สิ่งที่ควรระวังหรือไม่ควรทำ หลังการดำน้ำใหม่ๆ

นักดำน้ำอย่างเราคงจะได้เรียนรู้เรื่องสิ่งที่ควรทำ สิ่งที่ควรเช็คก่อนดำน้ำ และจดจำไว้ได้เป็นอย่างดี แต่เรื่องสิ่งที่ไม่ควรทำหลังดำน้ำ อาจเป็นสิ่งที่เราไม่ค่อยได้ยินใครพูดถึง เราจึงขอใช้โอกาสนี้ เล่าถึงสิ่งที่ไม่ควรทำ หรือควรหลีกเลี่ยงหลังดำน้ำ เพื่อความปลอดภัยของทุกคนกัน การเดินทางโดยเครื่องบิน เรื่องนี้คงเป็นเรื่องที่นักดำน้ำทุกคนรู้อยู่แล้ว เพราะทริปดำน้ำส่วนใหญ่มักจะเดินทางไปด้วยเครื่องบิน สิ่งที่ต้องนึกถึงคือ ‘เวลาพักน้ำ’ ตามกฎดังนี้ หากเราดำน้ำหนึ่งไดฟ์ เราควรพัก 12 ชั่วโมงก่อนขึ้นเครื่องบิน หากเราดำน้ำหลายไดฟ์ในหนึ่งวันหรือดำน้ำหลายวัน ควรพักอย่างน้อย 18 ชั่วโมง พักอย่างน้อย 24 ชั่วโมง หากเราติดดีคอม หากไดฟ์คอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ แนะนำให้พักนานกว่านี้ ก็ควรปฏิบัติตาม หากจำกฎหลายข้อแบบนี้ไม่ไหว อาจใช้กฎพื้นฐานก็ได้ คือ เราควรพัก 24 ชั่วโมงก่อนเดินทางโดยเครื่องบิน เรื่องนี้แม้นักดำน้ำใหม่ซึ่งอาจยังไม่แม่นยำ ไม่ทันระวังมากนัก แต่ร้านดำน้ำหรือครูดำน้ำก็มักจะจัดและตรวจสอบแผนการเดินทางให้กับนักดำน้ำที่มาร่วมทริปอยู่แล้ว ที่ผ่านมาจึงแทบไม่พบเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความผิดพลาดในเรื่องนี้ การปีนเขา การทำกิจกรรมบนที่สูง เรื่องนี้มีเหตุผลเช่นเดียวกับการขึ้นเครื่องบิน คือเมื่อขึ้นที่สูงมากหลังการดำน้ำใหม่ๆ ก๊าซไนโตรเจนที่ยังหลงเหลืออยู่ในร่างกายของเรา อาจนำไปสู่ decompression sickness (DCS) ได้ แม้ที่ความสูงไม่เท่ากับระดับเพดานบินปกติของเครื่องบินโดยสารทั่วไปก็ตาม (ความสูงที่ใช้ในการวิจัยเรื่องนี้อยู่ที่ประมาณ 600-2,400 เมตร) นอกจากการปีนเขาแล้ว กิจกรรมผจญภัยหลายประเภทก็มักจะจัดกันในที่สูง เช่น ไต่สะพานเชือกชมธรรมชาติ (canopy walk) บันจี้จัมพ์ (bungee jump) หรือ ซิปไลน์ (zipline) ดังนั้น หากคุณวางแผนท่องเที่ยว ทำกิจกรรมต่างๆ ภายหลังการดำน้ำ ควรอยู่ที่ระดับพื้นราบเดียวกับที่คุณเริ่มดำน้ำ สัก 18-24 ชั่วโมง ก่อนจะเริ่มขึ้นสู่ที่สูงเพื่อทำกิจกรรมอื่นๆ การดื่มหนักหลังดำน้ำทันที โดยปกติการดื่มเครื่องดื่มแลกอฮอล์พูดได้ว่าเป็นการเพิ่มสารพิษเข้าร่างกายอยู่แล้ว แต่สำหรับการดำน้ำแอลกอฮอล์ทำให้ร่างกายของเราสูญเสียน้ำมากขึ้น ซึ่งก็หมายความว่า กระบวนการขับไนโตรเจนออกจากร่างกายจะยิ่งล่าช้ามากขึ้นอีก และเพิ่มโอกาสที่จะทำให้เกิด DCS ได้ง่ายขึ้น หลังดำน้ำ เราควรดื่มน้ำให้มาก และรอให้เวลาผ่านไปหลายชั่วโมง ก่อนที่จะเริ่มดื่มและปาร์ตี้กัน การดำฟรีไดฟ์ เป็นที่ทราบกันดีว่า การดำฟรีไดฟ์ต้องมีการลงสู่ที่ลึกและขึ้นสู่ที่ตื้นในเวลาอันรวดเร็วมาก ดังนั้นหลังการดำน้ำลึกแบบ scuba แล้วควรงดการดำฟรีไดฟ์ต่อเนื่องทันที ด้วยกฎการพักน้ำแบบเดียวกับการงดเดินทางด้วยเครื่องบิน นั่นคือ หากเราดำน้ำหนึ่งไดฟ์ เราควรพัก 12 ชั่วโมงก่อนดำฟรีไดฟ์ หากเราดำน้ำหลายไดฟ์ในหนึ่งวันหรือดำน้ำหลายวัน ควรพักอย่างน้อย 18 ชั่วโมง พักอย่างน้อย 24 ชั่วโมง หากเราติดดีคอม หากไดฟ์คอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ แนะนำให้พักนานกว่านี้ ก็ควรปฏิบัติตาม การแช่น้ำร้อน น้ำอุ่น หรือซาวน่า ตอนที่เรานอนแช่น้ำร้อนอย่างสบายใจ เราอาจไม่รู้เลยว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้น จะเพิ่มโอกาสที่จะเกิดฟองก๊าซไนโตรเจนขึ้นในร่างกายด้วย และแม้ความร้อนก็ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตด้วย ซึ่งน่าจะช่วยระบายก๊าซไนโตรเจนจากร่างกายได้เร็วขึ้น แต่ที่จริงแล้วความร้อนแบบนี้ส่งผลต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อมากกว่าระบบไหลเวียนโลหิต จึงเพิ่มโอกาสการเกิด…

อ่าน สิ่งที่ควรระวังหรือไม่ควรทำ หลังการดำน้ำใหม่ๆ
Diving with shark - FreedomDive - 001

NDL เธอเหลือเท่าไร?

ในคลิป มีฉลามชื่ออะไรบ้างลองเดากันดูครับ แต่ที่อยากเล่า คือประสบการณ์ในการเช็ค NDL จำได้เลยตอนถ่ายคลิปนี้ ดำอยู่ที่ 20 กว่าเมตร กำลังเกี่ยวฮุกอยู่ พอมอง NDL ผมเหลือ 5

อ่าน NDL เธอเหลือเท่าไร?
Boots and Fins - Keng Krob - 001

การเลือกซื้อบูทกับฟิน

มีน้องมาถามว่า พี่ หนูไปซื้อบูทมา จะซื้อฟินอะไรดี
ผมเลยตอบไปว่า เดี๋ยวว่างๆ จะเขียนเรื่องนี้และก็ว่างแล้ว 555
“บูทกับฟิน เพราะเราคู่กัน”
คำเตือน!!!! นักดำน้ำมือใหม่ใจเย็นๆ อย่าเพิ่งรีบซื้อบูทก่อนฟิน

อ่าน การเลือกซื้อบูทกับฟิน
Depth and pressure - Keng Krob - 001

ทำไมดำน้ำลึกๆ ดำง่ายกว่าดำตื้นๆ และที่มาของ Safety Stop

เมื่อวานมีโอกาสอธิบายให้เพื่อนที่เป็นอาจารย์คณะวิศวะ ที่เพิ่งได้บัตรดำน้ำมาฟัง เรื่องที่ว่าทำไมลึกๆ แล้วเคลียร์หูง่าย ลองดูรูป แล้วอ่านดูครับ

อ่าน ทำไมดำน้ำลึกๆ ดำง่ายกว่าดำตื้นๆ และที่มาของ Safety Stop
Coral - FreedomDIVE - 002

เคลียร์หูพลาดอาจโดนใบแดง

ผมมีเรื่องที่เกิดกับตัวเองมาเล่าให้ฟังครับ ในฐานะนักดำน้ำมือใหม่ เราคงต้องเคยพลาดในการเคลียร์หู (Ear Equalization) บ้างไม่ครั้งก็ 2 ครั้ง

ท้ายบทความนี้จะมีวิธีการเคลียร์หูด้วยวิธีต่างๆ

อ่าน เคลียร์หูพลาดอาจโดนใบแดง
Tray - Keng Krob - 001

Tray คืออะไร แล้วมีไว้ทำไม

เวลาเราดำน้ำไปสักพัก เราก็เริ่มอยากจะถ่ายรูป ถ่ายคลิปวีดิโอใต้น้ำ เราก็จะเริ่มหากล้องเอามาติดมือไว้ ไม่ว่าจะเป็น GoPro หรือ Olympus และเค้ามักจะให้สายคล้องข้อมือแถมมาด้วย

อ่าน Tray คืออะไร แล้วมีไว้ทำไม
Advanced Open Water - Keng Krob - 002

เรียน Advanced Open Water ที่ไหนดี?

การเรียน Advanced จะช่วยให้มือใหม่ได้มีประสบการณ์และทักษะที่มากกว่า มีวิธีการเลือกเรียนที่สะดวกตามสถานการณ์ได้แก่การเรียนบนเรือ liveaboard, ที่สอบเฉพาะที่ไดฟ์เซ็นเตอร์ หรือการเรียนที่ไดฟ์เซ็นเตอร์พร้อมทริป fun dive เนื้อหาการเรียนเน้นการฝึกทักษะและประสบการณ์ที่ความลึกมากกว่า 18 เมตร รวมถึงการฝึกในสถานการณ์ที่หลากหลาย เช่น Night Dive และ Deep Dive

อ่าน เรียน Advanced Open Water ที่ไหนดี?

ข้อผิดพลาด 10 อย่างของนักดำน้ำมือใหม่ (และมือเก่าในบางครั้ง)

เชื่อว่าเพื่อนๆ นักดำน้ำมือใหม่หลายคนเคยพบกับประสบการณ์นี้ อีกหลายคนอาจยังไม่เคย สิ่งเหล่านี้จะช่วยไม่ให้เราตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากและดำน้ำได้สนุกสนานมากขึ้นครับ

อ่าน ข้อผิดพลาด 10 อย่างของนักดำน้ำมือใหม่ (และมือเก่าในบางครั้ง)
Diving with Turtle - FreedomDive - 001

พี่ครับ มีไฟฉายให้ผมยืมไหม

เรื่องของการยืมอุปกรณ์ดำน้ำและความพึงพอใจของทั้งคนยืมและคนให้ยืม โดยการยืมอุปกรณ์ส่วนตัวเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยเกิดขึ้น เนื่องจากมีความเสี่ยงและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น การเสียหาย การหายไป และปัญหาในการใช้งานอุปกรณ์ ดังนั้นการเสนอให้คนดำน้ำซื้ออุปกรณ์ส่วนตัวเพื่อความสะดวกสบายและปลอดภัยย่อมมีความสำคัญ

อ่าน พี่ครับ มีไฟฉายให้ผมยืมไหม