ชาวเกาะเต่าเตรียมเฮ สถานการณ์ COVID-19 มีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ

เมื่อวันที่ 2พ.ค.63 ที่ผ่านมา นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี และผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ลงนามในคำสั่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ ๒๗๒๗/๒๕๖๓ เรื่อง มาตรการเร่งด่วนในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) (ฉบับที่๑๕) เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีแนวโน้มสถานการณ์ที่ดีขึ้น โดยไม่พบผู้ป่วยรายใหม่เป็นระยะเวลาติดต่อกันเกินกว่า 14 วันแล้ว และเพื่อให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตในสถานการณ์ดังกล่าวได้ จึงออกประกาศให้ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 ทุกประเภท และสถานประกอบการที่เปิดให้บริการที่พักในลักษณะเดียวกันทุกแห่ง เปิดให้บริการเฉพาะการให้บริการห้องพักและห้องอาหารหรือร้านอาหาร โดยให้ปิดการให้บริการห้องประชุม สระว่ายน้ำ ฟิตเนส สปา และแผนกนวดเพื่อสุขภาพหรือนวดแผนโบราณ และให้ถือปฏิบัติภายใต้เงื่อนไขการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเคร่งครัด ได้แก่ ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกออล์ เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค อย่างทั่วถึงและเพียงพอต่อจำนวนผู้ใช้บริการ ให้ผู้ประกอบการ พนักงาน ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา ให้มีการลงทะเบียนผู้เข้าพักในบัตรทะเบียนผู้เข้าพักโรงแรม (ร.ร.๓) และทะเบียนผู้พักในโรงแรม (ร.ร.๔) ทุกรายอย่างเคร่งครัด ให้มีการเว้นระยะห่างของผู้รับบริการอย่างน้อย 1 เมตร ให้ทำความสะอาดบริเวณจุดบริการและพื้นผิวสัมผัสทุก 2 ชั่วโมง และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน สำหรับร้านอาหารภายในโรงแรมให้ถือปฏิบัติภายใต้เงื่อนไขการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเคร่งครัด ดังนี้ ห้ามมิให้มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในร้าน ห้ามจัดให้มีการบริการอาหารในรูปแบบอาหารบุฟเฟ่ต์ ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกออล์ เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค อย่างทั่วถึงและเพียงพอต่อจำนวนผู้ใช้บริการ ทำความสะอาดพื้น พื้นผิวสัมผัสบ่อยๆ ได้แก่ พื้นโต๊ะ เก้าอี้ ทั้งก่อนและหลังการให้บริการ และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน ให้ผู้ประกอบการ พนักงาน ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า ให้เว้นระยะห่างระหว่างโต๊ะ และระหว่างที่นั่ง รวมถึงระยะระหว่างการเดินอย่างน้อย 1 เมตร ให้ควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการ มิให้แออัด และให้จัดระบบถ่ายเทอากาศอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดสุราษฎร์ธานี, FB : ที่ว่าการอำเภอส่วนหน้าเกาะเต่า เผยแพร่เมื่อ : 4 พ.ค.63

อ่าน ชาวเกาะเต่าเตรียมเฮ สถานการณ์ COVID-19 มีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ

นัดกันทุกวันพุธที่ Malatapay

คำแนะนำสำหรับผู้ที่มาเที่ยว Dumaguete เพื่อดำน้ำที่ Dauin หรือ Apo Island คือ อย่าลืมแวะชมตลาด Malatapay ที่ Zamboanguita ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ดีสำหรับการเลือกซื้อของที่ระลึกและลองอาหารพื้นเมือง ตลาดเปิดทุกวันพุธเท่านั้น ควรวางแผนการเดินทางล่วงหน้าเพื่อไม่พลาดประสบการณ์นี้!

อ่าน นัดกันทุกวันพุธที่ Malatapay

เที่ยวเมืองดูมาเกเต (Dumaguete)

หากพูดถึงแผ่นดินที่มีรูปร่างคล้ายรองเท้าบู๊ต นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่คงจะนึกถึงประเทศอิตาลี ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทวีปยุโรป เราขอแนะนำว่ายังมี “รองเท้าบู๊ต” อีกข้างอยู่ในทวีปเอเชีย นั่นคือ เกาะเนโกรส (Negros Island) ที่อยู่ทางตอนกลางของประเทศฟิลิปปินส์ ที่นี่มีจุดดำน้ำที่น่าสนใจอย่างแนวชายฝั่งทะเลที่ทอดยาวตั้งแต่เทศบาลเมืองดาวอิน (Dauin) ไปจนถึงเทศบาลเมืองซัมบวนกีตา (Zamboanguita) และเกาะอะโป (Apo Island) ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเมืองหลวงของจังหวัด Negros Oriental (ทางฝั่งตะวันออกของเกาะเนโกรส) ชื่อ ดูมาเกเต (Dumaguete) ที่ตั้งอยู่ตรงนิ้วโป้งของรองเท้าบูตข้างนี้พอดิบพอดี ด้วยเหตุที่เมืองดูมาเกเตเป็นจุดเชื่อมต่อไปยังแหล่งดำน้ำที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ว่าคุณจะเดินทางจากประเทศไทยเข้าประเทศฟิลิปปินส์ทางกรุงมะนิลา (Manila) หรือทางเมืองเซบู (Cebu) คุณจะต้องจับเที่ยวบินโดยสารภายในประเทศ (ซึ่งให้บริการทุกวัน โดยสายการบิน Philippine Airlines หรือสายการบินโลว์คอสต์ Cebu Pacific Air และ Cebgo ) หรือนั่งเรือเฟอร์รี่ข้ามฟากจากปลายเกาะเซบู ต่อมายังเมืองนี้ สนามบินของดูมาเกเต (DGT) มีชื่อว่า ซีบูลัน (Sibulan Airport) ไม่ต้องตกใจว่าเครื่องบินหรือรถพาคุณไปส่งผิดสนามบินหรือเปล่า มันตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองซีบูลัน ห่างจากเมืองดูมาเกเตไปทางเหนือไม่กี่เมตรเท่านั้น …มิใช่เพียงแค่ทางผ่าน ที่นี่มีประชากรกว่า 1 แสน 3 หมื่นคน (อ้างอิงจากข้อมูลปี ค.ศ. 2015) ซึ่งนับว่าหนาแน่นที่สุดในจังหวัด โดยถูกขนานนามว่าเป็น “นครแห่งสุภาพชน” นอกเหนือไปจากที่ถูกเรียกว่าเป็น “เมืองมหาวิทยาลัย” เนื่องจากมีมหาวิทยาลัยถึง 4 แห่ง และวิทยาลัยอีกเป็นจำนวนมาก นักเรียนจากจังหวัดหรือเมืองที่อยู่ใกล้เคียงในหมู่เกาะวิซายัส (Visayas) และมินดาเนา (Mindanao) ต่างหมายมุ่งที่จะมาสมัครเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาที่นี่ มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ มหาวิทยาลัยซิลลีมัน (Silliman University) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยโปรเตสแตนต์แห่งแรกของฟิลิปปินส์ และเป็นมหาวิทยาลัยอเมริกันแห่งแรกในเอเชียด้วย นอกจากแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล เมืองดูมาเกเตยังมีสถานที่ที่นักเดินทางนิยมไปเยือนอีกมากมาย ทั้งในตัวเมืองและบริเวณใกล้เคียง อาทิ ทะเลสาบแฝดบาลินซาซาเยา (Balinsasayao) และดาเนา (Danao) เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่อยู่บนปล่องภูเขาไฟ คุณสามารถนั่งรถบัสไปลงทางแยกที่จะไปยังทะเลสาบแฝด ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองซีบูลัน ก่อนจะต่อมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่เรียกว่า “ฮาบัล ฮาบัล” (habal habal) ขึ้นเขาไปยังทะเลสาบ โดยใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที ส่วนรถยนต์สี่ล้อประเภทอื่น ๆ สามารถไต่เขาขึ้นไปได้เช่นกัน แต่คนขับควรชำนาญทางจึงจะปลอดภัยกว่า ทะเลสาบแห่งนี้มีสถานะเป็นอุทยาน (Balinsasayao Twin Lakes Nature Park) มีการเก็บค่าบำรุงสถานที่ สำหรับชาวต่างชาติ (ไม่ใช่ฟิลิปีโน) จะต้องเสียค่าเข้าคนละ Php 100 ส่วนเด็กไม่เกิน…

อ่าน เที่ยวเมืองดูมาเกเต (Dumaguete)

รู้จักกับประเทศฟิลิปปินส์ (เตรียมตัวไปดำน้ำ)

ประเทศฟิลิปปินส์เป็นหมู่เกาะขนาดใหญ่ทั้งประเทศ มีเกาะจำนวนมากกว่า 7,000 เกาะ (บางแห่งว่ากว่า 7,100 เกาะ บางแห่งก็ว่ามากกว่า 7,600 เกาะ) แบ่งออกเป็น 3 ภาคหรือเขตการปกครองใหญ่ คือ ลูซอน (Luzon) คือพื้นที่เกาะลูซอน (Luzon island) และเกาะเล็กๆ ข้างเคียง เช่น เกาะมินโดโร (Mindoro island) เกาะรอมบลอน (Romblon island) เป็นต้น และรวมเอาหมู่เกาะ Palawan เข้าไว้ด้วย (ซึ่งบางคนก็แยกหมู่เกาะนี้ออกไปเป็นส่วนที่ 4 โดยตำแหน่งพื้นที่) เขตการปกครองนี้มีประชากรหนาแน่นที่สุด และเกาะลูซอนเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์ รวมทั้งเป็นที่ตั้งของมะนิลา (Manila) เมืองหลวงของประเทศ วิซายาส (Visayas) คือพื้นที่ตอนกลางของประเทศ ประกอบด้วยเกาะขนาดกลาง ได้แก่ Panay, Samar, Leyte, Negros, Cebu, Bohol และเกาะขนาดเล็กอีกจำนวนมาก มินดาเนา (Mindanao) คือพื้นที่เกาะมินดาเนา (Mindanao island) และเกาะเล็กๆ ข้างเคียง เช่น เกาะ Camiguin เกาะซูลู (Sulu island) เป็นต้น เกาะมินดาเนาเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ สภาพอากาศและฤดูกาล ดูเผินๆ ประเทศฟิลิปปินส์อยู่ในแนวละติจูดใกล้เคียงกับไทยเรามาก จึงน่าจะมีฤดูกาลคล้ายคลึงกัน แต่เนื่องจากเป็นหมู่เกาะกลางทะเล ห่างจากแผ่นดินใหญ่ถึง 800 กม. จึงมีสภาพอากาศที่แตกต่างจากเรามาก ประเทศฟิลิปปินส์มี 2 ฤดูใหญ่ๆ คือ ฤดูเปียก (ฤดูฝน – rainy season) กับ ฤดูแห้ง (ฤดูแล้ง – dry season) โดยที่ฤดูแล้งยังแบ่งย่อยเป็น แล้งเย็น (cool dry) กับ แล้งร้อน (hot dry) อีกด้วย ดูตารางด้านล่างนี้จะเข้าใจง่ายขึ้น Months Nov–Feb Mar–May Jun–Aug Sep–Oct Rainfall DRY WET Temperature COOL HOT Season Cool Dry Hot Dry Rainy…

อ่าน รู้จักกับประเทศฟิลิปปินส์ (เตรียมตัวไปดำน้ำ)

ดำน้ำที่ดูมาเกเต (Dumaguete)

Dumaguete สวรรค์ของนักดำน้ำทั้งมือใหม่ที่ชอบดูปะการังสวยๆ ปลาน่ารักๆ หรือสัตว์ทะเลขนาดปกติ ไปจนถึงมือเก่าที่ชอบมองหาสัตว์ขนาดจิ๋ว

อ่าน ดำน้ำที่ดูมาเกเต (Dumaguete)
Losin Rock and Malaysia-Thailand Joint Development Area

โลซิน กองหินแห่งประวัติศาสตร์ของแหล่งก๊าซธรรมชาติไทย

กองหินโลซิน นอกจากจะเป็นจุดดำน้ำที่ขึ้นชื่อในเรื่องความสมบูรณ์ของปะการัง จนมีนักดำน้ำทั้งไทยและต่างชาติหาทริปดำน้ำลึกไปกันมากมายทุกๆ ปีแล้ว ยังมีบทบาทสำคัญด้านทรัพยากรพลังงานของไทยในฐานะเป็นจุดอ้างอิงที่ทำให้เราได้มีส่วนแบ่งในแหล่งก๊าซธรรมชาติ MTJDA (Malaysia-Thailand Joint Development Area) บริเวณขอบใต้สุดของอ่าวไทยอีกด้วย หากไม่มีกองหินโลซินแล้ว เราคงไม่สามารถอ้างสิทธิ์เพื่อแบ่งผลประโยชน์ในแหล่งก๊าซธรรมชาติมูลค่าหลายแสนล้านบาทนี้ได้เลย เริ่มต้นจากความต้องการใช้ทรัพยากรใต้ทะเล เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับกองหินโลซินและการอ้างสิทธิ์ในแหล่งก๊าซธรรมชาติแห่งนี้ เริ่มต้นในยุคที่มีการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทยและทะเลอันดามันกันอย่างจริงจังราวปี พ.ศ. 2511 เมื่อทางการไทยประกาศพิกัดแนวเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยโดยประมาณ เพื่อกำหนดแปลงสำรวจให้เอกชนมายื่นขอนุญาตดำเนินการสำรวจได้ ในเวลาไล่เลี่ยกันนั้นเอง ทางมาเลเซียก็เริ่มออกแปลงสำรวจปิโตรเลียมของตนเองบ้าง โดยอาศัยแผนที่แนวเขตไหล่ทวีปของไทยเป็นแนวอ้างอิงและให้สิทธิ์แก่เอกชนลงมือสำรวจ จนในปีพ.ศ. 2514 บริษัท Esso Production Malaysia Inc. (EPMI) ก็ได้สำรวจพบก๊าซธรรมชาติในพื้นที่ MTJDA นี้ ก่อนหน้านั้น การใช้พื้นที่ในทะเลเพื่อประโยชน์ของประเทศต่างๆ ในแถบนี้ยังไม่ได้เคร่งครัดในเรื่องเขตแดนมากนัก แม้จะมีข้อตกลงเรื่องนี้อยู่ในอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1958 (พ.ศ. 2501) แล้วก็ตาม แต่ละประเทศก็ยังไม่ได้มาทำความตกลงกันให้เรียบร้อย เรือประมงของแต่ละชาติยังคงออกเรือทำประมงกันได้ทั่วไป จนกระทั่งเมื่อมีความตื่นตัวในเรื่องทรัพยากรปิโตรเลียมใต้พื้นทะเลนี่เอง (มีการสำรวจพบแหล่งน้ำมันในเขตไหล่ทวีปหลายแห่งทั่วโลก รวมถึงประเทศอินโดนีเซียที่อยู่ใกล้ไทยกับมาเลเซียด้วย) ไทยเราและประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งอินโดนีเซีย มาเลเซีย กัมพูชา และเวียดนาม จึงเริ่มนัดประชุมทำข้อตกลงเรื่องอาณาเขตทางทะเลกันเป็นการใหญ่ แผนที่อาณาเขตที่เลือกใช้ต่างกัน ในปี พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) ซึ่งทางการไทยประกาศเชิญชวนให้เอกชนมายื่นคำขออนุญาตสำรวจปิโตรเลียมกันนั้น ได้มีการจัดทำแผนที่หมายเลข 68 A ขึ้นมาเพื่อแสดงขอบเขตแปลงสำรวจด้วย แผนที่นี้แสดงแนวขอบเขตไหล่ทวีป (continental shelf หรืออีกนัยหนึ่งคือเขตแดนทางทะเล) ของไทยโดยประมาณ ซึ่งมิได้กำหนดพิกัดของจุดต่างๆ อย่างชัดเจน และมิได้ระบุว่าไทยจะยึดเอาแผนที่ดังกล่าวเป็นขอบเขตไหล่ทวีปทั้งหมดของประเทศไทยในอ่าวไทยแต่อย่างใด ทั้งยังเป็นการอ้างกรรมสิทธิ์แต่ฝ่ายเดียว (unilateral claim) ไม่ใช่ข้อสรุปร่วมกันระหว่างประเทศ เมื่อทางการไทยตระหนักว่า ต้องมีการเจรจาตกลงกันในเรื่องขอบเขตทางทะเลกันก่อนที่จะดำเนินการสำรวจต่างๆ ต่อไปจะเป็นการดีกว่าในระยะยาว จึงได้พิจารณาปรับปรุงแผนที่แนวขอบเขตไหล่ทวีปให้มีความถูกต้องชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อเตรียมใช้ในการตกลงร่วมกัน ก็ได้มีการสำรวจและจัดทำแผนที่ฉบับใหม่ออกมาในปี พ.ศ. 2514 (ฉบับ ป.2, ป.3, และ ป.4) โดยครั้งนี้ใช้อิทธิพลของกองหินโลซิน (หรือเรียกว่า “เกาะโลซิน” ในสมัยนั้น) ซึ่งยังถือว่าเป็นหมายที่ใช้เป็นแนวเขตแผ่นดินได้ตามนิยามของอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1958 (ดู Part II: Territorial Sea and Contiguous Zone) ทำให้แนวเขตไหล่ทวีปเปลี่ยนไปจากแผนที่ 68 A คือกินพื้นที่ลงทางใต้มากขึ้นและได้พื้นที่เขตแดนทางทะเลเพิ่มขึ้นมาอีก ฝ่ายมาเลเซียนั้น เมื่อไทยประกาศใช้แผนที่ 68 A (พ.ศ. 2511) ทางมาเลเซียเองพิจารณาแล้วเห็นว่าตนเองไม่เสียประโยชน์อะไรจากที่ควรจะเป็น ก็ได้ประกาศแนวขอบเขตไหล่ทวีปของตนเองในปีเดียวกัน โดยกำหนดแนวเขตสอดคล้องกับแนวของไทยในแผนที่ 68 A…

อ่าน โลซิน กองหินแห่งประวัติศาสตร์ของแหล่งก๊าซธรรมชาติไทย