3 พฤศจิกายน วันแมงกะพรุนโลก (World Jellyfish Day)

แมงกะพรุน ก็มีวันของเค้าเหมือนกันนะ

วันนี้ 3 พฤศจิกายน คือ วันแมงกะพรุนโลก (World Jellyfish Day)

วันแมงกะพรุนโลกนี้ถูกกำหนดขึ้นตั้งแต่ปี 2014 เพื่อให้ชาวโลกได้ร่วมกันระลึกถึงสัตว์ทะเลตัวนุ่มนิ่ม โปร่งใส ไร้คนมองเห็นคุณค่า และอาจถึงขั้นเกลียดกลัวเมื่อนึกถึงภัยจากพิษของเค้า แต่นักวิจัยทั่วโลกได้พบมานานแล้วว่า แมงกะพรุนก็เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศของโลกเราเป็นอย่างมาก ทั้งยังมีคุณสมบัติหลายอย่างที่คนทั่วไปอาจไม่รู้จักกัน จึงตั้งวันนี้ขึ้นมาเพื่อชวนให้เราได้นึกถึงและทำความรู้จักพวกเค้ากันมากขึ้น

=====

แมงกะพรุน เป็นสัตว์น้ำที่ล่องลอยเหมือนร่มโปร่งใสอยู่กลางทะเล มีหนวดบางๆ ยาวๆ ที่ช่วยจับอาหาร แปลกที่พวกมันไม่มีสมอง กระดูก หรือหัวใจ แต่กลับอยู่รอดและปรับตัวได้มานานกว่า 500 ล้านปี (นั่นเท่ากับว่า พวกเค้าเกิดก่อนไดโนเสาร์เสียอีก)

พวกเค้ามีระบบประสาทส่วนกลางเล็กๆ ที่ช่วยให้ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ และบางครั้งก็ปรับสภาพแวดล้อมให้เข้ากับตัวเองได้ด้วย หลายคนอาจเคยสังเกตเห็นว่าเค้าสามารถเคลื่อนที่เข้าหาหรือออกห่างสิ่งรอบตัวบางอย่างได้

Moon jellyfish by Alexander Vasenin – Wikipedia

อาจกลายเป็นฝันร้ายไปตลอดชีวิต เพราะพิษจากแมงกะพรุน

แมงกะพรุนทุกชนิดมีเข็มพิษ แต่ไม่ใช่ว่าพิษของทุกชนิดจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์ พิษของสัตว์ทะเลส่วนใหญ่ไม่ส่งผลรุนแรง มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่สร้างความเจ็บปวดหรือบาดแผลรุนแรง และก็อาจทำให้นักท่องเที่ยวทางทะเลบางท่านต้องฝันร้ายไปตลอดชีวิต ซึ่งวิธีป้องกันในอดีตมีเพียงวิธีเดียวพยายามหลีกเลี่ยงอย่าไปโดนมัน แต่สมัยนี้ เราสามารถป้องกันได้ด้วยการทาครีมกันแดด Safe Sea ที่ช่วยป้องกันพิษจากแมงกะพรุน และแตนทะเล ซึ่งก็คือตัวอ่อนของแมงกะพรุน

บทบาทของแมงกระพรุนที่มีต่อโลก

แมงกะพรุนไม่ได้เป็นแค่ “ตัวป่วน” ของทะเลเท่านั้น แต่ยังเป็นสมาชิกสำคัญของระบบนิเวศทะเล พวกมันกินแพลงก์ตอนเล็กๆ ที่เป็นจุดเริ่มต้นของห่วงโซ่อาหาร ทำตัวเองเป็นฐานของห่วงโซ่อาหารให้สัตว์ชั้นบนต่อไปด้วย ทำให้สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ดำรงชีวิตอยู่ได้ (ด้วยการกินพวกเค้าอีกที) บางชนิดยังช่วยเป็นที่หลบภัยให้ปลาวัยอ่อน แต่หากแมงกะพรุนเพิ่มปริมาณมากเกินไป ก็จะส่งผลกระทบให้ทะเลเสียสมดุลได้

ในวัฒนธรรมจีนยังถือว่าแมงกะพรุนเป็นอาหารโอชะและเป็นสมุนไพรด้วย คนเอเชียแถบจีน เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม และไทยเรา บริโภคแมงกะพรุนกันมานานแล้ว เป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง แต่แคลอรีต่ำ

นอกจากนี้ นักวิจัยยังศึกษาแมงกะพรุนเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์โดยพบว่า คอลลาเจนจากแมงกะพรุนอาจมีส่วนช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ และโรคหลอดลมอักเสบได้ ตลอดจนทำให้ผิวหนังนุ่มนวลด้วย ปัจจุบันมีการศึกษาเมือกของแมงกระพรุนเพื่อนำไปดักจับอนุภาคไมโครพลาสติก และสารเรืองแสงของแมงกระพรุนก็ยังนำไปใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้

=====

ในช่วงเวลานี้ของปีตรงกับช่วงฤดูใบไม้ผลิในซีกโลกใต้ ซึ่งเป็นเวลาที่แมงกะพรุนเริ่มอพยพขึ้นไปยังชายฝั่งของซีกโลกเหนือ นักวิทยาศาสตร์จึงกำหนดให้เป็นวันแมงกะพรุนโลก เพื่อชวนให้พวกเราได้นึกถึง เรียนรู้ และขอบคุณสัตว์นุ่มนิ่มเหล่านี้ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศสำคัญของโลก ช่วยรักษาสมดุลของทะเลให้คงอยู่อย่างยั่งยืนร่วมกันกับพวกเรา