9 ขั้นตอน Freedive ฝึก Frenzel Equalization

วิธีเคลียร์หูแบบ frenzel เป็นวิธีที่นิยมมากสำหรับคนที่ เรียน freedive เพราะเป็นวิธีที่ปลอดภัยต่อหูมากกว่าวิธีการเคลียร์หูแบบ valsava และสามารถดำลงไปได้ลึกกว่ามาก แต่ก็ต้องใช้เวลาในการฝึกอยู่พอสมควรเพราะ มีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่าวิธีอื่น เเต่มีขั้นตอนฝึกสำหรับผู้หัดใหม่ในบทความนี้

Freedive Physiology ส่วนต่างๆ

  1. ส่วนที่เชื่อมปอดและลำคอคือ trachea สามารถเปิด-ปิดโดย epiglottis
  2. ส่วนที่เชื่อมไปยังกระเพาะอาหารคือ esophagus โดยปกติจะปิด
  3. การหายใจเข้า-ออก จะผ่านเพดานอ่อน (soft palate) เข้าสู่ปอด ถ้าเพดานอ่อนอยู่ตำแหน่งกึ่งกลาง ลมจะสามารถถ่ายเทจากปากเข้าจมูกได้
  4. ถ้าเพดานอ่อนยกขึ้น ลมจะผ่านเข้าปากได้ แต่ลมจะถูกกั้น ไม่สามารถเข้าไปในโพรงจมูกได้
  5. ถ้าเพดานอ่อนลดลง ลมจะผ่านเข้าจมูกได้แต่ผ่านเข้าไปในช่องปากไม่ได้

ท่อยูสเตเชียนอยู่บริเวณด้านหลังโพรงจมูก การเคลียร์หูคือการดันลมให้เข้าไปในท่อนี้

จากรูปเป็นวิธีเคลียร์หูแบบ frenzel เราจะใช้มือปิดจมูก ใช้ลิ้นดันลมในช่องปาก ในขณะเดียวกันก็ปิดหลอดลมไว้ ลมจะถูกดันผ่านเพดานอ่อนที่เปิดอยู่เข้าไปในท่อยูสเตเชียน และเข้าไปในหูชั้นกลาง

วิธีเคลียร์หู แบบ Frenzel

  1. ใช้มือปิดจมูก
  2. เอาลมจากปอดมาไว้ในปาก
  3. ปิดหลอดลม
  4. ทำให้เพดานอ่อนมาอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางหระหว่างโพรงจมูก กับ ช่องปาก
  5. ใช้ลิ้นดันลมให้เข้าไปในโพรงจมูก

9 ขั้นตอน ฝึก Frenzel Technique

สำหรับคนเรียนฟรีไดฟ์ใหม่ๆอาจจะยังไม่รู้ว่าจะควบคุมหลอดลม เพดานอ่อน หรือใช้ลิ้นดันลมให้เข้าไปในท่อยูสเตเชียนได้อย่างไร ขั้นตอนด้านล่างจะเป็นวิธีฝึกเพื่อให้คุ้นเคยกับการควบคุมส่วนต่างๆที่ใช้ในการเคลียร์หู

ขั้นตอนที่ 1 : ฝึกดึงลมจากปอดเข้ามาในปาก

ให้ดันลมจากปอดเข้ามาไว้ในปาก จนกว่าจะเต็มกระพุ้งแก้ม ลองเคลื่อนลมจากเไป-มา ระหว่างปากกับปอดให้คล่อง

ขั้นตอนที่ 2 : ฝึกเปิด-ปิด หลอดลม (Epiglottis)

มีหลายวิธีที่ใช้ในการฝึกเปิด-ปิดหลอดลม

  • วิธีที่ 1 : กลั้วคอด้วยน้ำ

จิบน้ำไว้ในปาก แล้วเงยหน้าขึ้นให้น้ำไหลไปด้านหลังของปาก แต่อย่าให้น้ำไหลผ่านลำคอลงไป

  • วิธีที่ 2 : หายใจออก และสะกัดลมไว้ไม่ให้ออกมา

ให้อ้าปากออกแล้วหายใจออกผ่านปาก สะกัดลมไว้ไม่ให้ออกมา ลองใช้กระบังลมดันปอดถ้าลมไม่ไหลออกมาแสดงว่าปิดหลอดลมได้

  • วิธีที่ 3 : หายใจเข้าแล้ว สะกัดลมไว้ไม่ให้เข้าไป

อ้าปากแล้วหายใจเข้า สะกัดลมไว้ ไม่ให้เข้าปอด เมื่อลมไม่สามารถเข้าไปในปอดได้จะรู้สึกตึงบริเวณ epiglottis

  • วิธีที่ 4 : ปิดหลอดลมไว้แล้วหายใจออก

ต่อจากวิธีที่ 2 อ้าปากไว้ แต่ปิดหลอดลมไว้ในขณะที่หายใจออก ออกแรงดันลมให้ออกทางปากแล้ว เปิดหลอดลม จะมีสียงลมที่ดันผ่านปากออกมา (ฝรั่งเรียก K sound)

  • วิธีที่ 5 : ปิดหลอดลมไว้แล้วหายใจเข้า

คล้ายๆกับวิธีที่ 4 แต่ให้ปิดหลอดลมแล้วให้หายใจเข้า ทดลองเปิด-ปิดหลอดลม สลับไปมาจนคล่อง

ขั้นตอนที่ 3 : ฝึกควบคุมเพดานอ่อน (soft palate)

  1. ปิดปาก หายใจเข้า-ออกผ่านจมูก
  2. อ้าปาก เอามือมาไว้ที่ปาก แล้วหายใจเข้า-ออก ผ่านจมูก ไม่ให้มีลมเข้าออกผ่านปาก
  3. อ้าปาก เอามือมาไว้ที่จมูก แล้วหายใจเข้า-ออกผ่านปาก ไม่ให้มีลมเข้า-ออกผ่านจมูก
  4. หายใจเข้าให้เต็มปอด อ้าปากหายใจออกผ่านปากอย่างช้าๆ อย่าให้ลมออกทางจมูก ในขณะหายใจออกให้เปลี่ยนมาหายใจออกผ่านจมูก อย่าให้ลมออกทางปาก
  5. หลังจากขั้นตอนที่4 หายใจเข้าผ่านปากอย่างช้าๆ ไม่ให้ลมเข้าทางจมูก ในขณะกำลังหายใจเข้าให้เปลี่ยนมา หายใจผ่านจมูก แต่อย่าให้ลมเข้าทางปาก
  6. หายใจเข้า-ออก โดยใช้ทั้งปากและจมูกพร้อมกัน วิธีนี้เป็นการฝึกให้ เพดานอ่อน(soft palate) อยู่กึ่งกลางระหว่างช่องปากกับโพรงจมูก

ขั้นตอนที่ 4 : ฝึกกลั้นลมโดยใช้ลิ้น (tongue block)

  1. หายใจออกผ่านปาก แล้วหยุดอากาศโดยการปิดปาก แก้มจะป่องออก
  2. อ้าปากแล้วหายใจออกผ่านปาก แล้วเอาลิ้นแตะเพดานปาก บริเวณโคนฟันหน้า อย่าให้ลมผ่านออกไป

***ฝึกซ้ำๆจนคล่อง***

ขั้นตอนที่ 5 : ฝึกใช้ลิ้นดันลม

  1. ใช้ปากคาบ snorkel แล้วใช้นิ้วปิดจมูก
  2. หายใจเข้าทางท่อ snorkel จนเต็มปอด
  3. หลังจากอากาศเต็มปอด pack อากาศเข้าสู่ปอดผ่าน snorkel โดยใช้ลิ้นทำ tongue block ดันอากาศเข้าปอดซ้ำๆ

ขั้นตอนที่ 6 : ฝึกใช้หลอดลม และ เพดานอ่อน อย่างอิสระ

  1. เอานิ้วชี้และนิ้วโป้ง มาปิดที่จมูกไว้แบบหลวมๆ ให้สามารถรู้เวลาหายใจออกได้
  2. เอาอากาศเข้ามาไว้ในแก้มให้เต็ม
  3. ปิดหลอดลม (epiglottis)
  4. ปล่อยให้ soft palate อยู่บริเวณกึ่งกลางของปากกับจมูก
  5. บีบกระพุ้งแก้มให้ลมออกทางจมูก จะรู้สึกได้ถึงลมที่ผ่านนิ้วชี้กับนิ้วโป้ง

ขั้นตอนที่ 7 : รวมทุกอย่างเข้าด้วยกัน

  1. เอามือปิดจมูก
  2. เอาอากาศมาไว้ในช่องปาก
  3. ปิดหลอดลม และทำให้ soft palate อยู่ในตำแหน่งกึ่งกลาง
  4. เอาลิ้นแตะเพดานปาก (tongue block) แล้วดันลมจากปากให้เข้าไปในโพรงจมูก
  5. เมื่อลมผ่านท่อยูสเตเชียน จะได้ยินเสียงในหู

***ควรฝึกขั้นตอนนี้ให้คล่องก่อนลงไปฝึกในน้ำ***

ขั้นตอนที่ 8 : ฝึกในสระน้ำ

  1. ดำลงไปในสระน้ำ 2-3 เมตร โดยเอาหัวลงก่อน จนรู้สึกแรงดันในหู
  2. เอามือปิดจมูก แล้วเคลียร์หูแบบ frenzel ตามที่ได้ฝึกมา
  3. เมื่อได้ยินเสียง ป๊อปในหูให้ฝึกเคลียร์หูเรื่อยๆจนชำนาญ

ขั้นตอนที่ 9 : frenzel-fattah สำหรับดำในที่ลึก

เมื่อดำฟรีไดฟ์ลึกลงไปเรื่อยๆ จะพบว่าเราไม่สามารถเอาอากาศจากปอดมาเคลียร์หูได้อีก มีความรู้สึกเหมือนกับว่าอากาศจะถูกดูดลงปอดไปจนหมด โดยมากจะเกิดขึ้นที่ความลึกประมาณ 25-30 เมตร

วิธีแก้ปัญหานี้ คือให้เอาอากาศในปอดมาเก็บไว้ในคอและปาก ก่อนที่จะถึงความลึกที่ไม่สามารถเอาอากาศออกมาเคลียร์หูได้อีกต่อไป วิธีนี้อาจเรียกอีกชื่อว่า mouth fill มีขั้นตอนคือ

  1. หาความลึกที่เราไม่สามามารถเคลียร์หูด้วยอากาศในปอดได้อีก
  2. ตั้ง dive comp. ให้เตือน 15 เมตรก่อนที่จะถึงความลึกที่เราไม่สามารถเคลียร์หูได้ เช่นถ้าไม่สามารถเคลียร์หูได้ที่ 30 เมตรก็ให้ตั้งนาฬิกาให้เตือนที่ 15 เมตร
  3. เมื่อได้ยินเสียงนาฬิกาเตือน ให้เงยหน้าขึ้นแล้วเอา อากาศมาไว้ในปากไว้ให้มากที่สุด แก้มจะป่องออกจนตึง
  4. ปิดหลอดลม (epiglottis) เอาไว้ตลอด เพื่อไม่ให้อากาศถูกบีบลงปอด
  5. เอา soft palate มาไว้ที่ตำแหน่งกึ่งกลาง และให้ลิ้นดันอากาศเพื่อเคลียร์หูตามปกติ
  6. วิธีเคลียร์หน้ากาก ให้ทำเหมือนเคลียร์หูปกติ แต่ไม่ต้องบีบจมูก