ปัญหาการเคลียร์หู สำหรับนักดำน้ำฟรีไดฟ์ขั้นเริ่มต้น

การเคลียร์หู (ear equalization หรือฝรั่งบางคนก็เรียกสั้นว่า ear clearing) นับเป็นโจทย์สำคัญของนักดำน้ำฟรีไดฟ์เกือบทุกคน…โดยเฉพาะมือใหม่ เกือบทั้งหมดของนักเรียนที่ไปออกทะเลสอบ freedive Level 1 แล้วไม่ผ่าน ก็เพราะไม่สามารถเคลียร์หูได้

อ่าน ปัญหาการเคลียร์หู สำหรับนักดำน้ำฟรีไดฟ์ขั้นเริ่มต้น

ความรู้เรื่องการเคลียร์หู (Ear Equalization หรือ Ear Clearing)

การเคลียร์หู แม้จะเป็นเรื่องพื้นฐานที่สุด และจำเป็นมากที่สุด สำหรับการดำน้ำทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น scuba diving, technical diving หรือ freedive ก็ตาม แต่หลายคนก็ยังเข้าใจเรื่องของการเคลียร์หูไม่ครบถ้วนนัก โดยเฉพาะในเรื่องผลที่อาจเกิดขึ้นได้หากเคลียร์หูไม่สำเร็จแล้วยังฝืนดำลงสู่ความลึกต่อไป ทำให้เรายังคงได้รับฟังเรื่องราวนักเรียนดำน้ำเจ็บหู เลือดกำเดาออก เป็นจำนวนมากในระหว่างการสอบในทะเลครั้งแรกๆ ยิ่งในบางรายถึงกับมีผลกระทบต่อการได้ยินกันเลยทีเดียว ทำไมเราจึงเจ็บหู เมื่อลงสู่ความลึก (เราเคลียร์หูเพื่ออะไร) หูของมนุษย์ไม่ได้เปิดออกสู่โลกภายนอกโดยตรง แต่มีเยื่อบางๆ ที่เรียกว่าเยื่อแก้วหู (ear drum หรือ Tympanic Membrane) กั้นเอาไว้ ส่วนภายในอาจแบ่งได้เป็นอีก 2 ส่วนเรียกว่า หูชั้นกลาง กับ หูชั้นใน โดยหูชั้นกลางเป็นช่องว่างที่มีกระดูก 3 ชิ้นหลักส่งต่อคลื่นเสียงไปสู่หูชั้นใน และหูชั้นในก็เป็นส่วนของระบบประสาทรับสัญญาณเสียงมาเปลี่ยนเป็นสัญญาณประสาทส่งต่อไปยังสมองอีกที บริเวณหูชั้นกลางนี้เอง (ในรูปเป็นสีแดงตรงกลาง) เป็นโพรงอากาศที่และเปลี่ยนกับอากาศภายนอกได้ ผ่านทางท่อยูสเตเชียน (Eustachian Tube) ที่มีปลายเปิดอีกข้างอยู่ข้างลำคอ เมื่อความดันอากาศภายในหูชั้นกลางกับภายนอกแตกต่างกัน มนุษย์สามารถปรับสมดุลความดันนี้ได้ โดยส่งอากาศผ่านลำคอเข้าไป ในสภาวะปกติ หรือบนบก ความกดอากาศภายนอกกับภายในหูเท่ากัน เยื่อแก้วหูไม่ต้องรับแรงกระทำจากฝั่งใดทั้งสิ้น หรือถ้าต่างกันไม่มาก (เช่น เคลื่อนที่เร็วๆ หรือมีลมพัดแรง) การกลืนน้ำลายจะทำให้ท่อยูสเตเชียนเปิดออก และอากาศถ่ายเทกันได้ เท่ากับว่าเราได้เคลียร์หูไปเองโดยอัตโนมัติ (เสียงขลุกๆ กับความรู้สึกที่หู ซึ่งเราจะรู้สึกได้ตอนกลืนน้ำลายนั่นเอง) แต่เมื่อเราดำลงสู่ความลึก (ไม่ว่าเป็นการดำน้ำแบบสคูบ้าหรือฟรีไดฟ์ก็ตาม) น้ำทะเลจะไหลเข้ามาในโพรงหูจนถึงเยื่อแก้วหู ความกดดันภายนอกจะสูงกว่าภายในหูชั้นกลาง น้ำก็จะดันเยื่อแก้วหูเข้ามา ถ้าความดันแตกต่างกันมาก เราจะรู้สึกตึงหรือเจ็บ แต่ถ้าความดันยังคงเพิ่มขึ้นจนต่างกันมากๆ เยื่อแก้วหูอาจจะฉีกขาดและทะลุได้ เราจึงต้องเคลียร์หูหรือปรับสมดุลความดันภายในหูกับภายนอกให้เท่ากัน เพื่อไม่ให้เยื่อแก้วหูฉีกขาด ด้วยการเติมอากาศผ่านท่อยูสเตเชียนเข้าไปนั่นเอง การปรับสมดุลโพรงไซนัส (Sinus Equalization) นอกจากโพรงอากาศในหูชั้นกลางแล้ว การเคลียร์หูยังทำเพื่อปรับสมดุลอากาศในโพรงอากาศในกระโหลกศีรษะหรือที่เราเรียกว่าไซนัส อีกด้วย ไซนัสเป็นโพรงอากาศที่ทำให้กระโหลกศีรษะมีน้ำหนักเบาโดยไม่เสียความแข็งแรง และทำให้เสียงของเรากังวาน เมื่อเราดำลงสู่ความลึก ความกดดันที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ปริมาตรอากาศในโพรงเหล่านี้หดตัวเล็กลง แต่เนื่องจากโพรงอากาศเหล่านี้มีช่องทางเชื่อมต่อกับปากและจมูก การปรับสมดุลอากาศจึงเกิดขึ้นพร้อมกันกับการเคลียร์หูได้โดยไม่ต้องทำอะไรเป็นพิเศษ แต่หากคุณมีอาการหวัดหรือภูมิแพ้ หรือมีน้ำมูกหรือสิ่งอุดตันอยู่ตามช่องทางที่เชื่อมต่อกับโพรงอากาศเหล่านี้ ก็อาจทำให้ไม่สามารถปรับสมดุลอากาศได้สำเร็จ หากเกิดขณะดำน้ำลงสู่ความลึก จะเรียกว่า sinus squeeze หากเกิดขณะขึ้นสู่ที่ตื้นหรือผิวน้ำ จะเรียกว่า reverse block ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือเนื้อเยื่อบุในโพรงเหล่านี้จะเกิดการฉีกขาดและอาจมีเลือดออกมาพอสมควรได้ ส่วนความเจ็บปวดส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำว่ามีเลือดกำเดาออก จะรู้ก็เมื่อเพื่อนดำน้ำเห็นและบอกให้ทราบ (ไว้มีโอกาสจะเขียนถึงเรื่องนี้โดยละเอียดอีกทีนะครับ) อาการ sinus squeeze และ reverse block นี้อาจเกิดขึ้นในสถานการณ์อื่นๆ ได้อีกเช่น บนเครื่องบิน หรือระหว่างการรักษาใน hyperbaric chamber เป็นต้น จึงมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น aerosinusitis หรือ…

อ่าน ความรู้เรื่องการเคลียร์หู (Ear Equalization หรือ Ear Clearing)
Dynamic Earth: Ocean Currents

กระแสน้ำในทะเลเกิดขึ้นจากอะไรบ้าง

เรื่องราวของ “กระแสน้ำ” ที่นักดำน้ำเข้าใจได้ไม่ยาก และไดฟ์ลีดควรเข้าใจ เพื่อการวางแผนการดำน้ำที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น

อ่าน กระแสน้ำในทะเลเกิดขึ้นจากอะไรบ้าง

เรียนอะไรดี ระหว่างฟรีไดฟ์ (Freediving) กับสคูบ้า (Scuba Diving)

คำถามที่เกิดขึ้นในใจของใครหลายคนที่ยังไม่เคยเรียนดำน้ำทั้ง freediving และ scuba diving เลย เรามีข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจมาให้

อ่าน เรียนอะไรดี ระหว่างฟรีไดฟ์ (Freediving) กับสคูบ้า (Scuba Diving)