มองคลื่น รู้จักคลื่น อยู่กับคลื่นในทะเลได้อย่างสบายใจ

เกลียวคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งครั้งแล้วครั้งเล่า นับเป็นสิ่งเพลินใจอย่างหนึ่งที่ใครหลายคนนั่งมองได้ทั้งวันไม่รู้เบื่อ แต่ในบางเวลายามที่ลมแรง ทะเลปั่นป่วน คลื่นที่แตกฝอยเป็นฟองขาว ซัดเข้าหาฝั่งลูกแล้วลูกเล่า ก็ให้ความรู้สึกน่าครั่นคร้ามได้มากมายไม่แพ้กัน

อ่าน มองคลื่น รู้จักคลื่น อยู่กับคลื่นในทะเลได้อย่างสบายใจ
Losin Rock and Malaysia-Thailand Joint Development Area

โลซิน กองหินแห่งประวัติศาสตร์ของแหล่งก๊าซธรรมชาติไทย

กองหินโลซิน นอกจากจะเป็นจุดดำน้ำที่ขึ้นชื่อในเรื่องความสมบูรณ์ของปะการัง จนมีนักดำน้ำทั้งไทยและต่างชาติหาทริปดำน้ำลึกไปกันมากมายทุกๆ ปีแล้ว ยังมีบทบาทสำคัญด้านทรัพยากรพลังงานของไทยในฐานะเป็นจุดอ้างอิงที่ทำให้เราได้มีส่วนแบ่งในแหล่งก๊าซธรรมชาติ MTJDA (Malaysia-Thailand Joint Development Area) บริเวณขอบใต้สุดของอ่าวไทยอีกด้วย หากไม่มีกองหินโลซินแล้ว เราคงไม่สามารถอ้างสิทธิ์เพื่อแบ่งผลประโยชน์ในแหล่งก๊าซธรรมชาติมูลค่าหลายแสนล้านบาทนี้ได้เลย เริ่มต้นจากความต้องการใช้ทรัพยากรใต้ทะเล เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับกองหินโลซินและการอ้างสิทธิ์ในแหล่งก๊าซธรรมชาติแห่งนี้ เริ่มต้นในยุคที่มีการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทยและทะเลอันดามันกันอย่างจริงจังราวปี พ.ศ. 2511 เมื่อทางการไทยประกาศพิกัดแนวเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยโดยประมาณ เพื่อกำหนดแปลงสำรวจให้เอกชนมายื่นขอนุญาตดำเนินการสำรวจได้ ในเวลาไล่เลี่ยกันนั้นเอง ทางมาเลเซียก็เริ่มออกแปลงสำรวจปิโตรเลียมของตนเองบ้าง โดยอาศัยแผนที่แนวเขตไหล่ทวีปของไทยเป็นแนวอ้างอิงและให้สิทธิ์แก่เอกชนลงมือสำรวจ จนในปีพ.ศ. 2514 บริษัท Esso Production Malaysia Inc. (EPMI) ก็ได้สำรวจพบก๊าซธรรมชาติในพื้นที่ MTJDA นี้ ก่อนหน้านั้น การใช้พื้นที่ในทะเลเพื่อประโยชน์ของประเทศต่างๆ ในแถบนี้ยังไม่ได้เคร่งครัดในเรื่องเขตแดนมากนัก แม้จะมีข้อตกลงเรื่องนี้อยู่ในอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1958 (พ.ศ. 2501) แล้วก็ตาม แต่ละประเทศก็ยังไม่ได้มาทำความตกลงกันให้เรียบร้อย เรือประมงของแต่ละชาติยังคงออกเรือทำประมงกันได้ทั่วไป จนกระทั่งเมื่อมีความตื่นตัวในเรื่องทรัพยากรปิโตรเลียมใต้พื้นทะเลนี่เอง (มีการสำรวจพบแหล่งน้ำมันในเขตไหล่ทวีปหลายแห่งทั่วโลก รวมถึงประเทศอินโดนีเซียที่อยู่ใกล้ไทยกับมาเลเซียด้วย) ไทยเราและประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งอินโดนีเซีย มาเลเซีย กัมพูชา และเวียดนาม จึงเริ่มนัดประชุมทำข้อตกลงเรื่องอาณาเขตทางทะเลกันเป็นการใหญ่ แผนที่อาณาเขตที่เลือกใช้ต่างกัน ในปี พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) ซึ่งทางการไทยประกาศเชิญชวนให้เอกชนมายื่นคำขออนุญาตสำรวจปิโตรเลียมกันนั้น ได้มีการจัดทำแผนที่หมายเลข 68 A ขึ้นมาเพื่อแสดงขอบเขตแปลงสำรวจด้วย แผนที่นี้แสดงแนวขอบเขตไหล่ทวีป (continental shelf หรืออีกนัยหนึ่งคือเขตแดนทางทะเล) ของไทยโดยประมาณ ซึ่งมิได้กำหนดพิกัดของจุดต่างๆ อย่างชัดเจน และมิได้ระบุว่าไทยจะยึดเอาแผนที่ดังกล่าวเป็นขอบเขตไหล่ทวีปทั้งหมดของประเทศไทยในอ่าวไทยแต่อย่างใด ทั้งยังเป็นการอ้างกรรมสิทธิ์แต่ฝ่ายเดียว (unilateral claim) ไม่ใช่ข้อสรุปร่วมกันระหว่างประเทศ เมื่อทางการไทยตระหนักว่า ต้องมีการเจรจาตกลงกันในเรื่องขอบเขตทางทะเลกันก่อนที่จะดำเนินการสำรวจต่างๆ ต่อไปจะเป็นการดีกว่าในระยะยาว จึงได้พิจารณาปรับปรุงแผนที่แนวขอบเขตไหล่ทวีปให้มีความถูกต้องชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อเตรียมใช้ในการตกลงร่วมกัน ก็ได้มีการสำรวจและจัดทำแผนที่ฉบับใหม่ออกมาในปี พ.ศ. 2514 (ฉบับ ป.2, ป.3, และ ป.4) โดยครั้งนี้ใช้อิทธิพลของกองหินโลซิน (หรือเรียกว่า “เกาะโลซิน” ในสมัยนั้น) ซึ่งยังถือว่าเป็นหมายที่ใช้เป็นแนวเขตแผ่นดินได้ตามนิยามของอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1958 (ดู Part II: Territorial Sea and Contiguous Zone) ทำให้แนวเขตไหล่ทวีปเปลี่ยนไปจากแผนที่ 68 A คือกินพื้นที่ลงทางใต้มากขึ้นและได้พื้นที่เขตแดนทางทะเลเพิ่มขึ้นมาอีก ฝ่ายมาเลเซียนั้น เมื่อไทยประกาศใช้แผนที่ 68 A (พ.ศ. 2511) ทางมาเลเซียเองพิจารณาแล้วเห็นว่าตนเองไม่เสียประโยชน์อะไรจากที่ควรจะเป็น ก็ได้ประกาศแนวขอบเขตไหล่ทวีปของตนเองในปีเดียวกัน โดยกำหนดแนวเขตสอดคล้องกับแนวของไทยในแผนที่ 68 A…

อ่าน โลซิน กองหินแห่งประวัติศาสตร์ของแหล่งก๊าซธรรมชาติไทย
แผนที่เกาะ Kulapuan, Semporna, Sabah, Malaysia

นักท่องเที่ยวจีนและไกด์ดำน้ำเสียชีวิตที่ Semporna มาเลเซีย

นักดำน้ำท่องเที่ยวชาวจีน 2 คนอายุ 26 ปี และไกด์ดำน้ำชาวมาเลเซีย เสียชีวิตระหว่างการดำน้ำที่เกาะ Kulapuan เขตเมือง Semporna รัฐซาบาห์ (Sabah) ประเทศมาเลเซีย

อ่าน นักท่องเที่ยวจีนและไกด์ดำน้ำเสียชีวิตที่ Semporna มาเลเซีย

อากาศวิปริต แตนทะเลเกลื่อนหาด – แปรปรวนยาวถึงกลางปี

ลานีญ่า ทำสภาพอากาศเมืองไทยแปรปรวนยาว แตนทะเลเกลื่อนชายหาดช่วงหน้าร้อน พิษร้ายคันแสบร้อนทั้งตัว ระบาดหนักชายหาดท่องเที่ยวดังเกือบทุกแห่ง

อ่าน อากาศวิปริต แตนทะเลเกลื่อนหาด – แปรปรวนยาวถึงกลางปี