Technical Diving ตอนที่ 4

This entry is part 1 of 4 in the series Technical Diving

การดำน้ำ Decompression Dive ทักษะเบื้องต้นในการดำน้ำที่เคยเรียนมาแล้ว จะเป็นทักษะที่สำคัญยิ่งขึ้นในการดำน้ำแบบลดแรงกด (Decompression Dive) เช่น การควบคุมการจมลอย มีความสำคัญสำหรับการดำน้ำแบบนี้ เพราะนักดำจะมีปริมาณไนโตรเจนในร่างกายมากจนใกล้จะเกิดฟองอากาศ การขึ้นหรือลงอย่างไม่ได้ตั้งใจเพียงเล็กน้อย อาจจะทำให้เกิดอาการของโรคอันเกิดจากแรงกดดันได้ และการแก้ไขก็จะเสียทั้งเวลาและปริมาณอากาศที่จะใช้หายใจ นอกจากนั้น การดำด้วยถังอากาศหลายใบก็จะมีการเปลี่ยนแปลง ระดับการจมลอยระหว่างถังอากาศที่เต็ม (ทำให้ตัวหนัก) กับถังอากาศที่ใช้แล้ว (ทำให้ตัวเบา) การควบคุมความเร็วในการขึ้น เป็นส่วนสำคัญของการทำ Deco การขึ้นเร็วเกินไปมีผลให้เป็นโรคอันเกิดจากแรงกดดันได้มากเท่ากับการไม่ทำ Decompression Stop ทีเดียว การควบคุมการหายใจ ก็มีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากการหายใจที่ถูกต้องจะประหยัดอากาศ การหายใจถี่กระชั้นนั้นไม่เพียงแต่เปลืองอากาศเท่านั้น แต่จะทำให้การขับไล่ไนโตรเจนจากร่างกายช้าลงไปด้วย รวมทั้งยังเพิ่มระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกาย ซึ่งทำให้เกิดอาการเมาไนโตรเจนได้ง่ายขึ้น และสุดท้าย การหายใจถี่กระชั้นใต้น้ำนั้นจะเหนื่อยมาก ทำให้นักดำน้ำมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาน้อยลง การควบคุมตนเอง มีความจำเป็นมาก เพราะนักดำน้ำที่เผชิญหน้ากับอันตรายร้ายแรง จำเป็นต้องควบคุมอารมณ์และวิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล ทักษะที่จะใช้ต้องถูกเรียนรู้และฝึกฝนมาเป็นอย่างดี นี่คือสาเหตุว่าทำไมนักดำน้ำแบบ Tec จึงจำเป็นต้องมีประสบการณ์ในการดำน้ำแบบ Recreation มาก่อนเป็นจำนวนมาก การระมัดระวังตัวเอง นักดำน้ำที่จะทำ Deco ต้องหมั่นสังเกตตนเองเสมอ โดยเฉพาะในเรื่องความพร้อมของร่างกาย พลังงานที่มี และระดับความวิตกกังวล ทักษะการสื่อสาร ก็สำคัญ เพราะการดำน้ำแบบ Deco นี้มักกระทำเป็นทีม การสื่อสารอาจจะไม่เหมือนเดิม ภายใต้ความกดดันของงานที่มีปริมาณมาก การใช้อุปกรณ์ที่ยุ่งยากกว่าปกติ แผนการดำน้ำที่ซับซ้อนกว่าเดิม หรือการเมาไนโตรเจน ขั้นตอนในการดำ เริ่มจากการวางแผนการดำน้ำ ซึ่งส่วนมากในปัจจุบันจะใช้โปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์ สร้างตารางดำน้ำเฉพาะขึ้นมา โปรแกรมเหล่านี้จะมีการให้ใส่ข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ตั้งแต่รายละเอียดของบุคคลจนถึงแผนการดำน้ำ โดยเฉพาะเรื่องความลึกและเวลา และจะคำนวณ profile การดำน้ำออกมา ให้เป็นรูปของตารางดำน้ำเฉพาะให้นักดำนำไปใช้ เมื่อได้ตารางมาแล้ว นักดำน้ำก็จะทำการดำน้ำตามตารางที่ได้มา โดยมีการกำหนดความลึก/เวลาที่จะใช้ในการดำน้ำ ความลึก/เวลาที่จะทำ Deco ในแต่ละขั้น นักดำน้ำจะดำตามที่ตารางกำหนดมาให้นั้นอย่างเคร่งครัด ทักษะการควบคุมการจมลอยและการรักษาระดับความลึกให้สม่ำเสมอเป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานจึงเป็นทักษะสำคัญยิ่งในการดำน้ำแบบนี้ ระดับความลึกที่ตารางกำหนดมานั้น ต้องรักษาไว้ให้เที่ยงตรงมาก จะขึ้นๆ ลงๆ ทีละเมตรสองเมตรอย่างการทำ Safety Stop ปกตินั้นไม่ได้ นอกจากนั้น ท่าทางในการทำ Deco ที่ถูกต้องนั้นคือการทำตัวขนานกับพื้น ก็ยิ่งทำได้ยากขึ้นไปอีกครับ ดร. พิชิต เมืองนาโพธิ์ 9 ก.ย. 2546

อ่าน Technical Diving ตอนที่ 4

Technical Diving ตอนที่ 3

This entry is part 2 of 4 in the series Technical Diving

การจัดการกับอากาศที่ใช้ (Gas Planning) นักดำน้ำแบบ Tec โดยทั่วไป จะต้องเลือกส่วนผสมของอากาศที่จะใช้ในการดำน้ำ ความรู้เบื้องต้นของคนที่ดำน้ำแบบนี้ เรื่องแรกจึงเป็นเรื่องของการดำน้ำโดยใช้อากาศที่มีส่วนผสมของออกซิเจนที่แตกต่างกับอากาศธรรมดา (Enriched Air Nitrox) นักดำน้ำจะเลือกส่วนผสมของอากาศที่เหมาะสมกับความลึก เวลา และลักษณะของการทำ Decompression ในการดำน้ำแต่ละครั้ง โดยทั่วไปแล้ว อากาศธรรมดาจะไม่ใช่ก๊าซที่เหมาะสมที่สุดในการดำน้ำแบบ Tec โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำ Deco ด้วยอากาศธรรมดานั้นจะลำบากกว่าใช้ Nitrox เช่น อาจจะเสี่ยงต่อการเป็นเบนด์มากกว่า หรือว่าต้องใช้อากาศมากจนไม่สามารถนำอากาศในปริมาณที่พอเพียงลงไปได้ เป็นต้น นักดำน้ำแบบ Tec จึงมักต้องใช้อากาศที่มีส่วนผสมแตกต่างกันไป เพื่อให้มีเวลาในการดำน้ำให้นานเพื่อลดเวลาในการทำ Deco หรือเร่งรัดกระบวนการทำ Deco นั่นเองครับ อันดับแรกเลย นักดำน้ำแบบ Tec จะต้องมีความรู้เรื่องความลึกที่นำมาใช้คำนวณ (Equivalent Air Depth: EAD) และความลึกสูงสุดของก๊าซที่ใช้หายใจ (Maximum Depth: MOD) ซึ่งความรู้เหล่านี้จะเรียนมาก่อนในหลักสูตร Enriched Air Nitrox Diver Course แล้ว จากนั้น จึงหัดหาอัตราการบริโภคอากาศที่ผิวน้ำ (Surface Air Consumption: SAC) ของตัวเอง ซึ่ง SAC ของแต่ละคนก็จะไม่เท่ากัน จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่เริ่มต้นก็ต้องเริ่มคำนวณหาอะไรกันเยอะแยะไปหมดแล้ว นักดำน้ำแบบ Tec จะต้องรู้หลายเรื่องมากเลยก่อนที่จะเริ่มดำน้ำ เช่น ต้องรู้ว่าตนมีอากาศลงไปในปริมาณเท่าไร เพียงพอต่อการใช้ดำน้ำในแต่ละครั้งและมีสำรองในกรณีฉุกเฉินหรือเปล่า อากาศในแต่ละถังสามารถใช้ได้ในความลึกเท่าไร ฯลฯ นอกจากนั้น ยังต้องวางแผนไว้เผื่อการเมาไนโตรเจน การวางแผนเพื่อป้องกันออกซิเจนเป็นพิษ หลายเรื่องที่ต้องนำมาใช้ในที่นีจะได้เรียนมาก่อนแล้วในหลักสูตร Enriched Air Diver Specialty และหลักสูตร Deep Diver Specialty ซึ่งผู้ที่จะก้าวเข้ามาเรียน Tec จำเป็นต้องผ่านหลักสูตรเหล่านี้เสียก่อน การจะดำน้ำแบบนี้ ความคิดและเจตคติของนักดำน้ำ จึงต้องมีความแตกต่างกับนักดำน้ำแบบ Rec โดยทั่วไปพอสมควร การที่จะดำน้ำแบบวางแผนตามคอมพิวเตอร์ ดำจนอากาศเกือบหมด หรือดำตามสบาย แล้วค่อยจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นภายหน้า กลายเป็นเรื่องอันตรายร้ายแรงสำหรับการดำน้ำแบบ Tec นักดำน้ำแบบ Tec จำเป็นต้องวางแผนล่วงหน้าและดำน้ำตามแผนอย่างเคร่งครัด เช่น ต้องวางแผนเรื่องปริมาณก๊าซที่จะใช้หายใจอย่างที่กล่าวมาแล้ว ต้องวางแผนเรื่องความลึกและเวลา เรื่องระดับการทำ Deep Stop และ Deco Stop จนกระทั่ง ต้องมีการวางแผน และเขียน Run Time ว่า ณ เวลานี้ จะต้องมาอยู่ ณ จุดไหนของความลึกที่ดำน้ำ…

อ่าน Technical Diving ตอนที่ 3

Technical Diving ตอนที่ 1

This entry is part 4 of 4 in the series Technical Diving

รู้จักกับการดำน้ำแบบ เทคนิคอล ไดวิ่ง (Technical Diving) ที่ต่างจากการดำน้ำแบบพักผ่อน (Recreational Diving) ทั้งในแง่วิธีการและขีดจำกัด และความเสี่ยงอันตรายก็แตกต่างกันอย่างมากด้วย

อ่าน Technical Diving ตอนที่ 1