Deep Stop: ความสำคัญในการทำการพักน้ำที่ความลึกหลายๆ ขั้น

ขอเริ่มต้นกล่าวถึงผู้เขียน นาย Richard L. Pyle ก่อนว่า เขาเป็นนักวิจัยปลา ต้องลงไปเก็บตัวอย่างปลาที่ความลึกต่างๆ ลึกสุดก็ช่วง 180-220 ฟุตหรือประมาณ 36-66 เมตร ลงบ่อยจนนับจำนวนไดฟ์ไม่ถ้วนแล้ว และเริ่มสังเกตถึงอาการป่วยเหมือนๆ กันที่เกิดหลังดำน้ำ คือหลังจากไดฟ์ก็จะเริ่มรู้สึกเหนื่อยหรือคลื่นเหียนวิงเวียนศีรษะ

อ่าน Deep Stop: ความสำคัญในการทำการพักน้ำที่ความลึกหลายๆ ขั้น

เรียน Freediving ตอนที่ 3

วันรุ่งขึ้นก็ตื่นแต่เช้า ทำการฝึกหายใจและเหยียดยืดกล้ามเนื้อตามที่ครูสอนมา ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงเห็นจะได้ ที่สามารถทำได้ก็เพราะครูสั่งห้ามไม่ให้ไปวิ่งตอนเช้าตามปกติที่ผมทำ เพราะมันจะมีผลกับการดำน้ำ ทำให้เราไม่เข้ากับน้ำเท่าที่ควร

อ่าน เรียน Freediving ตอนที่ 3

เรียน Freediving ตอนที่ 2

หลังจากทำการเตรียมตัวพร้อมทั้งอธิบายเรื่องความปลอดภัยต่างๆ พอสมควร ครูก็ให้ลงน้ำตรงชายหาดนั่นเลยครับ ก่อนลงครูก็ไปจัดสถานที่โดยการเอาเชือกยาวประมาณ 25 เมตรไปขึงไว้ใต้น้ำ โดยมีทุ่นตะกั่วถ่วงให้เชือกอยู่ใต้น้ำ อีกด้านหนึ่งจะมีเชือกและทุ่นลอยให้จับ ช่วงแรกเราก็ทำการเรียนกันตรงทุ่นลอยนั่นแหละครับ

อ่าน เรียน Freediving ตอนที่ 2

เรียน Freediving ตอนที่ 1

เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้มีโอกาสไปเรียนฟรีไดวิ่งมาครับ สนุก ตื่นเต้น และน่าสนใจ จนอดที่จะเอามาเล่าให้เพื่อนๆ นักดำน้ำแบบสกูบ้าได้รับทราบกันไม่ไหวเลย อันที่จริง ผมก็ฟรีไดวิ่งมาก่อนที่จะมาดำน้ำแบบสกูบ้านี่อีกนะครับ แต่เป็นไปในลักษณะที่เขาเรียกกันว่า ฟรีไดวิ่งลูกทุ่ง น่ะครับ คือไม่รู้อะไรเลย ไม่มีเงินเลย มีหน้ากากกับฟิน (บวกฉมวกยิงปลาอีกอันหนึ่ง) ก็ดำมันไปเรื่อยเวลาไปเที่ยวตามเกาะแก่งต่างๆ หากหาปลาไม่ได้ก็อด อันนี้ ประมาณสามสิบปีที่ผ่านมาเห็นจะได้นะครับ ความที่ชอบกีฬาทางน้ำ ฟรีไดวิ่งก็เลยเป็นอะไรที่อยากจะทำให้ได้ดี แต่ในขณะนั้นก็คิดว่าคงทำได้แค่นั้น ความสามารถของเราคงไม่ถึงที่จะพัฒนาให้ทำได้มากกว่าที่ทำได้อยู่ บวกกับในสมัยนั้น การดำน้ำก็เป็นอะไรที่มากเกินกว่าฐานะ (ต่อให้เป็นการดำแบบฟรีไดวิ่งก็เถอะ) เลยไปแข่งว่ายน้ำดีกว่าครับ ไม่นานมานี้เอง ได้ข่าวจากเพื่อนว่ามีผู้สอนฟรีไดวิ่งจากประเทศฝรั่งเศสจะมาเปิดสอนในประเทศไทยเป็นเวลาประมาณหกเดือน ในหลักสูตรของ AIDA ซึ่งเป็นสถาบันฟรีไดวิ่งชั้นนำของโลก ทำการสอนที่เกาะลันตา ก็เลยรีบติดต่อไปครับ ครั้งแรกก็กังวลนะว่าครูจะสื่อสารกับเราได้หรือเปล่า สังขารของเราจะไหวหรือเปล่า จะหนีงานไปเรียนได้ยังไง ฯลฯ แต่ความอยากมันมีมากกว่าอุปสรรคครับ ก็เลยพยายามไปเรียนจนได้ ลางานไป เพื่อนร่วมงานก็รู้สึกตลกขบขัน (ปนสมเพช) นะครับ ว่าแก่ขนาดนี้แล้วยังจะซ่าอีก แต่พอดีการเรียนต่อเรื่องกีฬาทุกชนิด มันเป็นวิชาชีพ (เพราะเป็นครูสอนพละ) หัวหน้างานเลยอนุมัติให้ไปได้ ขับรถไปถึงเกาะลันตาตอนบ่ายๆ ครับ ไปนั่งคุยกับครู ดูท่าแล้วครูจะหล่อเกินเหตุไปหน่อย ทำให้รู้สึกสงสัยว่า ไอ้พวกนักฟรีไดวิ่งนี่มันต้องสวยหล่อกันแบบนี้หมด ถึงจะดำได้ดีหรือเปล่าหนอ เพราะเห็นในนิตยสารและรายการต่างๆ ก็เป็นอย่างนั้น หากเป็นเช่นนั้น ประเภทอ้วนล่ำดำแก่แบบผมสงสัยจะไม่มีอนาคต แต่หลังจากคุยกับครูแล้วก็อุ่นใจ แกบอกว่าต่อให้แก่และน่าเกลียดแค่ไหนก็พอจะเอาดีได้ครับ อยากเห็นหน้าครูผม ก็เข้าไปในเว็บนี้แล้วกัน http://www.freedivecentral.com/f-francisco-gautier-2 เสร็จจากการสมัครเรียน ครูก็ให้งานกลับไปทำเลยครับ แกบอกว่าให้กินให้อิ่มและนอนให้มาก พรุ่งนี้เช้ามาเรียนกันที่ชายหาด ดูแล้วงานก็ง่ายพอสมควรนะครับ ผมก็ไปหาที่พักเพราะไปแบบไม่ได้ติดต่ออะไรเลย ก็หาโรงแรมริมถนนนอนครับ ง่ายๆ สบายดี รุ่งเช้าก็ไปพบกับครู ทางร้านก็ขับรถไปที่ชายหาดอีกด้านหนึ่ง สวยมาก แต่จำชื่อไม่ได้แล้วครับว่าหาดอะไร เริ่มแรกก็เรียนเรื่องการเตรียมพร้อมร่างกายกันเลย ถึงก็เรียนเรื่องการเหยียดยืดกล้ามเนื้อ โยคะเล็กน้อย โดยเฉพาะเรื่องการเหยียดกล้ามเนื้อส่วนที่เป็นช่วงอกเพื่อให้ปอดสามารถขยายตัวได้มากขึ้น จากนั้นก็เรียนเรื่องการหายใจ ก็น่าแปลกใจที่เทคนิคการทำ Hyperventilation แบบที่เรียนมาในหลักสูตรการดำน้ำแบบสกูบ้านั้น นำมาใช้กับฟรีไดวิ่งไม่ได้เด็ดขาด เพราะอาจจะตายไม่รู้ตัว การหายใจแบบนักฟรีไดวิ่งจริงๆ นั้น ต้องใช้วิธีการเอาอากาศเข้าไปให้มากที่สุด และใช้พลังงานอย่างประหยัดที่สุด มากกว่าที่จะหลอกระบบของร่างกายว่ามีคาร์บอนไดออกไซด์น้อย แล้วจะได้ไม่อยากหายใจแบบการทำไฮเปอร์เวนทิเลชั่นครับ แค่เรื่องแรกนี้ ผมก็รู้สึกแล้วครับว่าโชคดีที่ยอมเสียเงินมาเรียน หากไปดำเล่นเองคงไม่รู้เรื่อง นอกจากนี้ ยังมีเรื่องความปลอดภัยอื่นๆ ที่ครูสอนให้รู้ก่อนอีกหลายจุด ในการเรียนฟรีได้วิ่ง ระดับหนึ่งดาวนี่นะครับ อันดับแรกเลย ก็คือ ไม่ให้ดำน้ำคนเดียวโดยเด็ดขาด ต้องมีบัดดี้ ซึ่งจะดำพร้อมเราก็ไม่ได้ด้วยนะครับ ต้องคนหนึ่งดำลงไป ขณะที่อีกคนอยู่บนผิวน้ำคอยมองดู เพื่อคอยช่วยเหลือหากเกิดอาการหมดสติเนื่องจากระดับความดันโลหิตต่ำ (อันเกิดจาก วิธีการหายใจ และการเลื่อนไหลของเลือดในร่างกายของนักดำ) หรือจาก Shallow Water Blackout (SWB) ครูเน้นเรื่องการจมลอย…

อ่าน เรียน Freediving ตอนที่ 1

Technical Diving ตอนที่ 4

การดำน้ำ Decompression Dive ทักษะเบื้องต้นในการดำน้ำที่เคยเรียนมาแล้ว จะเป็นทักษะที่สำคัญยิ่งขึ้นในการดำน้ำแบบลดแรงกด (Decompression Dive) เช่น การควบคุมการจมลอย มีความสำคัญสำหรับการดำน้ำแบบนี้ เพราะนักดำจะมีปริมาณไนโตรเจนในร่างกายมากจนใกล้จะเกิดฟองอากาศ การขึ้นหรือลงอย่างไม่ได้ตั้งใจเพียงเล็กน้อย อาจจะทำให้เกิดอาการของโรคอันเกิดจากแรงกดดันได้ และการแก้ไขก็จะเสียทั้งเวลาและปริมาณอากาศที่จะใช้หายใจ นอกจากนั้น การดำด้วยถังอากาศหลายใบก็จะมีการเปลี่ยนแปลง ระดับการจมลอยระหว่างถังอากาศที่เต็ม (ทำให้ตัวหนัก) กับถังอากาศที่ใช้แล้ว (ทำให้ตัวเบา) การควบคุมความเร็วในการขึ้น เป็นส่วนสำคัญของการทำ Deco การขึ้นเร็วเกินไปมีผลให้เป็นโรคอันเกิดจากแรงกดดันได้มากเท่ากับการไม่ทำ Decompression Stop ทีเดียว การควบคุมการหายใจ ก็มีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากการหายใจที่ถูกต้องจะประหยัดอากาศ การหายใจถี่กระชั้นนั้นไม่เพียงแต่เปลืองอากาศเท่านั้น แต่จะทำให้การขับไล่ไนโตรเจนจากร่างกายช้าลงไปด้วย รวมทั้งยังเพิ่มระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกาย ซึ่งทำให้เกิดอาการเมาไนโตรเจนได้ง่ายขึ้น และสุดท้าย การหายใจถี่กระชั้นใต้น้ำนั้นจะเหนื่อยมาก ทำให้นักดำน้ำมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาน้อยลง การควบคุมตนเอง มีความจำเป็นมาก เพราะนักดำน้ำที่เผชิญหน้ากับอันตรายร้ายแรง จำเป็นต้องควบคุมอารมณ์และวิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล ทักษะที่จะใช้ต้องถูกเรียนรู้และฝึกฝนมาเป็นอย่างดี นี่คือสาเหตุว่าทำไมนักดำน้ำแบบ Tec จึงจำเป็นต้องมีประสบการณ์ในการดำน้ำแบบ Recreation มาก่อนเป็นจำนวนมาก การระมัดระวังตัวเอง นักดำน้ำที่จะทำ Deco ต้องหมั่นสังเกตตนเองเสมอ โดยเฉพาะในเรื่องความพร้อมของร่างกาย พลังงานที่มี และระดับความวิตกกังวล ทักษะการสื่อสาร ก็สำคัญ เพราะการดำน้ำแบบ Deco นี้มักกระทำเป็นทีม การสื่อสารอาจจะไม่เหมือนเดิม ภายใต้ความกดดันของงานที่มีปริมาณมาก การใช้อุปกรณ์ที่ยุ่งยากกว่าปกติ แผนการดำน้ำที่ซับซ้อนกว่าเดิม หรือการเมาไนโตรเจน ขั้นตอนในการดำ เริ่มจากการวางแผนการดำน้ำ ซึ่งส่วนมากในปัจจุบันจะใช้โปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์ สร้างตารางดำน้ำเฉพาะขึ้นมา โปรแกรมเหล่านี้จะมีการให้ใส่ข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ตั้งแต่รายละเอียดของบุคคลจนถึงแผนการดำน้ำ โดยเฉพาะเรื่องความลึกและเวลา และจะคำนวณ profile การดำน้ำออกมา ให้เป็นรูปของตารางดำน้ำเฉพาะให้นักดำนำไปใช้ เมื่อได้ตารางมาแล้ว นักดำน้ำก็จะทำการดำน้ำตามตารางที่ได้มา โดยมีการกำหนดความลึก/เวลาที่จะใช้ในการดำน้ำ ความลึก/เวลาที่จะทำ Deco ในแต่ละขั้น นักดำน้ำจะดำตามที่ตารางกำหนดมาให้นั้นอย่างเคร่งครัด ทักษะการควบคุมการจมลอยและการรักษาระดับความลึกให้สม่ำเสมอเป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานจึงเป็นทักษะสำคัญยิ่งในการดำน้ำแบบนี้ ระดับความลึกที่ตารางกำหนดมานั้น ต้องรักษาไว้ให้เที่ยงตรงมาก จะขึ้นๆ ลงๆ ทีละเมตรสองเมตรอย่างการทำ Safety Stop ปกตินั้นไม่ได้ นอกจากนั้น ท่าทางในการทำ Deco ที่ถูกต้องนั้นคือการทำตัวขนานกับพื้น ก็ยิ่งทำได้ยากขึ้นไปอีกครับ ดร. พิชิต เมืองนาโพธิ์ 9 ก.ย. 2546

อ่าน Technical Diving ตอนที่ 4

Technical Diving ตอนที่ 3

การจัดการกับอากาศที่ใช้ (Gas Planning) นักดำน้ำแบบ Tec โดยทั่วไป จะต้องเลือกส่วนผสมของอากาศที่จะใช้ในการดำน้ำ ความรู้เบื้องต้นของคนที่ดำน้ำแบบนี้ เรื่องแรกจึงเป็นเรื่องของการดำน้ำโดยใช้อากาศที่มีส่วนผสมของออกซิเจนที่แตกต่างกับอากาศธรรมดา (Enriched Air Nitrox) นักดำน้ำจะเลือกส่วนผสมของอากาศที่เหมาะสมกับความลึก เวลา และลักษณะของการทำ Decompression ในการดำน้ำแต่ละครั้ง โดยทั่วไปแล้ว อากาศธรรมดาจะไม่ใช่ก๊าซที่เหมาะสมที่สุดในการดำน้ำแบบ Tec โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำ Deco ด้วยอากาศธรรมดานั้นจะลำบากกว่าใช้ Nitrox เช่น อาจจะเสี่ยงต่อการเป็นเบนด์มากกว่า หรือว่าต้องใช้อากาศมากจนไม่สามารถนำอากาศในปริมาณที่พอเพียงลงไปได้ เป็นต้น นักดำน้ำแบบ Tec จึงมักต้องใช้อากาศที่มีส่วนผสมแตกต่างกันไป เพื่อให้มีเวลาในการดำน้ำให้นานเพื่อลดเวลาในการทำ Deco หรือเร่งรัดกระบวนการทำ Deco นั่นเองครับ อันดับแรกเลย นักดำน้ำแบบ Tec จะต้องมีความรู้เรื่องความลึกที่นำมาใช้คำนวณ (Equivalent Air Depth: EAD) และความลึกสูงสุดของก๊าซที่ใช้หายใจ (Maximum Depth: MOD) ซึ่งความรู้เหล่านี้จะเรียนมาก่อนในหลักสูตร Enriched Air Nitrox Diver Course แล้ว จากนั้น จึงหัดหาอัตราการบริโภคอากาศที่ผิวน้ำ (Surface Air Consumption: SAC) ของตัวเอง ซึ่ง SAC ของแต่ละคนก็จะไม่เท่ากัน จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่เริ่มต้นก็ต้องเริ่มคำนวณหาอะไรกันเยอะแยะไปหมดแล้ว นักดำน้ำแบบ Tec จะต้องรู้หลายเรื่องมากเลยก่อนที่จะเริ่มดำน้ำ เช่น ต้องรู้ว่าตนมีอากาศลงไปในปริมาณเท่าไร เพียงพอต่อการใช้ดำน้ำในแต่ละครั้งและมีสำรองในกรณีฉุกเฉินหรือเปล่า อากาศในแต่ละถังสามารถใช้ได้ในความลึกเท่าไร ฯลฯ นอกจากนั้น ยังต้องวางแผนไว้เผื่อการเมาไนโตรเจน การวางแผนเพื่อป้องกันออกซิเจนเป็นพิษ หลายเรื่องที่ต้องนำมาใช้ในที่นีจะได้เรียนมาก่อนแล้วในหลักสูตร Enriched Air Diver Specialty และหลักสูตร Deep Diver Specialty ซึ่งผู้ที่จะก้าวเข้ามาเรียน Tec จำเป็นต้องผ่านหลักสูตรเหล่านี้เสียก่อน การจะดำน้ำแบบนี้ ความคิดและเจตคติของนักดำน้ำ จึงต้องมีความแตกต่างกับนักดำน้ำแบบ Rec โดยทั่วไปพอสมควร การที่จะดำน้ำแบบวางแผนตามคอมพิวเตอร์ ดำจนอากาศเกือบหมด หรือดำตามสบาย แล้วค่อยจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นภายหน้า กลายเป็นเรื่องอันตรายร้ายแรงสำหรับการดำน้ำแบบ Tec นักดำน้ำแบบ Tec จำเป็นต้องวางแผนล่วงหน้าและดำน้ำตามแผนอย่างเคร่งครัด เช่น ต้องวางแผนเรื่องปริมาณก๊าซที่จะใช้หายใจอย่างที่กล่าวมาแล้ว ต้องวางแผนเรื่องความลึกและเวลา เรื่องระดับการทำ Deep Stop และ Deco Stop จนกระทั่ง ต้องมีการวางแผน และเขียน Run Time ว่า ณ เวลานี้ จะต้องมาอยู่ ณ จุดไหนของความลึกที่ดำน้ำ…

อ่าน Technical Diving ตอนที่ 3

Technical Diving ตอนที่ 1

รู้จักกับการดำน้ำแบบ เทคนิคอล ไดวิ่ง (Technical Diving) ที่ต่างจากการดำน้ำแบบพักผ่อน (Recreational Diving) ทั้งในแง่วิธีการและขีดจำกัด และความเสี่ยงอันตรายก็แตกต่างกันอย่างมากด้วย

อ่าน Technical Diving ตอนที่ 1

แอลกอฮอล์กับการดำน้ำ (Alcohol & Diving)

นักดำน้ำสามารถดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกินเท่าไหร่? ดื่มแล้วต้องงดดำน้ำหรือไม่? ฟังคุณหมอด้านการดำน้ำ ตอบคำถามคาใจในเรื่องนี้

อ่าน แอลกอฮอล์กับการดำน้ำ (Alcohol & Diving)

เทคนิคการดำน้ำในกระแสน้ำ

เมื่ออยู่ในกระแสน้ำแรง และต้องสู้กระแสน้ำให้อยู่กับที่ หรือต้องเคลื่อนไปข้างหน้าด้วย หากใช้วิธีการตีฟินเต็มแรงตลอดเวลา ในที่สุดอาจพบกับความเหนื่อยล้า สูญเสียแรงและประสิทธิภาพในการตีฟินลงไปเรื่อยๆ … และบางทีวิธีการดำน้ำในกระแสน้ำแบบนี้ อาจฝึกฝนได้ไม่ยาก เพียงรู้วิธีการที่ต้องทำและทักษะที่ต้องฝึกฝนให้ดีไม่กี่ข้อเท่านั้น

อ่าน เทคนิคการดำน้ำในกระแสน้ำ