Simple Time Screen of Tern TX

รีวิวไดฟ์คอมพิวเตอร์ Shearwater Tern TX

รีวิว ข้อดี ข้อด้อย ของไดฟ์คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ล่าสุดของ Shearwater คือ Tern และ Tern TX จากประสบการณ์การใช้งานจริง

อ่าน รีวิวไดฟ์คอมพิวเตอร์ Shearwater Tern TX
Diver Flying over Coral Reefs

ปัญหาการลอยตัวของนักดำน้ำใหม่ ถ้าแก้ได้ก็ดำน้ำสบายเลย

บทความสำหรับนักดำน้ำใหม่ ที่พบว่ายังควบคุมการลอยตัวไม่ได้อย่างใจสักที มาลองทบทวนความเข้าใจเรื่องนี้กันอีกครั้ง และเริ่มฝึกทักษะการลอยตัวกัน

อ่าน ปัญหาการลอยตัวของนักดำน้ำใหม่ ถ้าแก้ได้ก็ดำน้ำสบายเลย

Neoprene, Elastane, Yamamoto, Geoprene, Yulex – เรื่องของวัสดุผลิตเว็ทสูท

บอกเล่าเรื่องราวของวัสดุประเภทต่างๆ ที่ใช้ผลิตเว็ทสูท ทั้งความเป็นมา คุณสมบัติ และผู้ผลิต เพื่อเป็นข้อมูลให้คุณเลือกซื้อเว็ทสูทได้ตรงใจ

อ่าน Neoprene, Elastane, Yamamoto, Geoprene, Yulex – เรื่องของวัสดุผลิตเว็ทสูท

หลักพื้นฐานเกี่ยวกับการลอยตัว เพื่อการดำน้ำ

เรียนรู้หลักการพื้นฐานที่เกี่ยวกับ การลอยตัว แรงยกของของเหลว เพื่อทำความเข้าใจต่อไปถึงการจมลอยของร่างกายเราในน้ำ

อ่าน หลักพื้นฐานเกี่ยวกับการลอยตัว เพื่อการดำน้ำ

กระแสน้ำย้อนกลับ (Rip Current)

กระแสน้ำย้อนกลับ หรือที่เรามักได้ยินชื่อเรียกทับศัพท์ว่า rip current เป็นกระแสน้ำรุนแรงที่เกิดขึ้นช่วงสั้นตามชายหาด จากการที่คลื่นทะเลซัดเข้าหาฝั่ง แล้วเมื่อมวลน้ำเหล่านั้นจะไหลลงทะเล กลับเจอสิ่งกีดขวาง เช่นโขดหินหรือสันทรายขวางอยู่ (โดยเฉพาะสันทรายใต้น้ำซึ่งมองเห็นได้ยากจากผิวน้ำ) ก็จะไหลรวมกันผ่านช่องแคบๆ ระหว่างสิ่งกีดขวางเหล่านั้นกลับลงทะเลไปด้วยความเร็วสูงกว่าตอนที่คลื่นซัดเข้ามา ในบ้านเรา มีชื่อเรียกกระแสน้ำแบบนี้ว่า คลื่นทะเลดูด หรือ คลื่นดูด ซึ่งไม่ใช่คลื่นหรือกระแสน้ำที่ดูดลงใต้ทะเล แต่เป็นกระแสน้ำที่ไหลลงทะเลอย่างรวดเร็ว ซึ่งสำหรับคนคนที่ติดอยู่ในกระแสน้ำ ไม่เข้าใจกลไกหรือกำลังตื่นตกใจ พยายามว่ายทวนน้ำเพื่อจะเข้าฝั่งอย่างเต็มกำลัง ในที่สุดก็จะหมดแรง หรือเหนื่อยหอบจนสำลักน้ำ แล้วจมลงใต้น้ำเสียชีวิต กระแสน้ำแบบนี้เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตส่วนใหญ่ของนักท่องเที่ยวเล่นน้ำทะเลชายหาดในหลายประเทศทั่วโลก! และเนื่องจากสันทรายใต้น้ำย่อมเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามแต่คลื่นที่ซัดเข้ามาหาฝั่ง รวมทั้งหากเป็นคลื่นลูกเล็กๆ เบาๆ ซัดเข้ามาก็อาจไม่เกิดเป็นกระแสน้ำรุนแรงเมื่อไหลกลับออกไปก็ได้ การเกิด rip current จึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำนายตำแหน่งและความรุนแรงล่วงหน้าได้ มีเพียงสถิติของชายหาดบางแห่งที่อาจเกิดขึ้นได้บ่อย เนื่องจากสภาพภูมิประเทศบางอย่าง เช่น หาดแม่รำพึง จ. ระยอง ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ วิธีการสังเกตตำแหน่งที่เกิด Rip Current สังเกตสีของน้ำทะเล ซึ่งจะขุ่นขาวกว่าบริเวณอื่น เนื่องจากกระแสน้ำ rip current มักจะพาเอาตะกอนใต้น้ำฟุ้งขึ้นมาและไหลตามกระแสน้ำลงไปด้วย สังเกตแนวน้ำที่ไหลวนปั่นป่วนอยู่ปลายกระแสน้ำ ซึ่งมักเป็นรูปล้ายดอกเห็ด ยื่นจากชายฝั่งลงไปในทะเล ซึ่งถ้ามีขนาดใหญ่หรือระยะทางไกล ก็แสดงว่ามีกำลังมาก สังเกตเศษสิ่งของที่ลอยออกจากชายหาดหรือฟองคลื่นที่ไหลกลับลงทะเล เป็นแนวตั้งฉากกับหน้าคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง ซึ่งก็คือแนวของกระแสน้ำ สังเกตหน้าคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง ถูกตัดแหว่งเป็นร่องๆ เนื่องจากกระแส rip current ไหลสวนทางตัดกับคลื่นที่ซัดเข้ามา แนวที่คลื่นถูกตัดก็คือแนวของกระแสน้ำ วิธีการป้องกันอันตรายจาก Rip Current ก่อนลงเล่นน้ำที่ชายหาดใดก็ตาม ลองมองหาเจ้าหน้าที่หรือยามชายฝั่ง (coast guard) เพื่อสอบถามสถานการณ์ของ rip current ในบริเวณนั้น รวมถึงสภาพคลื่นลมในขณะนั้นด้วย หรือสังเกตธงเตือนภัยสีแดงที่มีปักอยู่ริมชายหาดเพื่อเตือน สังเกตคลื่นและน้ำทะเลว่ามีจุดใดมีลักษณะคล้ายกับที่เล่าไปในหัวข้อก่อนหน้านี้หรือไม่ ถ้ามี ก็ไม่ควรเล่นน้ำใกล้บริเวณนั้น ถ้าสภาพอากาศไม่ดี มีคลื่นลูกใหญ่ๆ เข้ามาบ่อยๆ ก็ไม่ควรลงเล่นน้ำ (ยกเว้น ถ้าคุณเป็นนักโต้คลื่น หรือทำกิจกรรมกับคลื่นขนาดใหญ่ มีความรู้เข้าใจในคลื่นและทะเลเป็นอย่างดี) วิธีแก้ไขสถานการณ์เมื่อเข้าไปอยู่ใน Rip Current ตั้งสติ ไม่ต้องว่ายทวนกระแสน้ำ ไม่ต้องกลัวว่าน้ำจะซัดไปไกล เพราะยิ่งห่างจากฝั่งไปเรื่อยๆ กระแสน้ำจะเบาลงจนหายไปในที่สุด พยายามลอยตัวให้ศีรษะอยู่เหนือน้ำ หายใจได้ มองหาทิศทางของชายฝั่ง แล้วว่ายน้ำขนานกับชายฝั่งไปก่อน จนกระทั่งพ้นจากแนวกระแส rip current แล้วค่อยว่ายกลับเข้าหาฝั่ง หรือให้คลื่นพาเรากลับเข้าฝั่ง ถ้าว่ายน้ำไม่ได้ หรือไม่มีแรงว่ายน้ำ ก็ประคองตัวให้อยู่เหนือน้ำไว้ และโบกมือขอความช่วยเหลือ การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ ถ้าไม่แน่ใจว่า ตนเองเข้าใจและทราบวิธีการช่วยเหลือ อย่าว่ายน้ำลงไปช่วยเด็ดขาด หากมีสิ่งของที่ลอยน้ำได้ เช่น ห่วงยาง เสื้อชูชีพ ให้โยนลงไปตามกระแสน้ำ…

อ่าน กระแสน้ำย้อนกลับ (Rip Current)

ทำไมบางวันน้ำขึ้นน้ำลงเกิดแค่รอบเดียว และบางวันก็มีมากกว่า 2 รอบ

เรารู้กันมานานแล้วว่า น้ำขึ้นน้ำลงเกิดขึ้นจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์ แต่ทำไมบางแห่งเกิดไม่เหมือนกับที่อื่น และบางแห่งก็ไม่เหมือนกันในแต่ละวัน

อ่าน ทำไมบางวันน้ำขึ้นน้ำลงเกิดแค่รอบเดียว และบางวันก็มีมากกว่า 2 รอบ

เราจะคาดคะเนกระแสน้ำก่อนลงดำน้ำได้อย่างไร

กระแสน้ำ เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่นักดำน้ำอยากรู้ก่อนจะกระโดดลงไปในน้ำ หรือแม้แต่ลีดดำน้ำ (dive lead หรือ dive guide) ก็ควรต้องรู้ก่อนเพื่อที่จะวางแผนจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดการดำน้ำแต่ละไดฟ์ ลีดดำน้ำที่รอบรู้และใส่ใจ จะมีความสามารถในการสังเกตสภาพแวดล้อมและทิศทางของกระแสน้ำก่อนการลงดำน้ำได้เป็นอย่างดี นำไปสู่การวางแผนเส้นทางการดำน้ำได้ดี ซึ่งนอกจากจะมีผลต่อความเพลิดเพลินในการดำน้ำไดฟ์นั้นแล้ว ยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ไม่คาดคิดใต้น้ำได้ เช่น การคลาดกันระหว่างลงสู่หมายดำน้ำแล้วต้องกลับมาลงใหม่ การพลัดหลงกันระหว่างดำน้ำ ซึ่งบางครั้งอาจนำไปสู่ความสูญเสียถึงชีวิตด้วย วิธีการคาดคะเนกระแสน้ำมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน และก็แตกต่างกันไปตามจุดดำน้ำด้วย แต่ส่วนใหญ่ก็จะคล้ายๆ กันคือขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 3-4 อย่าง เช่น น้ำขึ้นน้ำลง กระแสลมผิวน้ำ ลักษณะของพื้นที่ เป็นต้น (อ่านเพิ่มเติม “กระแสน้ำในทะเลเกิดขึ้นจากอะไรบ้าง“) ถ้าเรามีโอกาสได้ดำน้ำกับไดฟ์ลีดที่ดูกระแสน้ำเป็น ลองสังเกตดูครับว่า เขาใช้วิธีใดบ้างในการคาดคะเนกระแสน้ำที่จุดดำน้ำนั้นๆ ดูตารางน้ำขึ้นน้ำลง ประกอบกับความรู้เรื่องจุดดำน้ำ น้ำขึ้นน้ำลงเป็นปัจจัยสำคัญของกระแสน้ำในทะเลแทบทุกจุดทั่วโลก และปัจจุบันการคาดการณ์น้ำขึ้นน้ำลงของพื้นที่ต่างๆ ในโลกทำได้ค่อนข้างแม่นยำจากการเก็บข้อมูลของนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลมานานหลายสิบปี คาดการณ์ล่วงหน้าได้เป็นปีๆ เลยทีเดียว ดังนั้นการดูตารางน้ำขึ้นน้ำลงก่อนไปดำน้ำนับเป็นสิ่งที่นักดำน้ำทั่วไปสามารถทำได้ไม่ยาก หรืออย่างน้อยผู้จัดทริปก็ควรต้องรู้ก่อนออกทริปเพื่อกำหนดจุดดำน้ำได้อย่างเหมาะสมกับเวลาลงดำและทักษะของนักดำน้ำ ตารางน้ำขึ้นน้ำลงของจุดดำน้ำ (หรือถ้าไม่มีตรงเป๊ะ ก็ใช้จุดตรวจวัดใกล้เคียงได้ครับ) จะบอกเป็นความสูงของระดับน้ำในแต่ละช่วงเวลาของวัน ซึ่งช่วยบอกเป็นนัยแก่เราได้ว่า จะมีมวลน้ำเคลื่อนเข้า (น้ำขึ้น) หรือออก (น้ำลง) จากบริเวณนั้นมากน้อยเพียงใดในเวลาที่เรากำลังจะดำน้ำ (อ่านเพิ่มเติม “วิธีการดูตารางน้ำ”) เมื่อนำมาประกอบกับลักษณะของอ่าวและสภาพพื้นที่ใต้น้ำ ก็จะพอคาดคะเนได้ว่า กระแสใต้น้ำจะไหลไปในทิศทางใดและไหลแรงเพียงใด ทั้งนี้ ต้องเข้าใจด้วยครับว่า ระดับน้ำที่อ่านได้จากตารางน้ำของคนละพื้นที่ แม้จะเป็นตัวเลขเดียวกัน ก็มิได้หมายความว่ากระแสน้ำจะแรงใกล้เคียงกัน ตัวอย่างเช่น น้ำขึ้น 20 ซม. ต่อ 1 ชม. ที่ทะเลแสมสาร จะทำให้เกิดกระแสน้ำที่แรงกว่า น้ำขึ้นในอัตราเดียวกันที่สิมิลัน มากครับ และแน่นอนว่าทิศทางของกระแสน้ำก็แตกต่างกันไปตามลักษณะอ่าว ดังนั้น แม้จะอ่านตารางน้ำเป็นแล้ว แต่ก็ต้องรู้ลักษณะพื้นที่จุดดำน้ำประกอบด้วย ดูวัตถุหรือฟองอากาศที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ วิธีต่อมา หากไปอยู่ที่จุดดำน้ำแล้ว จะเช็คเพื่อความชัวร์อีกทีว่าตรงกับตารางน้ำที่ดูมาก่อนมั้ย (หรือถ้าไม่ได้ดูตารางน้ำมาก่อน ก็มาดูของจริงกันหน้างานนี่ล่ะ) สามารถทำได้โดยดูวัตถุที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ อาจเป็นเศษใบไม้หรือฟองอากาศ (ถ้าไม่มีก็สร้างฟองอากาศขึ้นเองเลยก็ได้) แล้วสังเกตทิศทางและความเร็วที่วัตถุเหล่านั้นลอยเคลื่อนไป ก็พอจะคาดคะเนความเร็วกระแสน้ำได้ ทั้งนี้ ต้องเข้าใจด้วยครับว่า กระแสน้ำจริงๆ จะไหลเร็วกว่าวัตถุที่ถูกกระแสน้ำพัดพาไป อีกพอสมควร กระแสน้ำที่ใต้น้ำ อาจมีทิศทางแตกต่างออกไปอีกเนื่องจากสภาพแวดล้อมใต้น้ำ เช่น หากเป็นร่องน้ำหรือช่องหิน กระแสน้ำก็จะไหลไปตามแนวช่องเหล่านั้น วิธีนี้ใช้ไม่ได้กับกรณีที่มีลมแรง จนกระทั่งกระแสน้ำที่ผิวน้ำเป็นไปตามทิศทางลมมากกว่าจะเป็นไปตามกระแสน้ำจริงด้านล่าง หมายเหตุ: บางท่านอาจคิดว่า เราดูจากแนวทิศทางที่เรือลอยลำอยู่ได้หรือไม่ ก็ต้องบอกว่า พอดูได้หากลมค่อนข้างสงบ แต่ถ้ามีลมพอประมาณ เรือจะหันทิศเข้าหาลม ทอดตัวตามแนวกระแสลมมากกว่าแนวกระแสน้ำครับ (ทิศผลลัพธ์จะเป็นผลรวมของแรงลมและแรงน้ำประกอบกัน โดยขึ้นกับพื้นที่รับลมและรับน้ำของเรือด้วย) กรณีที่ลมผิวน้ำแรง กระแสน้ำจะมีทิศทางเบนจากทิศทางลม ในกรณีที่กระแสลมเหนือผิวน้ำมีกำลังค่อนข้างแรงและเกิดขึ้นต่อเนื่องมาพักใหญ่ กระแสน้ำที่เราเห็นบนผิวน้ำจะได้รับอิทธิพลจากกระแสลม โดยมีทิศทางเบนไปจากทิศลมประมาณ 45 องศาและเบนมากขึ้นเรื่อยๆ ตามความลึก ถ้าเป็นซีกโลกเหนือ…

อ่าน เราจะคาดคะเนกระแสน้ำก่อนลงดำน้ำได้อย่างไร

ขายอุปกรณ์ดำน้ำ ให้ส่วนลดเท่าไหร่ดีนะ

วิเคราะห์กลยุทธ์การให้ส่วนลดสินค้าอุปกรณ์ดำน้ำในตลาดดำน้ำบ้านเรา จากหลากหลายแง่มุม พร้อมข้อมูลให้คุณนำไปพิจารณาแนวทางของคุณได้เอง

อ่าน ขายอุปกรณ์ดำน้ำ ให้ส่วนลดเท่าไหร่ดีนะ

มองคลื่น รู้จักคลื่น อยู่กับคลื่นในทะเลได้อย่างสบายใจ

เกลียวคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งครั้งแล้วครั้งเล่า นับเป็นสิ่งเพลินใจอย่างหนึ่งที่ใครหลายคนนั่งมองได้ทั้งวันไม่รู้เบื่อ แต่ในบางเวลายามที่ลมแรง ทะเลปั่นป่วน คลื่นที่แตกฝอยเป็นฟองขาว ซัดเข้าหาฝั่งลูกแล้วลูกเล่า ก็ให้ความรู้สึกน่าครั่นคร้ามได้มากมายไม่แพ้กัน

อ่าน มองคลื่น รู้จักคลื่น อยู่กับคลื่นในทะเลได้อย่างสบายใจ
Losin Rock and Malaysia-Thailand Joint Development Area

โลซิน กองหินแห่งประวัติศาสตร์ของแหล่งก๊าซธรรมชาติไทย

กองหินโลซิน นอกจากจะเป็นจุดดำน้ำที่ขึ้นชื่อในเรื่องความสมบูรณ์ของปะการัง จนมีนักดำน้ำทั้งไทยและต่างชาติหาทริปดำน้ำลึกไปกันมากมายทุกๆ ปีแล้ว ยังมีบทบาทสำคัญด้านทรัพยากรพลังงานของไทยในฐานะเป็นจุดอ้างอิงที่ทำให้เราได้มีส่วนแบ่งในแหล่งก๊าซธรรมชาติ MTJDA (Malaysia-Thailand Joint Development Area) บริเวณขอบใต้สุดของอ่าวไทยอีกด้วย หากไม่มีกองหินโลซินแล้ว เราคงไม่สามารถอ้างสิทธิ์เพื่อแบ่งผลประโยชน์ในแหล่งก๊าซธรรมชาติมูลค่าหลายแสนล้านบาทนี้ได้เลย เริ่มต้นจากความต้องการใช้ทรัพยากรใต้ทะเล เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับกองหินโลซินและการอ้างสิทธิ์ในแหล่งก๊าซธรรมชาติแห่งนี้ เริ่มต้นในยุคที่มีการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทยและทะเลอันดามันกันอย่างจริงจังราวปี พ.ศ. 2511 เมื่อทางการไทยประกาศพิกัดแนวเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยโดยประมาณ เพื่อกำหนดแปลงสำรวจให้เอกชนมายื่นขอนุญาตดำเนินการสำรวจได้ ในเวลาไล่เลี่ยกันนั้นเอง ทางมาเลเซียก็เริ่มออกแปลงสำรวจปิโตรเลียมของตนเองบ้าง โดยอาศัยแผนที่แนวเขตไหล่ทวีปของไทยเป็นแนวอ้างอิงและให้สิทธิ์แก่เอกชนลงมือสำรวจ จนในปีพ.ศ. 2514 บริษัท Esso Production Malaysia Inc. (EPMI) ก็ได้สำรวจพบก๊าซธรรมชาติในพื้นที่ MTJDA นี้ ก่อนหน้านั้น การใช้พื้นที่ในทะเลเพื่อประโยชน์ของประเทศต่างๆ ในแถบนี้ยังไม่ได้เคร่งครัดในเรื่องเขตแดนมากนัก แม้จะมีข้อตกลงเรื่องนี้อยู่ในอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1958 (พ.ศ. 2501) แล้วก็ตาม แต่ละประเทศก็ยังไม่ได้มาทำความตกลงกันให้เรียบร้อย เรือประมงของแต่ละชาติยังคงออกเรือทำประมงกันได้ทั่วไป จนกระทั่งเมื่อมีความตื่นตัวในเรื่องทรัพยากรปิโตรเลียมใต้พื้นทะเลนี่เอง (มีการสำรวจพบแหล่งน้ำมันในเขตไหล่ทวีปหลายแห่งทั่วโลก รวมถึงประเทศอินโดนีเซียที่อยู่ใกล้ไทยกับมาเลเซียด้วย) ไทยเราและประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งอินโดนีเซีย มาเลเซีย กัมพูชา และเวียดนาม จึงเริ่มนัดประชุมทำข้อตกลงเรื่องอาณาเขตทางทะเลกันเป็นการใหญ่ แผนที่อาณาเขตที่เลือกใช้ต่างกัน ในปี พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) ซึ่งทางการไทยประกาศเชิญชวนให้เอกชนมายื่นคำขออนุญาตสำรวจปิโตรเลียมกันนั้น ได้มีการจัดทำแผนที่หมายเลข 68 A ขึ้นมาเพื่อแสดงขอบเขตแปลงสำรวจด้วย แผนที่นี้แสดงแนวขอบเขตไหล่ทวีป (continental shelf หรืออีกนัยหนึ่งคือเขตแดนทางทะเล) ของไทยโดยประมาณ ซึ่งมิได้กำหนดพิกัดของจุดต่างๆ อย่างชัดเจน และมิได้ระบุว่าไทยจะยึดเอาแผนที่ดังกล่าวเป็นขอบเขตไหล่ทวีปทั้งหมดของประเทศไทยในอ่าวไทยแต่อย่างใด ทั้งยังเป็นการอ้างกรรมสิทธิ์แต่ฝ่ายเดียว (unilateral claim) ไม่ใช่ข้อสรุปร่วมกันระหว่างประเทศ เมื่อทางการไทยตระหนักว่า ต้องมีการเจรจาตกลงกันในเรื่องขอบเขตทางทะเลกันก่อนที่จะดำเนินการสำรวจต่างๆ ต่อไปจะเป็นการดีกว่าในระยะยาว จึงได้พิจารณาปรับปรุงแผนที่แนวขอบเขตไหล่ทวีปให้มีความถูกต้องชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อเตรียมใช้ในการตกลงร่วมกัน ก็ได้มีการสำรวจและจัดทำแผนที่ฉบับใหม่ออกมาในปี พ.ศ. 2514 (ฉบับ ป.2, ป.3, และ ป.4) โดยครั้งนี้ใช้อิทธิพลของกองหินโลซิน (หรือเรียกว่า “เกาะโลซิน” ในสมัยนั้น) ซึ่งยังถือว่าเป็นหมายที่ใช้เป็นแนวเขตแผ่นดินได้ตามนิยามของอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1958 (ดู Part II: Territorial Sea and Contiguous Zone) ทำให้แนวเขตไหล่ทวีปเปลี่ยนไปจากแผนที่ 68 A คือกินพื้นที่ลงทางใต้มากขึ้นและได้พื้นที่เขตแดนทางทะเลเพิ่มขึ้นมาอีก ฝ่ายมาเลเซียนั้น เมื่อไทยประกาศใช้แผนที่ 68 A (พ.ศ. 2511) ทางมาเลเซียเองพิจารณาแล้วเห็นว่าตนเองไม่เสียประโยชน์อะไรจากที่ควรจะเป็น ก็ได้ประกาศแนวขอบเขตไหล่ทวีปของตนเองในปีเดียวกัน โดยกำหนดแนวเขตสอดคล้องกับแนวของไทยในแผนที่ 68 A…

อ่าน โลซิน กองหินแห่งประวัติศาสตร์ของแหล่งก๊าซธรรมชาติไทย