Fish trap - Keng Krob - 001

วิถีชาวอูรักลาโว้ยที่หินแปดไมล์

น้องนักดำน้ำมือใหม่บางท่านอาจยังไม่เคยไปดำน้ำที่จุดดำน้ำที่ชื่อ กองหินแปดไมล์ อยู่ใกล้ๆ เกาะหลีเป๊ะ ที่จุดนั้นเป็นจุดดำน้ำสุดขอบของทะเลไทยทางใต้ ที่กองหินนั้นจะมีซังดักปลาอยู่ 2 จุด

หลายคนมีหัวใจอนุรักษ์ ก็เข้าไปทำลายกระชังหรือปล่อยปลาของชาวพื้นเมืองซึ่งเป็นชาวอูรักลาโว้ย เขาหากินอยู่ตรงนี้ตั้งแต่เกาะหลีเป๊ะยังไม่เป็นที่รู้จัก และก่อนที่กองหินใต้น้ำจะถูกประกาศเป็นเขตอนุรักษ์หลายสิบปี (ยายที่ผมคุยด้วยน่าจะอายุ 80 แกบอก ราชินีประเทศไทยเสด็จแล้วแกถามว่า ยายจะทำมาหากินในแผ่นดินไทยได้ไหม จะถูกจับไหม ตอนนั้นยายแกยังไม่มีนามสกุล พระราชินีไทยตอบแกว่า ทำไปเลยยาย และให้นามสกุลแก เป็นคนไทย)

เขาจับปลาแต่พอมีพอกินมาหลายสิบปี ทุกวันนี้ปลาก็ยังมีให้เราเห็นเยอะแยะ ซึ่งเป็นการพิสูจน์ได้ดีว่าวิธีการจับปลาและวิธีการทำประมงของเขาไม่ได้มีผลกระทบกับธรรมชาติที่นั่น จุดดำน้ำที่สวยงามนี้เราก็รู้จักเพราะพวกเขา มีฉลามวาฬเข้าเขาก็มาบอกพวกเรา ให้เรือรู้ให้คนบนเกาะรู้

Fish trap - Keng Krob - 002

แต่มีนักดำน้ำหลายๆ คนที่ยังไปทำลายเครื่องทำมาหากินของเขา ไม่ว่าจะเป็นนักดำน้ำมือใหม่ นักดำน้ำมือเก่าหรือไดฟ์หลีดมือสมัครเล่น ที่ไม่รู้จักศึกษาหาความรู้เลยเกี่ยวกับความเป็นไปของท้องถิ่นหรือกฎกติกาท้องถิ่นในแต่ละจุดดำน้ำเลย พูดแล้วขึ้น 555 เจอกับตัว หลังๆ เลิกดำกับไดฟ์เซ็นเตอร์นั้นเลย บอกแล้วยังมาเถียงอีก ห้ามก็ไม่เชื่อ

ครูดำน้ำระดับปรมาจารย์ท่านหนึ่ง สอนผมไว้ว่า ทรัพยากรทางทะเลใช้ประโยชน์ได้ ใช้อย่างอนุรักษ์ยิ่งดี ใช้ตามวิถีพื้นบ้านก็ไม่ผิดอะไรและต่อให้ผิดหน้าที่จัดการก็เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงาน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อุทยาน ไม่ใช่หน้าที่เราที่เป็นนักดำน้ำสายท่องเที่ยว

ถ้าเพื่อนๆ หลายคนที่ไปกองหินแปดไมล์ แล้วเจอเครื่องมือดักปลาของชาวอูรักลาโว้ยที่อาศัยอยู่บนเกาะหลีเป๊ะ อย่าได้ไปทำลายของเขานะครับ มันเป็นวิถีที่มีมาช้านาน

ผมยกตัวอย่างให้เห็นว่า ระดับโลกยังยอมให้วิถีที่ทำมาช้านานทำต่อไปได้บ้างโดยมีกติกากำกับ เช่น ประเทศญี่ปุ่นล่าปลาวาฬได้ในจำนวนจำกัดและในบางช่วงเวลา ถึงบางประเทศจะไม่ชอบก็ต้องใช้สันติวิธี ไม่ใช่ไปทำลายเรือหาปลาวาฬของเขา ก็ทำนองเดียวกันกับเรื่องซังดักปลาที่กองหินแปดไมล์

บทความจาก Facebook: Keng Krob