ทำไมบางครั้งเราดำน้ำแล้วตัวเอียง ขาตก ขาลอย เวลาดำน้ำ!!! ดูไม่เท่ ไม่โปรเอาซะเลย
วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่องนี้กัน จะได้ดำน้ำท่าสวยๆ เท่ๆ นอนคว่ำใน streamline position กัน
ตำแหน่งของ weight ที่เราติด มีผลกับท่าทางในการดำน้ำของเราด้วยนะ งั้นเรามาเดากันว่าปกติแล้วมันติดตั้งที่ตำแหน่งไหนได้บ้าง
Weight belt
ก็เข็มขัดตะกั่วนั่นแหละ เราควรติดตะกั่วให้สมมาตรซ้าย-ขวา เพราะถ้าเราใส่ไม่เท่ากันตัวก็จะเอียงเลยแหละ ตำแหน่งตะกั่วนอกจากซ้าย-ขวาแล้วก็ยังมีด้านหลังหรือด้านหน้าอีกนะ
Weight pocket
กระเป๋าใส่ตะกั่วที่อยู่ตรงเอวทั้ง 2 ข้างนั่นแหละ ก็สามารถใส่ตะกั่วได้ ส่วนใหญ่จะมีใน BCD ตั้งแต่รุ่นกลางขึ้นไป
Weight trim pocket
เป็นตำแหน่งใส่ตะกั่วที่อยู่ด้านหลังของถุงลม BCD มีลักษณะเป็นช่องเล็กๆ ถ้าเราใส่ตำแหน่งนี้จะทำให้หัวของเราจมลง ส่วนใหญ่จะมีใน BCD ตั้งแต่รุ่นกลางขึ้นไป
Backplate
ก็เป็นหนึ่งในตำแหน่งการวาง weight เช่นกัน ตัว Backplate เองทำหน้าที่แทนตะกั่วไปเลย แถมติดอยู่ตรงกลางหลังแนบลำตัวทำให้ทรงตัวใน streamline position ง่ายขึ้นด้วย รูปแบบแบบนี้หาได้จาก BCD ที่เป็น Backplate อย่างเดียวเลย เวลาใช้ BCD แบบนี้ก็อย่าลืม ปรับให้พอดีกับร่างกายด้วยล่ะ!!!
สายรัด tank
ตำแหน่งนี้ก็สามารถติด weight ได้โดยร้อยไปกับสายรัด tank เลย ก็ถือเป็นตำแหน่ง trim รูปแบบหนึ่งขึ้นอยู่กับความสูง-ต่ำของสายรัด tank
ฟิน
ฟินที่เป็น negative ก็เป็นหนึ่งในตำแหน่ง trim เหมือนกัน ทำให้ขาตกลงมากขึ้น
จะเห็นว่าจริงๆ แล้วเรามีตำแหน่งให้ทำ weight trimming หลายจุดเลย คราวนี้เรามาดูลักษณะการวางตำแหน่ง weight กัน ในกรณีนี้คือเราใช้ตะกั่วที่พอดี เหมาะสม ไม่มากเกินไป
หัวลอย-ขาตก
ควรย้ายตำแหน่งตะกั่วบางส่วน ขึ้นไปใกล้หัวมากขึ้น อาจย้ายตะกั่วไปไว้ที่ trim
pocket หรือสายรัด tank
ตัวเอียง
ปรับตะกั่วให้สมมาตรซ้ายขวา
ขาลอย-หัวตก
ควรย้ายตำแหน่งตะกั่วมาที่เอว หรือกลางหลัง
อุปกรณ์ในแต่ละรุ่นก็มีผลกับจำนวน และตำแหน่งตะกั่วด้วยนะ เปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่อย่าลืมที่จะทำ weight check ก่อนด้วยล่ะ!!!
บทความจาก Facebook: Tecrew