ครั้งแรกกับความสำเร็จของ ‘อุปกรณ์ทำความสะอาดมหาสมุทร’ ในการเก็บกวาดขยะพลาสติก

The Ocean Cleanup ประสบความสำเร็จในการดักจับและเก็บขยะพลาสติกออกจาก แพขยะใหญ่แปซิฟิก (Great Pacific Garbage Patch)

อ่าน ครั้งแรกกับความสำเร็จของ ‘อุปกรณ์ทำความสะอาดมหาสมุทร’ ในการเก็บกวาดขยะพลาสติก
Images of 4 Marine Animals as New Reserved Wild Life 2019

ประกาศเพิ่มสัตว์ทะเลหายาก 4 ชนิด เป็นสัตว์ป่าสงวน

หลังจากผ่านมติคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ให้สัตว์น้ำ 4 ชนิด ได้แก่ 1. วาฬบรูด้า (Bryde’s whale) 2. วาฬโอมูระ (Omura’s whale) 3.ฉลามวาฬ (Whale Shark) 4. เต่ามะเฟือง (Leatherback turtle) เป็นสัตว์ป่าสงวน มาแล้ว เมื่อวานนี้ ราชกิจจานุเษกษา ได้ประกาศ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 ฉบับใหม่ บรรจุสัตว์ทะเลทั้ง 4 ชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวนเรียบร้อยแล้ว นับเป็นการประกาศรายช่อสัตว์ป่าสงวนเพิ่มเป็นครั้งแรกในรอบ 27 ปี ทำให้ปัจจุบันนี้ ไทยมีสัตว์ป่าสงวนรวมทั้งสิ้น 19 ชนิดแล้ว เรามารู้จักสัตว์น้ำที่เพิ่มขึ้นใหม่ทั้ง 4 ชนิดกันเถอะ 1. วาฬบรูด้า (Bryde’s whale) ชื่อของมันถูกตั้งให้ผู้ค้นพบมันเป็นคนแรก คือโยฮัน บรูด้า ในปี ค.ศ. 1909 มันถูกจัดว่าเป็นชนิดหนึ่งของวาฬไม่มีฟัน (Baleen Whale) ขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในเขตร้อน มักอาศัยอยู่ในทะเลที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 16 องศาเซลเซียส เช่นในทะเลของประเทศไทย โดยในไทยพบว่ามีวาฬบรูด้าอยู่ประมาณ 20 – 25 ตัว โดยพบห่างจากชายฝั่ง 4 – 30 กิโลเมตรของทะเลอ่าวไทย วาฬบรูด้ามีรูปร่างเรียวสีเทาอมฟ้า มีครีบหลังเป็นรูปเคียวโค้งไปทางด้านหลังของลำตัว มีรอยจีบใต้ลำคอขนานกับลำตัวประมาณ 40 – 70 รอย ความยาวสูงสุดของตัวผู้โตเต็มวัยอยู่ที่ 15 เมตร ตัวเมียอยู่ที่ 16.5 เมตร และน้ำหนักสูงสุดอยู่ที่ 40 ตัน แต่ถึงแบบนั้นอาหารของมันกลับมีขนาดเล็ก คือแพลงก์ตอนของสัตว์จำพวกกุ้ง หมึกกระดอง และฝูงปลาขนาดเล็ก มันมักจะหากินเพียงลำพัง ยกเว้นวาฬเด็กที่ออกหากินกับแม่ โดยวิธีการกินอาหารของมันนั้นจะใช้ซี่กรองขนาดใหญ่รูปร่างคล้ายตะแกรงที่อยู่บริเวณขากรรไกรบนของมัน กรองสัตว์ขนาดเล็กๆ เป็นอาหาร โดยวาฬบรูด้าเต็มวัยหนึ่งตัวอาจกินอาหารถึง 590 กิโลกรัมต่อวัน ปัจจุบันพวกมันถูกคุกคามจากมนุษย์จนมีจำนวนลดลงอย่างมาก เนื่องจากปลาและกุ้งขนาดเล็กซึ่งเป็นอาหารของมันมีจำนวนลดลงเพราะมนุษย์ และมนุษย์ยังปล่อยมลพิษทางน้ำ และมลพิษทางเสียงจากการเดินเรือยนต์ บางครั้งมันยังได้รับอุบัติเหตุจากอวนของชาวประมง หรือการขับเรือชนโดยมิได้ตั้งใจอีกด้วย 2. วาฬโอมูระ (Omura’s whale) เป็นวาฬสายพันธุ์หายากที่มีความใกล้เคียงกับวาฬบรูด้า ถูกค้นพบครั้งแรกจากซากของมันในปี ค.ศ. 2003 และเมื่อพิจาณาจากซากแล้วจึงพบว่ามีความต่างจากวาฬบรูด้า กล่าวคือวาฬโอมูระนั้นมีขนาดเล็กกว่า ตัวผู้ที่โตเต็มวัยยาวเพียง 10…

อ่าน ประกาศเพิ่มสัตว์ทะเลหายาก 4 ชนิด เป็นสัตว์ป่าสงวน

เปิดตัว Suunto D4i Novo 2 สีใหม่ล่าสุด พร้อมลดราคา D4i Novo ทุกสี

เปิดตัว Suunto D4i Novo สีใหม่ Copper และ Light Gold พร้อมข่าวดีลดราคา D4i Novo ทุกสีเหลือเพียง 19,990 บาทเท่านั้น

อ่าน เปิดตัว Suunto D4i Novo 2 สีใหม่ล่าสุด พร้อมลดราคา D4i Novo ทุกสี
A jellyfish ( Aurelia Aurita - Familia : Ulmariidae ) swims around in the sunshine on the turquoise Mediterranean seashore

“แมงกะพรุน” ทั่วโลกเพิ่มไม่หยุด หวั่นทะเลเสียสมดุล

นักสมุทรศาสตร์เผย สถิติแมงกะพรุนทั่วโลกกำลังแพร่พันธุ์เต็มมหาสมุทร อย่างไม่มีทีท่าว่าจะลดจำนวนลงได้ง่ายๆ เหมือนอย่างที่ผ่านมา ขณะที่ปลาทะเลและสัตว์ทะเลชนิดต่างๆ กลับลดลงอย่างน่าใจหายเพราะน้ำมือของมนุษย์ ภาพประกอบ: แมงกระพรุนแหวกว่ายอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ใกล้กับชายฝั่งเมืองเคแมร์ ประเทศตุรกี ซึ่งถูกบันทึกภาพไว้ได้เมื่อเดือน มิ.ย. 2547 (ภาพจาก AFP PHOTO / TARIK TINAZAY) “เมื่อสัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่น ปลา ลดจำนวนลง สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นมาแทนที โดยเฉพาะแมงกะพรุน” คำพูดของริคาร์โด อากิลาร์ (Ricardo Aguilar) ผู้อำนวยการของโอเชียนา (Oceana) องค์กรสากลด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติแห่งท้องทะเล ซึ่งรายงานจากสำนักข่าวเอเอฟพี ระบุอีกว่า ในขณะนี้ท้องทะเลทั่วโลกกำลังประสบกับปัญหาแมงกะพรุนแพร่กระจายเป็นจำนวนมาก และในบางท้องที่ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายกับนักท่องเที่ยวได้ ข้อมูลจากนักสมุทรศาสตร์ ระบุว่า โดยปกติ แมงกะพรุนจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นในทุกๆ 12 ปี และจะมีปริมาณมากคงที่อย่างนั้นต่อไปราว 4-6 ปี ก่อนจะค่อยลดลงอีกครั้ง เป็นวัฏจักรเช่นนี้มานานร่วม 2 ศตวรรษ ทว่าในปี 2551 นี้นับเป็นปีที่ 8 แล้ว ที่ฝูงแมงกะพรุนในทะเลต่างพากันเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างขาดการควบคุม จนมีปริมาณมากและกลายเป็นปัญหาในหลายๆ ท้องที่ เช่น ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ที่มากกว่าปัญหาคือ มันกลับกลายเป็นสัญญาณเตือนว่า สิ่งแวดล้อมในทะเลกำลังย่ำแย่ลงทุกขณะ ระบบนิเวศน์กำลังเข้าสู่ภาวะเสียสมดุล สาเหตุที่ทำให้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอย่างแมงกระพรุนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น เอเอฟพีรายงานว่า เป็นเพราะการลดจำนวนลงของปลาและสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นๆ จากการถูกล่า และการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลโดยมนุษย์เรานั่นเอง โดยเฉพาะพวกทูนา, ฉลาม และเต่าอีกหลายชนิด ซึ่งหากสัตว์เหล่านี้ลดน้อยลง นั่นหมายถึง ศัตรูที่จะมาคอยแย่งอาหารกับแมงกะพรุนก็ลดลงด้วย ทำให้แมงกะพรุนมีแหล่งอาหารอันโอชะมากมาย ทั้งแพลงก์ตอนและปลาขนาดเล็ก แอนดรูว์ ไบรเออร์เลย์ (Andrew Brierley) นักวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย เซนต์แอนดรูว์ส (University of St Andrews) ในสกอตแลนด์ อธิบายว่า เมื่อแมงกะพรุนเพิ่มมากขึ้น ก็จะไปแย่งอาหารกับปลาอื่นๆ อีก และมันก็ยังเป็นศัตรูผู้ล่าปลาเหล่านั้นไปด้วย ขณะเดียวกัน สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำทะเลสูงขึ้น ก็เป็นปัจจัยส่งเสริมให้แมงกะพรุนขยายพันธุ์ได้ดียิ่งขึ้นด้วย ก็ยิ่งทำให้แมงกะพรุนครองอาณาเขตในมหาสมุทรได้ไม่ยาก

อ่าน “แมงกะพรุน” ทั่วโลกเพิ่มไม่หยุด หวั่นทะเลเสียสมดุล

อากาศวิปริต แตนทะเลเกลื่อนหาด – แปรปรวนยาวถึงกลางปี

ลานีญ่า ทำสภาพอากาศเมืองไทยแปรปรวนยาว แตนทะเลเกลื่อนชายหาดช่วงหน้าร้อน พิษร้ายคันแสบร้อนทั้งตัว ระบาดหนักชายหาดท่องเที่ยวดังเกือบทุกแห่ง

อ่าน อากาศวิปริต แตนทะเลเกลื่อนหาด – แปรปรวนยาวถึงกลางปี