สวัสดีเพื่อนๆ ชาว TECREW วันนี้ admin จะมาแนะนำอุปกรณ์ถ่ายรูปใต้น้ำซึ่งสร้างความงุนงงให้แก่นักดำน้ำที่เริ่มถ่ายรูปใหม่ เพราะมันมีหลายอย่างเหลือเกิน ถ้าอย่างนั้นเรามาดูกันเลยว่าแต่ละอย่างมันคืออะไร และทำหน้าที่อะไร
Housing
มีหน้าที่ป้องกันกล้องจากแรงดันของน้ำ และไม่ให้น้ำเข้า มีทั้งที่ทำจาก Polycarbonate หรือ Aluminium ราคาก็ขึ้นกับวัสดุ และ option ต่างๆ ที่เพิ่มเข้ามา เช่น Vacuum valve (ตัวดูดอากาศออกเพื่อเช็ค leak), leak sensor (เช็คการรั่วก่อนลงน้ำ และเตือนเมื่อมีน้ำเข้า)
โดยปกติ Housing นั้นจะเฉพาะเจาะจงกับรุ่นกล้อง โดยในแต่ละรุ่นของ Housing จะมีความลึกสูงสุดกำหนดไว้ เช่น ไม่เกิน 60 m, ไม่เกิน 200 m การเลือก Housing ที่เหมาะสมกับตัวเรานั้นควรจะจับและควบคุมกล้องได้ถนัด
แหล่งให้แสงใต้น้ำ
มีหน้าที่เพิ่มแสงในสภาวะใต้น้ำ ทำให้ได้รูปที่มีสีสันสดใสขึ้น โดยแบ่งย่อยอีกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ Stobe และ VDO light
Stobe
เป็นการให้แสงแบบไม่ต่อเนื่อง โดนจะให้แสงเมื่อถ่ายรูปเท่านั้น จึงเหมาะกับการถ่ายภาพนิ่งใต้น้ำ ความแรงของแสงไฟขึ้นอยู่กับรุ่นของ Stobe ที่ใช้ มักบอกเป็น GN (Guide number) ค่ายิ่งมากจะยิ่งแรงขึ้น จะได้เลือกใช้ความแรงให้เหมาะสมกับสิ่งที่ถ่าย
VDO light
เป็นการให้แสงแบบต่อเนื่อง โดยจะให้แสงตลอดเวลาที่เปิด จึงเหมาะกับการถ่ายภาพเคลื่อนไหว ความแรงของไฟมักวัดเป็น Lm (Lumen) ยิ่งมีค่าสูงยิ่งมีความแรงมากขึ้น ซึ่งมาพร้อมกับขนาดที่ใหญ่ขึ้น
โดยส่วนใหญ่ไฟ VDO มักจะกระจายแสงเป็นวงกว้าง ซึ่งแตกต่างจากไฟฉายปกติที่เราใช้ดำน้ำกัน นอกจากใช้ในการถ่ายภาพเคลื่อนไหวแล้ว หลายคนยังใช้ VDO light ขนาดเล็กในการถ่าย Macro อีกด้วย
สาย sync
ทำหน้าที่เชื่อมต่อการทำงานระหว่างกล้อง กับ Stobe ให้ปล่อยแสงไฟในเวลาที่เราถ่ายภาพ ซึ่งมีหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมจะเป็นสาย Fiber optic
Wet lens
ทำหน้าที่แปลงค่ามุมรับภาพจากเลนส์หลักของกล้อง และแก้ไขการหักเหของแสงทำให้ได้คุณภาพที่ดียิ่งขึ้น
โดย wet lens นั้นแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ Wide และ Macro
- Wide wet lens : ทำหน้าที่ปรับองศารับภาพให้กว้างขึ้น จึงเหมาะกับการถ่ายรูป วิว หรือบุคคล
- Macro wet lens : ทำหน้าที่ลดระยะ focus ของกล้อง ทำให้ได้กำลังขยายที่เพิ่มมากขึ้น มักใช้ในการถ่ายสิ่งต่างๆ ขนาดเล็ก
Arm
เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เราสร้างระยะห่างระหว่าง Stobe และ VDO light กับ ตัวกล้องทำให้เราสามารถจัดไฟได้หลากหลายมากขึ้น
Float
รูปแบบการใช้งานคล้ายกับ Arm คือสร้างระยะระหว่าง Stobe และ VDO light กับ ตัวกล้อง แต่ในเวลาเดียวกันก็เพิ่มแรงยก เพื่อให้น้ำหนักกล้องเมื่ออยู่ใต้น้ำเบาลง ทำให้ควบคุมได้ง่ายขึ้น การเลือกแรงยกของ Float นั้นขึ้นอยู่กับกล้องทั้ง setup ว่าเป็น negative เท่าไหร่ และต้องการชดเชยน้ำหนักเท่าไหร่
Clamp
เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมระหว่าง Float, Arm, และไฟใต้น้ำ โดยเป็นตัวหนีบกับหัวบอล ทำให้สามารถจัดระยะของไฟกับกล้องได้ง่ายมากขึ้น
Tray
เป็นอุปกรณ์ยึดกล้อง ทำให้สามารถจับกล้องได้ถนัดมากยิ่งขึ้น และเป็นจุดเชื่อมต่อ Arm, Float, ไฟใต้น้ำต่างๆ ผ่าน Clamp
เพื่อนๆ ที่สนใจเริ่มถ่ายรูปใต้น้ำคงรู้จักอุปกรณ์ถ่ายรูปกันมากขึ้นแล้วเนอะ ใครมีข้อสงสัยส่งมาคุยกับ admin ได้เลยไม่ต้องเกรงใจนะ ส่วนใครที่เห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ อย่าลึมกด like กด share กด ติดตาม เพื่อเป็นกำลังใจให้ TECREW กันด้วยนะ ไปแล้วนะ บ๊ายบาย…
บทความจาก Facebook: Tecrew