Hypoxia – อาการขาดออกซิเจนขณะดำน้ำ

เกริ่นนำ: เหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่คุณ Wobbegong เล่าไว้ในเว็บ siamscubadiving.com และทาง FreedomDIVE เห็นว่ามีประโยชน์มาก จึงเอามาฝากให้นักดำน้ำทุกท่านได้อ่านกัน เมื่อเร็วๆ นี้ มีเหตุการณ์ประเภท Near Miss (เกือบจะเป็น Accident) เกิดขึ้นกับตัวเองมาครับ.. หลังจากได้คุยกับผู้รู้ เลยรู้ว่าจริงๆ แล้วเกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง ตอนนี้ ก็เลยอยากมาบอกเล่าให้กับเพื่อนๆ ได้รับทราบกัน จะได้ระวังไว้ และรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น หากเกิดขึ้นกับตัวเอง เหตุการณ์เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2546 ที่ผ่านมานี่เองครับ ผมกับเพื่อนๆ อีกกลุ่มหนึ่ง ได้นัดกันไปดำน้ำที่ หินเพิง จ. ระยอง เพื่อทำการตัด และเก็บอวนที่เข้ามาติดอยู่ที่นั่นออก ในวันนั้น เดิมทีกำหนดกันไว้ว่าจะทำงานเก็บอวน 2 ไดฟ์ แล้วไดฟ์ที่ 3 จะไปดำเที่ยวกันที่อื่น ไดฟ์แรก ลงดำที่กองหินเพิงด้านตะวันออก พบเศษอวนขนาดเล็กบ้างประปราย ส่วนใหญ่เป็นอวนที่เริ่มเก่าแล้ว น้ำเริ่มซัดมาม้วนรวมกันเป็นมัดใหญ่ ทุกคนที่ลงดำน้ำ ใช้มีด กรรไกร และคัทเตอร์ ช่วยกันตัดให้เล็กลง ม้วนเป็นก้อน ผูกไว้ด้วยเชือก และใช้ถุงพลาสติก ทำเป็น Liftbag เพื่อปล่อยให้ลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ และจะใช้เรือตามเก็บภายหลัง ในไดฟ์นี้ ไม่มีปัญหาเท่าไร เศษอวนไม่มาก เราดำน้ำทั้งหมดประมาณ 30 – 45 นาที ความลึกจำไม่ได้ครับ ต้องไปเอาไดฟ์คอมมาดูอีกทีแล้วจะบอก หลังจากนั้น ก็ขึ้นมาทานข้าวกัน ประมาณบ่ายโมงนิดๆ ก็ลงดำไดฟ์ที่ 2 กัน ที่หินเพิงกองกลาง (หินเพิง มีเรียงกันอยู่ 3 ยอด แต่ละยอดห่างกันประมาณ 15 – 20 เมตรได้) กองกลางนี้ ยอดกองอยู่ลึกที่สุด เรือต้องใช้ Sounder กวาดหา ที่นี่ พบอวนมากกว่าที่คาดไว้ Liftbag ที่ทำจากถุงพลาสติกที่นำลงน้ำไปด้วย หมดก่อนที่จะเอาอวนขึ้นได้หมด รวมทั้งพบอวนผืนใหญ่ ซึ่งเมื่อแกะออกจากกองหิน และแนวปะการังแล้ว รวมกันเป็นก้อนสูงเกือบเท่าเอวผู้ใหญ่ ใช้ถุงพลาสติกผูกเข้าไปแล้ว 6 ถุง ก็ยกไม่ขึ้น เราจึงทดลองใช้ Dive Sausage ผูกเข้าไป เพื่อให้ช่วยในการยก ครั้งแรกเกือบสำเร็จ เชือกที่ผูกไว้ขาดไปก่อน ผมเลยเอา Sausage ของผม ผูกติดเข้าไปใหม่ เติมอากาศ…

อ่าน Hypoxia – อาการขาดออกซิเจนขณะดำน้ำ

การดำน้ำ ช่วยให้ใช้ชีวิตเป็น และเข้าใจชีวิตมากขึ้น

จะว่าไปแล้ว ทักษะทุกอย่างในการใช้ชีวิต เมื่อเราทำเป็นประจำจนเกิดความเชี่ยวชาญ และพัฒนากลายเป็นความคุ้นเคย ย่อมน่าจะส่งผลให้เราได้รับประโยชน์อื่นๆ นอกเหนือจากทักษะที่เพิ่มขึ้น เราจึงสงสัยใคร่รู้ว่า สำหรับการดำน้ำ Scuba นั้น จะมีผลดีในด้านอื่น สำหรับผู้ที่นิยมชมชอบไปดำน้ำเป็นร้อยครั้งพันครั้งหรือไม่ ซึ่ง AWAY ได้รับเกียรติจาก ดร.พิชิต เมืองนาโพธิ์ หรือครูเบิ้ม นักจิตวิทยาการกีฬา และยังเป็น dive instructor ที่มีประสบการณ์ ในการดำน้ำมาไม่ต่ำกว่า 20 ปี มาร่วมสนทนาพูดคุยในประเด็นที่เราสงสัย “หากจะถามว่า ทักษะในการดำน้ำมีผลต่อวิถีการใช้ชีวิต ช่วยให้ใช้ชีวิตได้ดีขึ้นหรือไม่นั้น คงต้องยกตัวอย่างในเรื่องของคนที่ขับรถ กับคนที่ไม่ได้ขับรถก่อน เพราะคนที่ขับรถ ย่อมต้องมีการวางแผนการเดินทางใช่ไหมครับ ว่าจะไปไหน เลือกใช้เส้นทางไหนถึงจะดี คือคนขับรถที่ดีมักมีการเตรียมการ คิด และวางแผนล่วงหน้า จนเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว คนที่ดำน้ำก็จะมีลักษณะที่คล้ายกัน แต่ที่พิเศษกว่าคือจะมีการเน้นในเรื่องประเด็นของ ความปลอดภัยมากกว่า เน้นเรื่องการให้ความสำคัญในการมีสมาธิ เพราะฉะนั้น ทักษะที่เกิดขึ้น จนกลายเป็นอุปนิสัย เป็นทักษะที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการคิดแล้ว คือสามารถทำได้ทันที เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ หรือมีผลกับเรื่อง ความปลอดภัย คนที่ดำน้ำมามากๆ จะมีทักษะในเรื่องนี้ค่อนข้างดีกว่าคนทั่วไป คือจะใจเย็น มีสติและมีสมาธิที่ดี สามารถควบคุมอารมณ์ได้เมื่อเกิดเหตุการณ์ ที่ไม่คาดคิดขึ้นอย่างทันท่วงที และโดยเฉพาะนักดำน้ำที่พัฒนาจากนักดำน้ำทั่วไป มาเป็น dive master ในส่วนนี้จะเห็นได้ชัดเจน พูดได้เลยว่าทั้ง 100% เต็ม อุปนิสัยการใช้ชีวิตจะเปลี่ยนไปเลย จะกลายเป็นคนละคน รู้จักดูแลตัวเอง และห่วงใย คนอื่นมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการดำน้ำถูกสอนให้ต้องคอยดูแลบัดดี้ ไม่ปล่อยให้ คนที่อยู่ตรงหน้าเราต้องคลาดสายตา และด้วยหน้าที่ของคนที่มาเป็น dive master ที่ต้องเป็นครูสอนในเรื่องทักษะการดำน้ำ ก็จะมีความใจเย็น เข้าใจความแตกต่างของคน แต่ละคน รู้ว่าบางคนเขาใจร้อน บางคนเขาไม่มีกำลังใจ ก็ต้องหาวิธีที่จะช่วยให้เขา สามารถมีทักษะในการดำน้ำที่ดีจนได้ ถือว่าก้าวสู่การเติบโตเป็นคนที่มีความเมตตาสูง ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการได้เริ่มมาดำน้ำ ย่อมเป็นพื้นฐานในการปรับเปลี่ยนอุปนิสัย หลายๆ อย่าง ให้ใจเย็น กลายเป็นคนไม่เร่งรีบในการตัดสินใจ มีความใส่ใจ ที่จะดูแลคนอื่นมากขึ้น อีกส่วนหนึ่งที่เห็นได้ชัด คือเรื่องระบบการหายใจ เพราะการดำน้ำนั้น ต้องหายใจ เข้าออกให้เหมาะสม และส่วนมากจะเป็นการหายใจยาว ลึก ช้า และสม่ำเสมอ ซึ่งจากประสบการณ์ของผมที่มีโอกาสได้สอนคนที่มาเรียนดำน้ำ พบว่าคนเมือง ส่วนใหญ่หายใจสั้นมากๆ จนเป็นปกตินิสัย การหายใจสั้นนั้น ส่วนหนึ่งก็น่าจะมาจาก ภาวะความเครียดจากการทำงาน ซึ่งบางคนอายุยังน้อยมากแค่ 20 ต้นๆ เท่านั้น แต่หายใจสั้นเหมือนคนแก่เลย แต่หลังจากที่ได้มาเรียนดำน้ำแล้ว ก็จะค่อยๆ มีการควบคุมการหายใจที่ดีขึ้น ใจเย็นขึ้น ผ่อนคลายมากขึ้น…

อ่าน การดำน้ำ ช่วยให้ใช้ชีวิตเป็น และเข้าใจชีวิตมากขึ้น
ภาพนักดำน้ำกำลังตัดเชือกลอบที่มาพันกับสายทุ่น

วันที่เจอเชือกลอบติดสายทุ่น

โดยปกติก่อนลงน้ำ เราก็จะมี mindset ไว้ว่า จะเผชิญหน้ากับความลึกด้วยจิตใจที่สงบ ผ่อนคลาย มีการฝึก psychological skill บางอย่างที่ประยุกต์มาจากโลกของกีฬามาใช้ก่อนลงเสมอ และมันก็ใช้ได้จริงเวลามีเหตุขึ้นมา

อ่าน วันที่เจอเชือกลอบติดสายทุ่น
Hardeep - Keng Krob - 001

เรือจมสุทธาทิพย์ เสน่ห์ที่ลึกลับ

ผมว่าเรือจมสุทธาทิพย์เป็นชื่อที่นักดำน้ำไทยส่วนมากจะรู้จัก เพราะอยู่ที่สัตหีบใกล้กับ กทม. มาก สามารถขับรถไปดำแบบเช้าเย็นกลับได้สบายๆ หรือจะค้างที่พัทยาก็ได้ ขับรถประมาณ 40 นาทีก็ถึง

อ่าน เรือจมสุทธาทิพย์ เสน่ห์ที่ลึกลับ

ทำไมถึงจะอยากเป็นนักดำน้ำแบบเทคนิคอล?

ดำน้ำเทคนิคอลเป็นอย่างไร ? เราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า เราสามารถเป็นนักดำน้ำชั้นยอดที่ประสบความสำเร็จในการดำน้ำตลอดชีวิตโดยไม่ต้องดำน้ำแบบเทคนิคอล การเป็นนักดำน้ำแบบนันทนาการนั้นเป็นเรื่องยอดเยี่ยมอยู่แล้ว แต่สำหรับคนบางประเภท ที่มีความรู้สึกอยากจะสำรวจ ค้นหา มากไปกว่าภายใต้ขีดจำกัดของการดำน้ำแบบนันทนาการทั่วๆไป ในโลกใต้น้ำยังมีเรือจมที่น่ามหัศจรรย์ ที่ผู้คนไม่ค่อยมีโอกาสได้ไปสัมผัส จมอยู่อีกมากมายในที่ลึก มีแนวปะการังน้ำลึกที่มีสัตว์ทะเลที่ยากจะพบพานที่เราจะไม่เจอในที่ตื้นกว่านั้น นักดำน้ำบางคนก็ชื่นชอบกับความท้าทายและสมาธิที่ต้องใช้ในการดำน้ำประเภทนี้ หรือบางคนก็ชอบมากที่จะดำน้ำด้วยอุปกรณ์และกระบวนการที่ทันสมัย หลายคนมีความต้องการที่จะนำเอาความรู้ความสามารถและทักษะของการดำน้ำแบบเทคนิคอลนี้ไปถ่ายโยงใช้กับการทำงานและชีวิตประจำวัน เหตุผลเหล่านี้คือสิ่งที่ทำให้การดำน้ำแบบเทคนิคอลดึงดูดใจนักดำน้ำหลายคน การดำน้ำแบบเทคนิคอลต้องใช้ความพยายาม วินัย และอุปกรณ์ที่มากกว่าการดำน้ำแบบนันทนาการทั่วๆไป ซึ่งหมายความว่ามันไม่ได้เหมาะกับทุกคน แต่สำหรับท่านที่มีความใฝ่ฝันที่จะฝึกฝน ชอบความท้าทาย มีความทุ่มเทในการฝึกฝนตนเอง การเรียนและการดำน้ำแบบเทคนิคอลนี้จะให้รางวัลแก่ชีวิตของท่านอย่างไม่น่าเชื่อ ก้าวแรกของการเริ่มต้นทำอย่างไร? PADI มีหลักสูตรที่น่าสนใจ ที่เริ่มต้นอย่างนุ่มนวล สะดวก สบาย สำหรับท่านที่ต้องการก้าวผ่านประตูไปสู่โลกของนักดำน้ำแบบเทคนิคอลนี้ ด้วยหลักสูตรเบื้องต้น ที่เรียกกันว่าหลักสูตร “Tec 40” หลักสูตรนี้จะเป็นสะพานอันเรียบง่ายและงดงามในการเชื่อมระหว่างการดำน้ำแบบนันทนาการไปสู่การดำน้ำแบบเทคนิคอล ผู้เรียนจะได้รับการฝึกทักษะ ความรู้ ความสามารถอย่างค่อยเป็นค่อยไป ได้สร้างพื้นฐาน ฝึกทักษะกลไก (Motor Skill) และฝึกสภาพจิตใจ ในการที่จะก้าวไปเป็นนักดำน้ำเทคนิคอลชั้นดีต่อไป เมื่อจบการเรียนหลักสูตร Tec 40 ผู้เรียนจะมีศักยภาพในการดำน้ำลึกถึง 40 เมตรด้วยการใช้อากาศปกติหรืออากาศที่มีความเข้มข้นของอ๊อกซิเจนสูง (Enriched Air) สามารถดำน้ำแบบ Decompression ได้ถึง 10 นาที และสามารถใช้ Enriches air nitrox ได้ถึง 50% ในการทำ Decompression เพื่อให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น นักดำน้ำที่จบหลักสูตร Tec 40 จะมีศักยภาพในการดำน้ำที่สนุกและท้าทายกว่าเดิม จะได้ไปยังสถานที่ที่น่าตื่นเต้น แปลกใหม่ และมีความพร้อมทั้งทักษะ ร่างกาย และจิตใจที่จะก้าวต่อไปในหลักสูตรขั้นสูงยิ่งขึ้นครับ

อ่าน ทำไมถึงจะอยากเป็นนักดำน้ำแบบเทคนิคอล?
Petchburi Bremen Wreck - Marlin Divers

เรือจม “เพชรบุรี เบรเมน” หรือเรือ ”แก้วสมุทร”

เรือ “เพชรบุรี เบรเมน” ถูกรัฐบาลสยามเปลี่ยนชื่อเป็น “แก้วสมุทร” อัปปางลงบริเวณระหว่างเกาะอีร้าและเกาะคราม ความยาวเรือ 88.5 เมตร ยาวกว่าเรือจมสุทธาทิพย์ถึงสิบเมตร สภาพของเรือในปัจจุบัน มีปะการังเกาะหนาแน่น มีอุปกรณ์ต่างๆ อยู่ค่อนข้างครบครัน

อ่าน เรือจม “เพชรบุรี เบรเมน” หรือเรือ ”แก้วสมุทร”

The Best Diving Day at Samaesan 4 July 2010

Date: 4 July 2010 Dive No.: 1507 Time In: 10:31 Max Depth 24.4 m Dive Time: 60 mins Water Temp.: 31 c Location: Japanese Cape, Koh Juang แผนการดำน้ำวันนี้คือ พวกเราจะดำน้ำลงไปตามแนวแหลมเพื่อหาความลึก ครั้งที่แล้วฉันจำได้ว่า ฉันได้เจอกระเบน (stingray) ตัวใหญ่ประมาณ 1 เมตรที่นี่ ครั้งนี้จึงคิดว่าจะลองลงไปตามหาดูอีกที เนื่องจากลักษณะไดฟ์ไซต์ที่เป็นแหลม เมื่อไต่ระดับลงไปเรื่อยๆ จนถึงประมาณ 20 เมตร ฉันจะรู้สึกได้ถึงกระแสน้ำที่พัดผ่านทางหัวแหลมนี้ เราต้องดำน้ำกันแบบ low low ละเลียดติดพื้นทราย และให้หินหรือกองปะการังบังกระแสน้ำบ้างบางครั้ง ที่ความลึก 20 เมตร จะมีลานทราย และกองหินเป็นหย่อมๆ มีต้นปะการังดำขึ้นสลับกับแส้ทะเลอยู่มากมาย (สวยมากในแถบนี้) เมื่อไปถึงตรงนั้นฉันจึงหยุดเพื่อดูฝูงปลาข้างเหลืองที่ว่ายน้ำทวนกระแสนิดๆ อยู่ เมื่อมองเลยเจ้าฝูงปลาข้างเหลืองนี้ ฉันเห็น Great Barracuda ตัวใหญ่ จึงรีบหันไปเรียกครูดำ (Team Tec Diving ของเรา) “ครู……ดำำำ…….” และรีบหันกลับไป ทันทีที่หันหน้ากลับไปทางเจ้า Barracuda ฉันไม่เห็นเจ้า Barracuda อีกแล้ว แต่ฉันต้องผงะถอยหลัง เพราะมีฉลามตัวใหญ่ว่ายโฉบมาข้างหน้า ทำให้ฉันสติแตก ทีนี้ตะโกนสุดเสียงเรียก “คคคคคคครรรรรรรรู ดดดดดดำำำำำำำำ ำ ำ ำ ำ ำ ำ ำ” แต่ของอย่างนี้ แถวนี้ มันเป็นแค่ตำนาน มาแว๊บ ไปแว๊บ โชคดี ฉันมีนักเรียน advanced มาดำน้ำเล่นด้วย ชื่อคุณใหม่ ฉันรึบหันไปข้างๆ เอานี้วจิ้มที่หน้ากากตัวเอง แล้วก็เอามือยกขึ้นมาทำท่าตั้งฉากกับหน้ากาก เป็นภาษามือว่า เห็นฉลามรึเปล่า คุณใหม่พยักหน้า …..ฉันค่อยโล่งใจว่า ไม่ได้เห็นคนเดียว (หรือไม่ได้ตาฝาด) ฉลาม Grey Reef ?????? ตัวสองเมตร????? อ้วนพี ที่แสมสาร??????? เป็นไปได้ไง และเหมือนเคย เมื่อครูดำโผล่มา มันก็หายไปแล้ว ให้มันได้อย่างนี้ทุกที ฉันได้แต่ส่งสัญญาน เอามือตั้งฉากกับหน้าผากตัวเอง แล้วก็กางมือทั้งสองข้างออก…

อ่าน The Best Diving Day at Samaesan 4 July 2010

เกาะสาก University

แต่ก่อน ก่อนฉันได้มาดำน้ำที่นี่ ไดฟ์ไซต์นี้เรียกกันเฉยๆ ว่า เกาะสาก หากแต่เมื่อครั้งที่ฉันได้มาฝึกไดฟ์มาสเตอร์โดยต้องมาดูแลกลุ่มนักดำน้ำ Open Water กลุ่มใหญ่ ฉันจึงให้ชื่อไดฟ์ไซต์นี้ว่า เกาะสาก University เพราะหากนับจำนวนนักดำน้ำที่มา certify ที่นี่ ฉันว่าคงจะนับได้เป็นเลข 4 หลักต่อปี

อ่าน เกาะสาก University

28-29 November 2009 : My 2 Most Memorable Tec Diving Log

วันนี้เป็นวันที่ฉันได้นัดกลุ่มทีม Tec มาดำน้ำด้วยกันอีกครั้งหลังจากทุกคนได้ทำการสอบ Tec จบไปแล้วเมื่อสามเดือนที่แล้ว ได้ชื่อว่าเป็น Tec Divers ที่ไม่ใช่แค่ชื่อที่ทำให้ดำน้ำลึกได้ แต่ที่สามารถวางแผนดำน้ำได้อย่างละเอียดตามที่ได้เรียนมาเพื่อความปลอดภัยของตัวเองและทีม “ครูดำ ไปดำน้ำ Tec ด้วยกันอาทิตย์นี้นะ ว่างป่าว” ถามไปก็คิดอยู่ในใจว่า ถ้าชวนเที่ยว theque คงตอบได้เร็วอย่างไม่ต้องคิด “เดี๋ยวเช็ค Visa ก่อน” ก็เป็นคำตอบแบบนี้ทุกครั้งที่ถาม ส่วนฉันได้แต่บอกแม่ (คุณ) ด้วยเสียงเบาๆ พอได้ยินว่า “อาทิตย์นี้ไปดำน้ำนะ” แค่เนี้ยะก็พอ คนต่อมา “พี่โต้ง ดำน้ำเสาร์-อาทิตย์นะ ไปได้ป่าว” หลังๆ นี้ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า คนโสดอย่างพี่โต้งทำไมต้องขอ Visa ด้วย บอกว่าดำน้ำวันเดียวได้ แต่สองวัน Visa ไม่ผ่าน ครั้งนี้หลังจาก 3 เดือนผ่านไป พี่โต้งไม่อิดออด บอกว่า “ได้” คำเดียวสั้นๆได้ใจความ “เจอกันที่เก่าเวลาเดิม” “อืม” พี่โต้งตอบ เมื่อคนพร้อม สิ่งที่ต้องจัดการต่อมาคือ ถังอากาศ Deco ซึ่งเอาไปไว้ที่ร้านให้อัด Oxygen ไว้ 80% ตั้งแต่ 3 เดือนที่แล้วเหมือนกัน ไม่ได้ดำน้ำ Tec ก็ไม่ได้แวะเวียนไปเอามาเลย จนคนอัดอากาศลืมไปแล้วเหมือนกัน โชคดีไปว่า ถังอากาศยังอยู่ อากาศยังอยู่ครบ และทีม Tec เราก็พร้อมเดินทางสู่แสมสาร หากเป็นนักดำน้ำที่ดำน้ำที่แสมสารอยู่เป็นประจำ ทุกคนจะรู้กันว่า ที่แสมสารมีหลุมกระทะลึกสุดถึง 70 เมตร ซึ่งความลึกนี้หาไม่ได้ง่ายๆ ในอ่าวไทย หลุมนี้ไม่ใช่ “รู” แต่เป็นหลุมใหญ่เหมือนกะทะทองแดงใหญ่ๆ ที่นี่คือที่ที่ส่วนมากนักดำน้ำ Technical ใช้ฝึกเพื่อหาความลึก เพื่อให้ทำการฝึกให้ตรงกับจุดประสงค์ หากแต่ที่นี่ไม่ได้ดำน้ำได้ง่ายๆ เหมือนกัน ที่ความลึก 40 เมตร ปากหลุม มักจะมีกระแสน้ำวน ตัวฉันเองเคยเจอบ้างตอนฝึก ที่เคยพบ มันไม่ใช่กระแสน้ำที่ดูดลง หากแต่แค่พาตัวเราไหลวนเป็นวงใหญ่ๆ หากไม่ได้ดูเข็มทิศคงไม่รู้ แต่เพื่อความไม่ประมาท หากไม่ได้เป็นนักดำน้ำที่ได้รับการฝึกฝนและมีทักษะที่ดี ขอแนะนำว่าอย่าไปดำน้ำที่นี่เลย วันนี้อากาศดี มีกัปตันเล็กเป็นคนขับเรือ “เนาวรัตน์” ซึ่งพวกเราทีม Tec ไว้ใจและเชื่อในฝีมือพี่เล็กในการปล่อยเราให้ตรงจุด และรอเก็บเราเมื่อถึงเวลานัดหมาย เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากพวกเราเป็นพวก ดำน้ำอึด (ตามคำของพี่เล็ก) ฉะนั้นอาจถูกลืมและปล่อยทิ้งไว้ที่นั้นได้ บนเรือเนาวรัตน์ยังมีครูเบิ้ม ครูที่สอนพวกเราดำน้ำแบบ Technical ซึ่งในวันนี้ครูไม่สามารถลงไปกับเราได้เนื่องจากติดสอน เมื่อเราวางแผนการดำน้ำแบบติดดีคอม (คือต้องอยู่ในน้ำนานกว่า…

อ่าน 28-29 November 2009 : My 2 Most Memorable Tec Diving Log

ต้องเรียนอีกแล้วหรือ?

เรียนไปทำไม? เรียนแล้วได้อะไร? ตอบคำถามนักดำน้ำที่อาจมีคำถามในใจเกี่ยวกับการหลักสูตรวิชามากมายให้เลือกเรียน …​เพราะนักดำน้ำที่ดีคือนักดำน้ำที่ใฝ่รู้

อ่าน ต้องเรียนอีกแล้วหรือ?