การดำน้ำกลางคืน (Night Dive)

หากท่านเป็นคนที่ดำน้ำเฉพาะเวลากลางวัน ท่านต้องรู้ตัวว่าได้ขาดอะไรไปหลายอย่าง สำหรับการดำน้ำทีเดียว สัตว์ทะเลหลายชนิดแอบซ่อนตัวอยู่ในเวลากลางวันและจะออกมาหากินในเวลากลางคืนเท่านั้น บางครั้งเวลาไปดำน้ำกลางคืนก็เคยพบเห็นสัตว์ที่ไม่ค่อยเห็นกลางวัน

อ่าน การดำน้ำกลางคืน (Night Dive)

ดำน้ำลึก (Deep Diving) ยังไงดี

เมื่อต้องดำน้ำลึกมากขึ้น มากกว่า 18 เมตรขึ้นไป มีขั้นตอนปฏิบัติอะไรที่นักดำน้ำควรทราบและปฏิบัติตาม เพื่อความปลอดภัยในการดำน้ำลึกบ้าง

อ่าน ดำน้ำลึก (Deep Diving) ยังไงดี

การขึ้นสู่ผิวน้ำอย่างปลอดภัย

การขึ้นสู่ผิวน้ำ เมื่อเราจะจบการดำน้ำในแต่ละไดฟ์นั้น เป็นเรื่องที่สำคัญมาก อาจจะเรียกได้ว่า เป็นเรื่องสำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งในการดำน้ำก็ว่าได้ เนื่องจากอันตรายที่หากจะมีจากการดำน้ำ มักจะเกิดขึ้นขณะขึ้นจากความลึกสู่ความตื้นมากกว่า

อ่าน การขึ้นสู่ผิวน้ำอย่างปลอดภัย

วิธีการคุมการจมลอย: การเติมลมและปล่อยลมจาก BCD

เพื่อนๆ เวลาดำน้ำคงต้องการที่จะปรับตัวให้เป็นกลางตลอดเวลาใช่ไหมล่ะครับ (ยกเว้นเวลาลอยตัวบนผิวน้ำและเวลาจะดำลง) เพื่อจะได้ไม่เหนื่อยเกินไป และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมใต้น้ำ เคยเห็นเพื่อนๆ นักดำน้ำหลายคนต้องใช้เวลามาก และประสบกับความลำบากเวลาปรับการจมลอย หากท่านเป็นคนหนึ่งในนั้น ลองทำตามนี้ดูนะครับ เวลาดำน้ำลงไป ให้พยายามปรับการจมลอยตลอดเวลา อย่าปล่อยให้ตัวจมดิ่งลงไปเหมือนกับก้อนหิน วิธีนี้จะทำให้เราเป็นกลางจนกระทั่งถึงความลึกที่หมาย และปรับให้เป็นกลางง่ายขึ้นครับ การปรับการจมลอยตลอดเวลานั้น ก็หมายความว่าตั้งแต่ศีรษะมุดน้ำลงไปเลยนะครับ ฉะนั้น เราจะไปปล่อยลมออกจนหมด BCD นั้นไม่ได้ ต้องค่อยๆ ปล่อย แล้วก็พยายามหายใจออกยาวๆ ตัวเราจะจมช้ามากครับ บางครั้งถึงขนาดเวลาหายใจเข้าแรงๆ หรือยาวๆ ตัวก็จะกลับลอยขึ้นมาอีก พยายามฝึกบ่อยๆ ทุกครั้งที่ดำลงก็จะชำนาญมากขึ้นครับ ครั้นพอตัวลงไปได้สักนิดหนึ่งแล้ว แรงกดดันของน้ำจะทำให้ตัวเราจมลงง่ายกว่าเดิม จนกระทั่งอาจจะจมเกินไป ตอนนี้ก็ต้องเติมลมเข้า BCD ทีละนิดเช่นกันครับ เติมลมแล้ว ลองหายใจเข้าดูซิ ว่าเราสามารถหยุดอยู่กับที่ ไม่จมไม่ลอยได้หรือไม่ แล้วจึงค่อยๆ หายใจออกยาวๆ ต่อครับ เวลาดำน้ำ หากจะปรับการจมลอย ก็ให้เติมลม หรือปล่อยลมออกทีละนิด ช่วงแรกๆ อาจจะต้องหันหน้าไปดูปริมาณลมที่ปล่อยออกด้วยนะครับ เคยเห็นนักดำน้ำหลายคนปล่อยลมออกมากเกินไป เพราะนึกว่ากดนิดเดียวมันคงไม่ออกไปเยอะ เมื่อเราหันไปดูปริมาณอากาศบ่อยๆ เข้า เราก็จะรู้เองว่ากดขนาดไหน ลมออกเท่าไร ต่อไปก็ไม่ต้องหันไปดูแล้ว จนกว่าจะเปลี่ยนอุปกรณ์ดำน้ำใหม่ เวลาปล่อยลมออก เคยเห็นนักดำน้ำหลายคนพยายามปล่อยลมออกจากท่อขณะที่ตัวอยู่ในแนวขนาน ทำอย่างนั้นกดเท่าไรลมก็ไม่ออกนะครับ เพราะลมจะไปอยู่ในส่วนบน (กลางหลังของนักดำน้ำที่ทำตัวขนาน) ของ BCD หมด หากจะปล่อยลมให้มีประสิทธิภาพ ต้องทำตัวตั้งขึ้นตรงๆ ครับ หากกลัวว่าทำตัวตั้งตรงแล้วจะลอยขึ้น ก็ให้ปักศีรษะดำดิ่งลงไปสักนิดหนึ่งก่อน แล้วค่อยงัดศีรษะขึ้นตั้งตรงครับ การปล่อยหรือเติมลมทีละนิดนี่ ต้องทดสอบด้วยการหายใจด้วยนะครับ ว่าปล่อยหรือเติมพอดีหรือยัง เช่น หากเราตัวจมเกินไป เราก็ต้องเติมลมเข้า BCD นิดหนึ่ง แล้วจึงหายใจเข้ายาวๆ ดูซิว่าเราหยุดจมไหม หากยังจมอยู่ ก็ให้เติมเข้าไปอีกนิดหนึ่ง แล้วหายใจเข้ายาวๆ ใหม่ จนกว่าตัวจะหยุดอยู่กับที่นั่นแหละครับ ในทางตรงกันข้าม หากตัวเราลอยเกินไป เราก็ต้องปล่อยลมออกจาก BCD ปล่อยแล้วลองหายใจออกยาวๆ ดูซิว่าเราหยุดลอยหรือไม่ก่อนนะครับ หากไม่หยุดลอยค่อยเติมลมเข้าอีกนิดหนึ่ง การปรับด้วยการเติมและปล่อยลมนี่ จำเป็นต้องรอเวลาสักชั่วขณะหนึ่งนะครับ เวลาเราปล่อยลมแล้วนี่ ตัวเราจะไม่จม (หรือหยุดลอย) ทันที คนที่ไม่มีประสบการณ์อาจจะปล่อยลมอีก เพราะนึกว่ายังปล่อยไม่พอ ทำให้ตัวจมเกินไป หรือเวลาเติมลม ตัวเราก็จะไม่ลอยทันที (หรือหยุดจม) เหมือนกัน คนที่ไม่รู้ก็อาจจะเติมลมอีก เพราะนึกว่าลมเข้าไม่พอ ทำให้ตัวลอยอีก เคยเห็นนักดำน้ำเติมลม ปล่อยลม สลับกันไปอย่างนี้ตลอดเวลา น่าเหนื่อยแทนครับ แถมสงสัยว่าอากาศ 3000 psi นี่น่าจะใช้หายใจจริงๆ แค่ 500 psi…

อ่าน วิธีการคุมการจมลอย: การเติมลมและปล่อยลมจาก BCD

ก่อนลงดำน้ำ

ในการดำน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่ที่มีความลึก หรือในสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่ท้าทายกว่าสภาพปกติ การเตรียมพร้อมก่อนการลงน้ำเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากสำหรับความปลอดภัย และความสนุกสนานในการดำน้ำครั้งนั้น สิ่งที่น่าคำนึงถึงสำหรับการเตรียมพร้อมก่อนลงน้ำน่าจะมีดังต่อไปนี้ครับ ให้ทำการตรวจสอบบัดดี้ก่อนลงน้ำ (Buddy Check/Predive Check) อย่างละเอียด ให้ความสำคัญกับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับอากาศเป็นพิเศษ เช่น ตรวจสอบให้แน่ใจว่า อากาศในถังมีอยู่เต็มถึงแม้ว่าจะเห็นว่ามีอยู่เต็มก่อนที่จะตรวจสอบแล้วก็ตามที ก่อนลงน้ำต้องตรวจสอบอีกนะครับ บางที ถังหรือสายต่างๆ อาจจะรั่วโดยที่เราไม่รู้ขณะที่วางชุดดำน้ำที่ประกอบเสร็จแล้วไว้ ช่วงรอการดำน้ำไดฟ์ต่อไปก็ได้ สิ่งสำคัญอีกอย่างที่เรามักละเลยก็คือ แหล่งอากาศสำรอง (alternate air source) หรือ octopus ของเรานั่นแหละครับ ตรวจสอบให้ดีนะครับว่ามันยังทำงานได้ดีอยู่ บางครั้งเราเห็นว่ามี octopus แต่ไม่ได้ให้ความสนใจกับมันเป็นเวลานานๆ มันอาจจะเสียไปแล้วโดยที่เราไม่รู้ก็ได้ครับ นอกจากนั้น ตรวจสอบให้ดีนะครับว่าวาล์วเปิดอย่างเต็มที่แล้ว วาล์วที่เปิดไม่สุดนั้นอาจจะทำงานได้เป็นอย่างดีในน้ำตื้น แต่พอลงไปลึกแล้วอาจจะจ่ายอากาศไม่เพียงพอได้ ในกรณีนี้ สิ่งที่เราจะสังเกตเห็นได้ก็คือ เข็มของมาตรวัดแรงดันอากาศของเราจะแกว่งขึ้นลงในช่วงที่เราหายใจเข้าให้เห็นได้อย่างเด่นชัด แสดงว่าวาล์วเปิดไม่สุดครับ หลังจากนั้น ก็เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม ที่เราจะได้ใช้วิชาจิตวิทยาให้เป็นประโยชน์แก่เรา ในการดำน้ำไดฟ์นั้นนะครับ วิธีการทบทวนในใจ (Mental Rehearsal) หรือการจินตภาพ (Imagery) เป็นเทคนิคที่ดีมาก สำหรับใช้ก่อนการแสดงความสามารถทุกชนิดรวมถึงการดำน้ำด้วยครับ ให้เริ่มด้วยการหลับตาลง หายใจลึกๆ ช้าๆ ผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ ในขณะนั้นให้ได้เสียก่อน จากนั้นให้นึกภาพของการดำน้ำไดฟ์ที่จะถึงนั้นในใจให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากสามารถฝึกจนรู้สึกด้วยประสาทสัมผัสทั้งหมด คือรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และการรับรู้การเคลื่อนไหวได้ด้วยก็จะยิ่งดี ให้จินตนาการว่าตัวเราและบัดดี้ทำการดำน้ำตามแผนที่วางไว้ ให้เห็นภาพและรู้สึกทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่มดำลงไปจนขึ้นมาสู่ผิวน้ำ เทคนิคเหล่านี้อาจจะฟังดูเหมือนเรื่องไม่เป็นเรื่อง แต่จากการศึกษาวิจัยทางจิตวิทยาการกีฬา ก็ได้ค้นพบและมีหลักฐานยืนยันว่ามันได้ผล ทำให้ความสามารถดีขึ้นจริงๆ ครับ การจินตภาพหรือการทบทวนทักษะในใจจึงเป็นเทคนิคที่นักกีฬาระดับโลกเกือบหรือทุกคนใช้ทำก่อนการแข่งขันเสมอ Divemaster ที่สามารถและมีความรู้เรื่องจิตวิทยาบางคน ก็อาจจะทำให้นักดำน้ำได้ทำการจินตนาการภาพดังกล่าวได้โดยไม่รู้ตัว จากวิธีการบรรยายสรุปก่อนการลงน้ำ (Predive Briefing) ด้วยการบรรยายจนเห็นภาพและรับรู้ทุกขั้นตอนของการดำน้ำไดฟ์นั้นครบ สุดท้าย สิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอย่างมากก่อนการดำน้ำก็คือ ต้องไม่ให้ใครมาเร่งให้เราลงน้ำ และต้องไม่เร่งตัวเองให้รีบลงน้ำหากเรายังไม่พร้อมด้วยนะครับ เพราะการรีบเร่งลงน้ำ ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม มักทำให้เกิดความผิดพลาดเสมอ เราต้องต่อต้านแรงกดดันจากกลุ่มหรือแม้กระทั่ง Divemaster และกัปตันเรือ ที่จะเร่งให้เราลงน้ำนะครับ เพราะตัวเราเท่านั้นที่จะเป็นผู้รับผิดชอบ และรับผลที่จะเกิดขึ้นครับ เขียนโดย ดร. พิชิต เมืองนาโพธิ์ เผยแพร่ครั้งแรก ก่อน 2 ต.ค. 2550

อ่าน ก่อนลงดำน้ำ

ทำไมจึงไม่ควรเอาหน้ากากดำน้ำไว้บนหน้าผาก

คำตอบสำหรับคำถามนี้ เป็นสิ่งที่ผู้สอนดำน้ำจำนวนมากบอกนักเรียนว่าไม่ควรทำ มาเป็นเวลายาวนาน แต่ในขณะเดียวกัน ก็พบว่านักดำน้ำจำนวนมากขึ้นที่ลงน้ำโดยมีหน้ากากวางไว้บนหน้าผาก และดูเหมือนว่าในปัจจุบัน นักดำน้ำที่เอาหน้ากากไว้บนหน้าผากจะมีจำนวนมากกว่าเดิม เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าด้วยซ้ำไป อันที่จริง ภาพต่างๆ ในนิตยสาร โฆษณา ฯลฯ ก็จะมีนายแบบนางแบบที่มีหน้ากากอยู่บนหน้าผากด้วย เรื่องที่ผู้สอนดำน้ำพยายามจะสอนนักเรียนดำน้ำว่า ไม่ควรเอาหน้ากากไว้บนหน้าผาก จึงดูเลือนรางเต็มทน เมื่อนักเรียนเป็นนักดำน้ำเต็มตัว เมื่อเรามาดูความเป็นจริงนั้น นักดำน้ำที่กำลังเดินบนชายหาดโดยมีหน้ากากอยู่บนหน้าผากนั้น ก็ไม่ได้แปลว่าเขากำลังตกใจหรือกำลังประสบปัญหา เช่นเดียวกันกับนักดำน้ำที่เอาหน้ากากไว้บนหน้าผากขณะขึ้นมาบนเรือ เวลาที่ผู้สอนดำน้ำจะบอกกับนักเรียนดำน้ำ ก็จึงควรจะบอกให้ชัดเจนกว่าเดิมว่า “ไม่ควรเอาหน้ากากไว้บนหน้าผากขณะที่อยู่บนผิวน้ำ เพราะการทำเช่นนั้น เป็นสิ่งบ่งชี้ว่านักดำน้ำกำลังมีปัญหา” เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ เมื่อนักดำน้ำกำลังประสบปัญหา เครียด หรือตื่นตกใจ เขาจะลืมทุกอย่างและใช้สัญชาตญาณแทน การใส่หน้ากากและมีเร็กฯ อยู่ในปากนั้นเป็นเรื่องไม่เป็นธรรมชาติ โดยทั่วไปนักดำน้ำที่มีปัญหาหรือตื่นตกใจอย่างมาก เมื่อขึ้นมาถึงผิวน้ำ พวกเขาจึงถอดหน้ากากออกและคายเร็กฯ จากปากทันที การมีหน้ากากอยู่บนหน้าผากนั้น จึงอาจจะเป็นสิ่งบ่งชี้ว่านักดำน้ำผู้นั้นไม่ได้ทำตามที่ถูกสอนมา อย่างไรก็ดีการเอาหน้ากากไว้บนหน้าผากด้วยอาการปกตินั้น อาจจะไม่ใช่สิ่งบ่งชี้ว่า คนนั้นกำลังตกใจ เพราะคนที่ตกใจจริงๆ น่าจะถอดหน้ากากทิ้งเลยมากกว่า การตัดสินใจว่านักดำน้ำผู้นั้นกำลังประสบกับปัญหาหรือไม่นั้น จึงควรดูอาการอื่นๆ เช่น แขนขา การดิ้นรน ฯลฯ ด้วย เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่าการให้เหตุผลว่า หน้ากากบนหน้าผากเป็นสัญญาณของการประสบปัญหาหรือตื่นตกใจ จะเป็นเหตุผลที่มีน้ำหนักน้อย แต่ก็ยังมีเหตุผลที่มีน้ำหนักมากอีกสองอย่าง ที่ไม่ควรเอาหน้ากากไว้บนหน้าผาก นั่นก็คือ การที่หน้ากากจะหลุดหายได้ง่าย และการที่หน้ากากจะเป็นฝ้าได้ง่ายขึ้นหากวางไว้บนหน้าผากเป็นเวลานาน ซึ่งทั้งสองเหตุผลนี้ สามารถยืนยันความน่าเชื่อถือได้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เอาหน้ากากไว้ที่ไหนดี นักดำน้ำจำนวนมากก็อาจจะสงสัยว่า ถ้าอย่างนั้นจะเอาหน้ากากไว้ที่ไหนดีล่ะ ก่อนการดำน้ำ เราไม่ควรใส่หน้ากากไว้บนใบหน้านานเกินไป เพราะจะทำให้หน้ากากเป็นฝ้าได้ง่าย เช่นเดียวกันกับการวางไว้บนหน้าผากหรือหมุนไปไว้ที่ท้ายทอย ที่ที่ปลอดภัยที่สุดน่าจะเป็นคล้องไว้รอบคอของเรา เนื่องจากหน้ากากจะไม่หาย และสามารถนำมาใส่ได้โดยสะดวกก่อนจะลงน้ำ ส่วนเมื่อเวลาที่เราขึ้นจากน้ำมาแล้ว วิธีที่ดีที่สุดคือ ใส่มันไว้บนใบหน้าเราจนขึ้นมาบนเรือ พร้อมที่จะถอดอุปกรณ์ต่างๆ ออกแล้ว นักดำน้ำได้ใส่หน้ากากดำน้ำจนจบไดฟ์ ก็น่าจะทนใส่ต่อไปได้อีกสองสามนาทีโดยไม่มีปัญหาใดๆ การใส่หน้ากากไว้บนหน้าตั้งแต่เริ่มลงน้ำจนกระทั่งกลับขึ้นมาบนเรือหรือฝั่ง พร้อมที่จะถอดอุปกรณ์อื่นๆ แล้วจึงค่อยถอดหน้ากากออกจากหน้านั้น ทำให้แน่ใจได้ว่า หน้ากากดำน้ำของเราจะไม่สูญหายหรือเสียหายครับ เขียนโดย ดร. พิชิต เมืองนาโพธิ์ ข้อมูลจาก นิตยสาร Dive Training: October, 2006 เผยแพร่ครั้งแรก 5 ธ.ค. 2549

อ่าน ทำไมจึงไม่ควรเอาหน้ากากดำน้ำไว้บนหน้าผาก