ดำน้ำ!

ผมว่ามีนักดำน้ำหลายๆ ท่านที่มีปัญหาเรื่องสายตา และไม่ชอบที่จะตัดเลนส์สายตาแปะไปกับหน้ากากดำน้ำ หนึ่งในนั้นก็มีผมเองรวมอยู่ด้วยครับ (ผมสายตาสั้น 650 ข้างซ้าย และ 600 ข้างขวา) การเลือกที่จะใส่คอนแทคเลนส์ลงดำน้ำ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่หลายๆคนทำ แต่ก็มีข้อแนะนำและเรื่องที่ควรระวังอยู่หลายประการครับ 1) คอนแทคเลนส์ที่ใช้ควรเป็น soft lenses ครับ เพราะจะแนบกับกระจกตาได้ดี ไม่มีช่องว่างให้เกิดฟองอากาศไปแทรกตัวอยู่ และยังมีคุณสมบัติที่ยอมให้ก๊าซและของเหลวซึมผ่านเข้าออกระหว่างคอนแทคเลนส์และกระจกตาได้ สิ่งสำคัญอีกอย่างคือเราควรเลือก soft lenses แบบใช้วันต่อวันแล้วทิ้ง (one-day contact lens) จะดีที่สุด … จักษุแพทย์บางท่านถึงขนาดแนะนำว่า ถ้าจะให้ดี หนึ่งคู่ต่อหนึ่งไดฟ์ … แต่ในส่วนตัวที่ผมใช้อยู่คือ หนึ่งคู่ต่อหนึ่งวันครับ สิ่งที่จักษุแพทย์กังวลคือ แบคทีเรียที่อยู่ในน้ำทะเล ที่อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรงต่อกระจกตา โดยเฉพาะแหล่งดำน้ำที่ใกล้ๆ ชายฝั่งมากๆ หรือเป็นการดำในแหล่งน้ำจืดที่ปนเปื้อนและสกปรก ในกรณีนี้ ต้องระมัดระวังและควรเปลี่ยนให้บ่อยเข้าไว้ครับ 2) ในส่วนของ hard lenses นั้นไม่แนะนำให้ใช้ครับ เพราะอาจเกิดปัญหามีฟองอากาศไปขังอยู่ระหว่างตัวคอนแทคเลนส์กับกระจกตา และจะขยายขนาดเมื่อลดความกดบรรยากาศ ส่งผลทำให้กระจกตาเป็นแผลอักเสบและติดเชื้อได้ครับ 3) ข้อเสียของการใส่คอนแทคเลนส์ คือ การหลุดระหว่างอยู่ใต้น้ำอาจจะเกิดขึ้นในขณะเคลียร์น้ำออกจากหน้ากาก หรือ การถอดใส่หน้ากากใต้น้ำแล้วมีการลืมตาใต้น้ำ ซึ่งหากเกิดขึ้นก็จะส่งผลทำให้มีปัญหาในการมองเห็นใต้น้ำ อาจจะนำไปสู่อาการปวดศีรษะเวียนศีรษะใต้น้ำได้ ซึ่งควรระมัดระวัง หากเกิดปัญหาอาจจะต้องแจ้งให้บัดดี้ทราบและยกเลิกการดำเพื่อขึ้นสู่ผิวน้ำครับ 4) คอนแทคเลนส์พวก Big Eye ทั้งหลาย ไม่แนะนำครับ เหตุเพราะมักมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่าปกติ อาจจะไม่โค้งแนบกับกระจกตาได้ดีเท่าคอนแทคเลนส์ธรรมดา ปัญหาคืออาจจะหลุดได้ง่ายและ อาจมีฟองอากาศไปแทรกตัวอยู่ได้ ซึ่งอาจทำให้กระจกตาเป็นแผลเมื่อฟองอากาศขยายตัวเวลาขึ้นสู่ผิวน้ำ ก็เป็นเกร็ดความรู้ และข้อควรระวังเล็กๆ น้อยๆ ที่คิดว่าใกล้ตัวและน่าสนใจสำหรับนักดำน้ำครับ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมก็ไถ่ถามมาได้ตามเคยนะครับ เขียนโดย หมอเอ๋ เผยแพร่ครั้งแรก 27 ธ.ค. 2554

อ่าน การใส่ คอนแทคเลนส์ ดำน้ำ!