วิธีตรวจเช็คเร็กกูเลเตอร์ด้วยตัวคุณเอง

รายการตรวจเช็คเร็กกูเลเตอร์ (regulator) เบื้องต้น ที่นักดำน้ำสามารถจัดการได้เอง ก่อนออกทริป หรือหลังจากรับคืนอุปกรณ์จากศูนย์บริการ

อ่าน วิธีตรวจเช็คเร็กกูเลเตอร์ด้วยตัวคุณเอง
ไฟฉายดำน้ำ Diving Light

การดูแลไฟฉายดำน้ำ และถ่านไฟฉายแบบชาร์จ

ก่อนเดินทาง ตรวจสอบทำงานของไฟฉายให้ครบทุกฟังก์ชั่น ตรวจสอบรอยขูดขีดบนผิวของ O-ring และร่องสำหรับใส่ O-ring รวมถึงเปลี่ยน O-ring ทุกๆ ปี ในระหว่างเดินทาง ควรแยกเบตเตอรี่ออกจากตัวไฟฉาย ในกรณีที่เดินทางด้วยเครื่องบิน และช่องใส่แบตเตอรี่เป็นแบบเกลียวหมุน ให้คลายฝาปิดเปิดเล็กน้อย เพื่อป้องกันแรงดูดของอากาศหลังจากลงเครื่องบิน หากหมุนปิดสนิทไว้ หลังจากลงเครื่องบินแล้ว จะหมุนออกยากมาก เนื่องจากการขยายตัว และหดตัวของอากาศระหว่างเดินทาง ก่อนลงดำน้ำ ตรวจสอบตามขอบของไฟฉาย ว่ามีส่วนไหนบุบ-แตก หรือไม่ ตรวจสอบเศษผม เศษฝุ่นที่ O-ring หลังจบไดฟ์ ล้างผิวภายนอกของไฟฉายด้วยน้ำจืดทุกครั้งหลังขึ้นจากน้ำทะเล กรณีที่ใช้สวิตซ์เปิดปิดไฟฉายแบบปุ่มกด ควรกดปุ่มในน้ำจืดประมาณ 10 ครั้ง เพื่อไล่น้ำเกลือที่อยู่ในช่องว่างระหว่างปุ่มกดและสปริงออกไป การเก็บรักษา ล้างไฟฉายเหมือนหลังจบไดฟ์ และผึ่งให้แห้งทั้งภายนอกและภายใน ก่อนเก็บเป็นระยะเวลานาน ไม่เก็บแบตเตอรี่ไว้ในกระบอกไฟฉาย และไม่เก็บในที่ร้อน ชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็มก่อนเก็บ หรือนำมาชาร์จทุกๆ 3 เดือน เพื่อป้องกัน over-discharging ซึ่งจะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็ว

อ่าน การดูแลไฟฉายดำน้ำ และถ่านไฟฉายแบบชาร์จ

ตะขอ–อุปกรณ์เสริมสำหรับการดำน้ำในที่น้ำแรงและต้องการจะลงไปรอดูปลาต่างๆ ว่ายน้ำผ่านเท่านั้น

ตะขอ–อุปกรณ์เสริมสำหรับการดำน้ำในที่น้ำแรงและต้องการจะลงไปรอดูปลาต่างๆ ว่ายน้ำผ่านเท่านั้น ใช้อย่างไร เก็บอย่างไร เลือกซื้ออย่างไร

อ่าน ตะขอ–อุปกรณ์เสริมสำหรับการดำน้ำในที่น้ำแรงและต้องการจะลงไปรอดูปลาต่างๆ ว่ายน้ำผ่านเท่านั้น
Overbalanced Regulator from Apeks, Aqua Lung, ScubaPro

Overbalanced Regulator ดีอย่างไร จำเป็นต้องใช้หรือไม่

รู้จักกับ Overbalanced Regulator เทียบกับ Unbalanced และ Balanced แล้วไปหาคำตอบกันว่า นักดำน้ำอย่างเรา จำเป็นต้องใช้หรือไม่

อ่าน Overbalanced Regulator ดีอย่างไร จำเป็นต้องใช้หรือไม่

Wetsuit ควรเลือกอย่างไรให้เหมาะกับคุณ?

การเลือกชุดเว็ทสูทที่เหมาะกับคุณควรพิจารณาความฟิตพอดี, ความหนาของชุดสำหรับอุณหภูมิน้ำ, จุดกันน้ำเข้าชุด, การมีแผ่นยางรองซิป, ชุดที่มีผ้าในเป็นขนและการเย็บแบบ Blindstitch และติดกาวเสริม เพื่อความสบายและป้องกันน้ำเข้าชุดอย่างมีประสิทธิภาพ

อ่าน Wetsuit ควรเลือกอย่างไรให้เหมาะกับคุณ?

เวลาดำน้ำ ใส่หรือไม่ใส่ชุด (เว็ทสูท) ก็เหมือนกันใช่ไหม?

ข้อดีและข้อเสีย เน้นว่าการใส่หรือไม่ใส่เว็ทสูทขึ้นอยู่กับความสะดวกสบายและความพร้อมในการรับมือกับสภาพแวดล้อมใต้น้ำของแต่ละบุคคล และแนะนำให้คำนึงถึงสภาพอากาศในน้ำและความรู้สึกของตัวเองก่อนตัดสินใจใส่หรือไม่ใส่ชุดเว็ทสูทในการดำน้ำ

อ่าน เวลาดำน้ำ ใส่หรือไม่ใส่ชุด (เว็ทสูท) ก็เหมือนกันใช่ไหม?

Drysuit เหมาะกับน้ำเย็นมากๆ เท่านั้นจริงหรือ?

ความแตกต่างระหว่าง Neoprene Drysuit และ Trilaminate Drysuit ในการใช้งานในน้ำเย็น โดย Neoprene Drysuit เหมาะสำหรับน้ำเย็นมากๆ เนื่องจากความหนาของวัสดุ ช่วยให้รักษาความอุ่นได้ดี ในขณะที่ Trilaminate Drysuit มีความเบาบางและต้องใช้ Undergarment

อ่าน Drysuit เหมาะกับน้ำเย็นมากๆ เท่านั้นจริงหรือ?
Mask with Side-Window

รู้จักกับหน้ากากดำน้ำแบบมีกระจกข้าง 3- และ 4-window

หน้ากากดำน้ำทั่วไปที่เรามักจะเห็นกันอยู่ทั่วไป จะมีกระจกใสด้านหน้าเป็นแนวระนาบอยู่แผ่นเดียวเต็มหน้าหรือ 2 ข้าง-ซ้ายขวา แต่ยังมีหน้ากากดำน้ำอีกแบบหนึ่งที่ทุกยี่ห้อจะต้องผลิตออกมาจำหน่ายสัก 1-2 รุ่นเสมอ และก็เป็นที่สนใจของนักดำน้ำไม่น้อยเลยทีเดียว นั่นคือหน้ากากแบบ 3-window และ 4-window หน้ากากแบบ 3-window ก็คือหน้ากากที่มีกระจกในด้านหน้า 1 ด้านและมีกระจกใสด้านข้างอีก 2 ด้าน ส่วนหน้ากากแบบ 4-window ก็จะมีกระจกหน้าแบ่งเป็น 2 ข้าง-ซ้ายขวา และมีกระจกใสด้านข้างอีก 2 ด้านเช่นเดียวกัน ข้อดีของหน้ากากดำน้ำที่มีกระจกข้าง คงจะเดากันได้ทันทีว่า ก็คือทัศนวิสัยที่กว้างขึ้นมาก เพิ่มมุมการมองเห็นจากด้านข้างได้อีก และยังมีเรื่องของความรู้สึกสว่างจากแสงที่เข้ามาจากด้านข้างได้มากขึ้นด้วย จึงเหมาะกับคนที่ไม่ชอบความมืดทึบหรือคับแคบอึดอัดได้เป็นอย่างดี ข้อพิจารณา 1: ปริมาตรภายในสูง (High Volume) แต่ด้วยความที่ต้องเพิ่มกระจกข้างเข้ามา จึงทำให้ต้องขยับระยะกระจกหน้าจนห่างจากใบหน้ามากกว่าหน้ากากปกติ ส่งผลให้ปริมาตรอากาศภายในหน้ากากเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเมื่อเทียบกับหน้ากากปกติ ผลกระทบต่อผู้ใช้ก็คือ หากเกิดน้ำเข้าหน้ากากจนเต็มก็อาจจะต้องหายใจออกเพื่อเคลียร์หน้ากากหลายรอบ และสำหรับคนที่สำลักน้ำง่าย หรือตกใจง่ายจากน้ำในหน้ากาก ก็อาจมีความเสี่ยงอันตรายจากการใช้หน้ากากแบบนี้ได้ สำหรับนักดำน้ำใหม่ ที่อาจกังวลเรื่องน้ำเข้าหน้ากาก ขอบอกให้สบายใจได้ว่า ถ้าหากได้ทดลองแล้วว่าขอบหน้ากากรุ่นนั้นรับกับใบหน้าของเราได้ การที่น้ำจะเข้าจนเต็มหน้ากากระหว่างการดำน้ำ ก็ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ นะ แต่สำหรับนักดำน้ำที่มีประสบการณ์ก็คงพอจะทราบจากอุปกรณ์ที่ใช้อยู่ และจากบัดดี้ของตัวเองว่าชอบกวัดแกว่งตีนกบมาโดนหน้าเราบ่อยแค่ไหน ก็พิจารณากันได้เองเลย ข้อพิจารณา 2: ทัศนวิสัยแนวตั้ง (ด้านบนและด้านล่าง) ลดลง จากการที่ต้องยื่นระยะกระจกด้านหน้าออกไปอีก ทำให้ขอบของกระจกกลับมาบดบังมุมมองด้านบนกับด้านล่างมากกว่าหน้ากากปกติอีกเล็กน้อย ข้อพิจารณา 3: ภาพวัตถุบริเวณมุมกระจกมีอาการกระโดดๆ เนื่องจากแสงมีการหักเหเมื่อเคลื่อนผ่านตัวกลางน้ำทะเลและกระจกใส ประกอบกับกระจก 2 ด้านที่ทำมุมกันอยู่ราว 90 องศาตรงมุมทั้ง 2 ข้าง ทำให้เกิดจุดบอดที่ตาจะมองไม่เห็นวัตถุในตำแหน่งหนึ่ง และจะมองเห็นภาพของวัตถุขณะที่กำลังเคลื่อนผ่านกระจกด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งเหมือนกับกระโดดจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง (หายไปชั่วขณะหนึ่ง ก่อนจะปรากฏขึ้นในอีกด้านหนึ่ง) ซึ่งสำหรับนักดำน้ำบางคนอาจรู้สึกรำคาญตาเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ถูกค้นพบมานานแล้ว และผู้ผลิตหน้ากากหลายยี่ห้อก็ได้ปรับปรุงหน้ากากของตัวเองจนลดอาการรบกวนดังกล่าวลงไปได้อย่างมากแล้วในปัจจุบัน ข้อพิจารณา 4: ลดความลู่น้ำลงไปอีกนิด เมื่อกระจกหน้ายื่นไปข้างหน้า ก็เท่ากับเพิ่มระยะด้านการเคลื่อนที่ของน้ำขึ้นไปอีกนิดด้วย ซึ่งในกรณีทั่วไปผลกระทบกับการเคลื่อนที่อาจไม่มากนัก แต่อาจมีผลมากขึ้นรวมถึงเกิดความรำคาญเป็นอย่างมากหากดำน้ำอยู่ในกระแสน้ำแรงๆ ข้อพิจารณา 5: น้ำหนักหน้ากากที่เพิ่มขึ้นอีกหน่อย เมื่อจำนวนชิ้นกระจกเพิ่มมากขึ้น กรอบก็ต้องเพิ่มขึ้นอีกนิด น้ำหนักรวมของหน้ากากทั้งชิ้น ที่แก้มและใบหูของเราจะต้องรองรับ ก็เพิ่มตามไปด้วย … เรื่องนี้ก็คงต้องแล้วแต่ความชอบของแต่ละคนแล้วล่ะ ดังนั้น นักดำน้ำที่สนใจหน้ากากแบบนี้ ควรจะลองพิจารณาตามหัวข้อข้างต้น ให้แน่ใจว่าตนเองเหมาะจะใช้หน้ากากแบบนี้หรือไม่ ก่อนการตัดสินใจซื้อ แหล่งข้อมูล HOW TO BUY A MASK โดย Reef Seekers Dive Co. Any issues with Panoramic Dive…

อ่าน รู้จักกับหน้ากากดำน้ำแบบมีกระจกข้าง 3- และ 4-window

3 คำถามง่ายๆ เลือกไฟฉายดำน้ำให้ตรงใจ สำหรับมือใหม่

วิธีการเลือกไฟฉายดำน้ำ สำหรับมือใหม่ Q: อยากได้ไฟฉายดำน้ำซักอัน เลือกยังไงดี A: ไฟฉาย สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ spot light กับ flood light Spot Light คือ ไฟฉายที่ไฟบริเวณกลางวง มีแสงเข้มกว่าบริเวณรอบนอก Flood Light  คือ ไฟฉายที่ให้แสงไฟสว่างเท่ากันหรือพอๆ กันเฉลี่ยทั้งวง Q: จะเลือกใช้แบบไหนดี A: ประโยชน์ของ spot light สำหรับการดำน้ำ คือ เอาไว้ชี้ของต่างๆ ใต้น้ำ ที่เราต้องการดูแบบเฉพาะเจาะจง หรือต้องการชี้ให้เพื่อนๆ ดู ประโยชน์ของ flood light สำหรับการดำน้ำ คือ เอาไว้เป็น focus light เพื่อการถ่ายรูป หรือใช้เป็น video light สำหรับการถ่ายวิดีโอ โดยใช้ได้ทั้งการถ่าย macro และถ่าย wide Q: จะเลือกความสว่างเท่าไหร่ดี A: – Spot Light สำหรับดำน้ำกลางคืน ความสว่าง 230 ลูเมน (Lumen) ก็เป็นความสว่างที่เพียงพอแล้ว แต่หากจะเอาไว้ใช้งานกลางวันด้วย ก็เลือกความสว่างประมาณ 1,000 ลูเมน ซึ่งในสมัยนี้ มีไฟฉายหลายรุ่นที่สามารถปรับความสว่างได้ ทำให้เราพกไฟฉายเพียงกระบอกเดียวก็สามารถใช้งานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน – Flood Light หากนำไปใช้เป็น focus light ใช้ความสว่างตั้งแต่ 650 – 1,500 ลูเมน และใช้ ความสว่างตั้งแต่ 2,000 ลูเมน ขึ้นไป หากนำไปใช้เป็น video light และนี่ก็เป็นคำแนะนำเบื้องต้น สำหรับใครที่ยังไม่รู้จะเลือกไฟฉายดำน้ำยังไง ส่วนรายละเอียดในการนำไปใช้เพื่อการถ่ายรูปและถ่ายวิดีโอ จะมาเล่าให้ฟังในครั้งหน้านะครับ

อ่าน 3 คำถามง่ายๆ เลือกไฟฉายดำน้ำให้ตรงใจ สำหรับมือใหม่