ไดฟ์คอมพิวเตอร์รุ่นใด ใช้อัลกอริธึมอะไร

ข้อมูลอัลกอริธึมคำนวณการดำน้ำของไดฟ์คอมพิวเตอร์ทุกยี่ห้อ สรุปเป็นตาราง อ่านงาน เข้าใจเร็ว เปรียบเทียบได้ง่าย

อ่าน ไดฟ์คอมพิวเตอร์รุ่นใด ใช้อัลกอริธึมอะไร
Imaginary Dive Computer with Mathematics Equations as Background

รู้จักกับอัลกอริธึมคำนวณการดำน้ำในไดฟ์คอมพิวเตอร์

ไดฟ์คอมพิวเตอร์ที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปในท้องตลาดทุกวันนี้ มีอยู่หลายรุ่น หลายแบรนด์ และแต่ละรุ่นก็ใช้อัลกอริธึมการคำนวณผลกระทบของการดำน้ำต่อร่างกายของเรา เช่นเรื่องไนโตรเจนหรือก๊าซอื่นๆ ที่สะสมในร่างกายนักดำน้ำ ตลอดจนความเป็นพิษของออกซิเจนที่ความกดสูง แตกต่างกันไป เพื่อบอกเราถึงเวลาดำน้ำที่เหลืออยู่ หรือความลึกและระยะเวลาที่ต้องทำ stop ก่อนขึ้นสู่ผิวน้ำ รวมถึงช่วยคำนวณการระบายก๊าซออกจากร่างกายระหว่างพักน้ำ เพื่อวางแผนการดำน้ำไดฟ์ถัดไป แม้อาจจะบอกได้ยากว่า วิธีการคำนวณของใครดีที่สุด ปลอดภัยที่สุด แต่อย่างน้อยการได้เข้าใจคุณลักษณะของอัลกอริธึมเหล่านั้นและความแตกต่างระหว่างแต่ละอัน ก็น่าจะพอช่วยให้เราเลือกไดฟ์คอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับเราได้ดียิ่งขึ้น หรือใช้งานไดฟ์คอมพิวเตอร์ด้วยความเข้าใจความหมายของการตั้งค่าต่างๆ ในนั้นได้ดียิ่งขึ้น ก่อนจะไปรู้จักกับอัลกอริธึมการคำนวณเหล่านี้ ต้องขอเล่าถึงทฤษฎีเกี่ยวกับการลดความกด (decompression theory) และโมเดลวิธีคิดที่จะช่วยป้องกันหรือลดอาการเจ็บป่วยจากการลดความกดนี้ เท่าที่วงการดำน้ำของเราได้ศึกษาค้นคว้าและพัฒนากันมาจนถึงปัจจุบัน ก่อนสักเล็กน้อย Decompression Theory อาการเจ็บป่วยจากการลดความกดถูกพบเมื่อราว 150 ปีที่แล้ว (ค.ศ. 1871) จากกรณีการสร้างสะพานบรุคลินที่นิวยอร์คด้วยการสร้างกล่องกักอากาศให้คนงานลงไปขุดดินใต้แม่น้ำเพื่อทำฐานรากของสะพานแล้วพบว่าคนงานมีอาการเจ็บป่วยคล้ายๆ กัน ต่อมาเมื่อการดำน้ำลึกแพร่หลายมากขึ้น ก็พบอาการเจ็บป่วยในนักดำน้ำด้วยเช่นกัน ในปี ค.ศ. 1906 ราชนาวีอังกฤษจึงได้ว่าจ้าง J. S. Haldane ให้วิจัยหาสาเหตุและวิธีการป้องกันอาการดังกล่าว และต่อมาก็ได้เผยแพร่ผลการวิจัยแก่สาธารณะ ทฤษฎีของ Haldane เสนอว่า เมื่อคนหรือสัตว์ได้รับอากาศความกดแตกต่างจากเดิม ก็จะมีการดูดซับเข้าหรือคายออกจากเนื้อเยื่อต่างๆ โดยที่อัตราการดูดซับและคายออกของเนื้อเยื่อจะแตกต่างกันไปหลายระดับ รวมทั้งค่าความอิ่มตัวสูงสุดที่เนื้อเยื่อแต่ละชนิดจะทนได้ก่อนจะแสดงอาการเจ็บป่วยก็แตกต่างกันไปด้วย เขาสรุปทฤษฎีออกมาเป็นโมเดลเนื้อเยื่อสมมติ (theoretical tissue compartment) 5 ชนิดที่มีอัตราการดูดซับแตกต่างกัน 5 ระดับเพื่อใช้เป็นตัวแทนในการคำนวณหาขีดจำกัดระยะเวลาที่จะดำน้ำได้ที่แต่ละระดับความลึก และเกิดเป็นตารางดำน้ำ (dive table) เพื่อใช้วางแผนการดำน้ำ จากนั้นก็ได้มีการปรับปรุงทฤษฎีนี้โดยนักวิจัยจากองค์กรต่างๆ อีกหลายครั้ง มีการเพิ่มเนื้อเยื่อสมมติเข้าไปอีก เป็น 6 ชนิด 9 ชนิด มีการปรับปรุงค่าความอิ่มตัวสูงสุดที่เนื้อเยื่อจะทนได้ ให้เป็นค่าที่แปรผันสัมพันธ์กับความกดที่เปลี่ยนแปลงไป (หรือก็คือความลึกนั่นเอง) ไม่ใช่ค่าคงที่ตายตัวของเนื้อเยื่อแต่ละชนิด อย่างในทฤษฎีเดิม เรียกชื่อใหม่ว่า M-value ค่าความอิ่มตัวสูงสุดที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรอื่นๆ แบบนี้ทำให้เหมาะจะใช้การคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ มากกว่าจะเป็นตารางคำนวณแบบตายตัวอย่างตอนแรกเริ่ม นักวิจัยคนสำคัญที่ทำให้ทฤษฎีนี้เข้าใกล้ความสมบูรณ์มากที่สุด ก็คือ Albert A. Bühlmann ที่ได้พยายามค้นหาเนื้อเยื่อที่มีอัตราการดูดซับมากที่สุด (นานที่สุดกว่าจะอิ่มตัว) ซึ่งมีผลต่อการคำนวณระยะเวลาการพักน้ำเพื่อการดำน้ำไดฟ์ถัดไป (repetitive dive) จนมีการเพิ่มเนื้อเยื่อสมมติเข้าไปอีกรวมทั้งหมดเป็น 16 ชนิด และยังได้พัฒนาต่อยอดทฤษฎีเดิมอีกหลายเรื่อง เพื่อการดำน้ำในที่สูง หรือใช้อากาศผสมก๊าซอื่นๆ ด้วย เมื่อทฤษฎีและโมเดลการคำนวณ ได้รับการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ตารางดำน้ำเดิมของ US Navy ก็ได้รับการปรับปรุงตามมาเรื่อยๆ ด้วยเช่นกัน เมื่อการดำน้ำเริ่มเป็นที่นิยมของบุคคลทั่วไปมากยิ่งขึ้น เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสันทนาการมากขึ้น นักวิจัยของ PADI ก็ได้ปรับปรุงแนวโมเดลการคำนวณใหม่เป็นของตัวเอง เรียกว่า DSAT Model หรือ DSAT Algorithm…

อ่าน รู้จักกับอัลกอริธึมคำนวณการดำน้ำในไดฟ์คอมพิวเตอร์
cover image บทความ Mask Scuba Freedive Comparison

ความแตกต่างระหว่างหน้ากาก Scuba และหน้ากาก Freedive

ในปัจจุบัน หน้ากากดำน้ำนั้นมีตัวเลือกให้เราทุกคนได้เลือกสรรมากมาย ทั้งฝั่ง scuba และ ฝั่งของ freedive เอง ด้วย design รูปลักษณ์หรือขนาดเองก็ตามที่อาจจะทำให้ใครหลายๆ คนกำลังสงสัยว่าระหว่างหน้ากาก scuba กับ freedive นั้นมีข้อแตกต่างกันอย่างไร และเราสามารถใช้หน้ากาก scuba ในการ freedive ได้หรือไม่ หรือ หน้ากาก freedive ใช้สำหรับ scuba ได้หรือเปล่า Size (ขนาด) อย่างแรกที่ทุกคนจะเห็นได้ชัดถึงความแตกต่างเลย คือ “ขนาด” หน้ากาก scuba จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าหน้ากาก freedive ทั้งรูปร่าง, ขนาดของกรอบเลนส์ (frame), ขนาดของ skirt, รวมถึง ระยะห่างระหว่างเลนส์กับดวงตา และด้วยส่วนมากหน้ากาก scuba จะนิยมใช้เลนส์เดี่ยวมากกว่าเลนส์คู่ (แยกซ้าย-ขวา) แตกต่างกับหน้ากาก freedive ที่มีรูปแบบที่เพรียวกว่า กระชับรูปหน้ามากกว่า เมื่อมองจากขนาดแล้วและลักษณะของเลนส์แล้ว จะเห็นได้ว่า หน้ากากที่มีขนาดใหญ่กว่า ก็จะทำให้มีการต้านน้ำมากกว่า สำหรับการดำน้ำแบบ scuba ที่ไม่ค่อยใช้ความเร็วในการเคลื่อนที่มากนัก หน้ากากที่มีขนาดใหญ่ ได้ทัศนวิสัยกว้าง จึงเป็นที่นิยมสำหรับนักดำน้ำ scuba จำนวนมาก ส่วนการดำ freedive ที่ต้องการความคล่องตัวและใช้ความเร็วในการลงสู่ความลึก-ขึ้นสู่ผิวน้ำมากกว่า scuba จึงไม่นิยมใช้หน้ากาก scuba ในการ freedive สักเท่าไหร่นัก Air Volume, Air Space (ปริมาตรอากาศ) จากหัวข้อแรกเรื่องขนาดของหน้ากาก จึงส่งผลทำให้ “ปริมาตรอากาศ” ที่อยู่ภายในหน้ากากนั้นมีความแตกต่างกันไปด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วหน้ากาก freedive จะมีปริมาตรอากาศที่น้อยกว่า หรือที่หลายๆ คนคุ้นหูกันกับคำว่าหน้ากาก low-volume (หรือหน้ากาก low-profile) โดยคร่าวๆ แล้วหน้ากากประเภทนี้จะมีปริมาตรอากาศที่น้อยกว่า 100 ml. ส่วนหน้ากาก scuba จะมีปริมาตรอยู่ที่มากกว่า 110 ml. ขึ้นไป เพราะฉะนั้นถ้าหากนำหน้ากาก scuba ไปดำ freedive สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราดำลงสู่ความลึกด้วยความเร็ว นอกจากเรื่องของการต้านน้ำที่มากกว่าแล้ว ยังมีโอกาสที่จะทำให้เกิด mask squeeze ได้มากขึ้นด้วย (mask squeeze คือ อาการหน้ากากบีบหน้า เมื่อแรงดันภายนอกหน้ากากเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่าภายในหน้ากาก) การป้องกัน mask squeeze คือการเติมลมจากจมูกเข้าไปเคลียร์หน้ากาก แต่ถ้าหากเคลียร์หน้ากากไม่ทันหรือลมไม่พอที่จะเคลียร์หน้ากาก ก็อาจจะเป็นอันตรายส่งผลให้เกิดเส้นเลือดฝอยรอบดวงตาแตกได้…

อ่าน ความแตกต่างระหว่างหน้ากาก Scuba และหน้ากาก Freedive
Boots and Fins - Keng Krob - 001

การเลือกซื้อบูทกับฟิน

มีน้องมาถามว่า พี่ หนูไปซื้อบูทมา จะซื้อฟินอะไรดี
ผมเลยตอบไปว่า เดี๋ยวว่างๆ จะเขียนเรื่องนี้และก็ว่างแล้ว 555
“บูทกับฟิน เพราะเราคู่กัน”
คำเตือน!!!! นักดำน้ำมือใหม่ใจเย็นๆ อย่าเพิ่งรีบซื้อบูทก่อนฟิน

อ่าน การเลือกซื้อบูทกับฟิน

ทำไมเราจึงใช้เว็ทสูท? รู้จักทุกแง่มุมของเว็ทสูทและการเลือกซื้อ

ชวนนักดำน้ำทุกท่าน มาทำความรู้จักกับเว็ทสูทในแง่มุมต่างๆ เพื่อช่วยให้คุณหาคำตอบได้ว่า ควรใช้เว็ทสูทหรือไม่?

อ่าน ทำไมเราจึงใช้เว็ทสูท? รู้จักทุกแง่มุมของเว็ทสูทและการเลือกซื้อ

ข้อผิดพลาด 10 อย่างของนักดำน้ำมือใหม่ (และมือเก่าในบางครั้ง)

เชื่อว่าเพื่อนๆ นักดำน้ำมือใหม่หลายคนเคยพบกับประสบการณ์นี้ อีกหลายคนอาจยังไม่เคย สิ่งเหล่านี้จะช่วยไม่ให้เราตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากและดำน้ำได้สนุกสนานมากขึ้นครับ

อ่าน ข้อผิดพลาด 10 อย่างของนักดำน้ำมือใหม่ (และมือเก่าในบางครั้ง)
Diving with Turtle - FreedomDive - 001

พี่ครับ มีไฟฉายให้ผมยืมไหม

เรื่องของการยืมอุปกรณ์ดำน้ำและความพึงพอใจของทั้งคนยืมและคนให้ยืม โดยการยืมอุปกรณ์ส่วนตัวเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยเกิดขึ้น เนื่องจากมีความเสี่ยงและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น การเสียหาย การหายไป และปัญหาในการใช้งานอุปกรณ์ ดังนั้นการเสนอให้คนดำน้ำซื้ออุปกรณ์ส่วนตัวเพื่อความสะดวกสบายและปลอดภัยย่อมมีความสำคัญ

อ่าน พี่ครับ มีไฟฉายให้ผมยืมไหม
Diving-with-dinghy-002

ขึ้นลงดิงกี้อย่างไรให้ปลอดภัย

บอกเล่าประสบการณ์การดำน้ำในทริปล่าสุดที่ผ่านมา โดยเน้นการใช้เรือดิงกี้ให้ปลอดภัย และแนะนำสกิลการลงน้ำแบบ Back Roll Entry ให้เรียนรู้และปฏิบัติอย่างระมัดระวัง

อ่าน ขึ้นลงดิงกี้อย่างไรให้ปลอดภัย
Coral - Keng Krob - 001

โพสท่าอย่างไรให้ได้รูปสวย

เมื่อก่อนผมเคยเห็นข่าวในกลุ่มนักดำน้ำ มีรูปนักดำน้ำท่านหนึ่งกำลังนั่งโพสท่าอยู่บนกองหินด้านหน้าของ sea fan แล้วก็เห็นบางคนก็โพสท่านั่งบนปืนใหญ่เรือจม ทำแบบนั้นจะสร้างความเสียหายให้กับธรรมชาติและเรือจมได้

อ่าน โพสท่าอย่างไรให้ได้รูปสวย