รูปแบบของการคำนวณ ปริมาณไนโตรเจนในร่างกาย ของ dive computer นั้น ไม่ได้แตกต่างไป กับที่ใช้ในตารางดำน้ำ หรือจาก The Wheel แต่อย่างใด เพียงแต่ dive computer จะคำนวณจากความลึก และเวลาจริงที่นักดำน้ำทำการดำน้ำ รวมทั้งจากการพักน้ำด้วย ทำให้เวลาในการดำน้ำ มีมากกว่าการใช้ตารางดำน้ำทั่วไป เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลากับความลึกที่ไม่ได้ดำ
dive computer ก็มีความแตกต่างกันไปในการคำนวณ เราสามารถแบ่งกลุ่ม dive computer ออกได้เป็นสามกลุ่มหลักๆ ดังนี้
- Spencer Limit, EE Washout dive computer กลุ่มนี้ จะมีค่า M-Value คล้ายกันกับตารางดำน้ำทั่วไป และค่าขีดจำกัดของเวลาในการดำน้ำ สำหรับการดำน้ำครั้งเดียว ก็ไม่แตกต่างจากของตารางดำน้ำ เช่นกัน ในขณะที่พักน้ำ เวลาในการกำจัดไนโตรเจนในร่างกาย ก็จะใช้การคำนวณ halftime เท่ากันกับเวลา ที่ไนโตรเจนเข้าสู่ร่างกาย (EE จึงหมายถึง Exponential Uptake, Exponential Release)
- Spencer Limit, 60 Minutes Washout dive computer กลุ่มนี้ ใช้การคำนวณแบบเดียวกันกับตารางดำน้ำ เช่นเดียวกันกับแบบแรก แตกต่างจากแบบแรก เพียงเรื่องของการคำนวณ การกำจัดไนโตรเจนในร่างกาย ซึ่งจะคำนวณให้ compartment ที่มี halftime เท่ากับหรือน้อยกว่า 60 นาที ใช้การสลายไนโตรเจนออกจากร่างกายที่ระดับ halftime 60 นาที ส่วน compartment ที่ใช้เวลาช้ากว่านี้ ให้ใช้การสลายไนโตรเจนออกจากร่างกาย ตามเวลา halftime ของแต่ละ compartment นั้นๆ dive computer กลุ่มนี้ จะมีความคล้ายคลึงกับตารางดำน้ำทั่วไปมากที่สุด
- Buhlmann Limit, EE Washout dive computer กลุ่มนี้ จะใช้ค่า M-Value ที่ต่ำกว่า ตามการคำนวณของ Dr Buhlmann และเวลาในการกำจัดไนโตรเจนออกจากร่างกาย จะเป็นไปตามเวลา halftime ของแต่ละ compartment นั้น dive computer กลุ่มนี้ จึงให้เวลาขีดจำกัดในการดำน้ำ น้อยกว่าตารางดำน้ำทั่วไป
dive computer รุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบัน สามารถคำนวณ และลดเวลาในการดำน้ำให้เราได้ หากเรามีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็น DCS เกิดขึ้น เช่น ขึ้นเร็วเกินไป น้ำเย็นเกินไป หายใจเร็วเกินไป ฯลฯ dive computer รุ่นใหม่จำนวนมาก ก็สามารถใช้คำนวณการดำน้ำแบบ Enriched Air และสามารถสลับไปมา ระหว่างอากาศแบบ Enriched Air กับอาการธรรมดาด้วยครับ
อธิบายศัพท์
Compartment : จากการศึกษาของ Haldane พบว่าส่วนต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ มีการดูดซึม และปลดปล่อยก๊าซไนโตรเจน ในระดับที่แตกต่างกัน Haldane จึงได้กำหนด และแบ่งเนื้อเยื่อ ในทางทฤษฎีออกเป็นหลายๆ ส่วน โดยเนื้อเยื่อในทางทฤษฎี แต่ละส่วนนี้ ไม่ได้เป็นตัวแทนของเนื้อเยื่อจริงๆ ในร่างกายของมนุษย์แต่อย่างใด และได้เรียกเนื้อเยื่อทางทฤษฎี หรือเนื้อเยื่อทางการคำนวณนี้ว่า Tissue Compartment โดยในโมเด็ลแรกของ Haldane นั้น จะมีทั้งหมด 5 compartments และในระยะหลังมีการใช้ถึง 14 หรือมากกว่า compartments ในการคำนวณ
halftime : ในแต่ละ compartment นั้น Haldane ก็ได้กำหนดเวลาหรือระดับในการดูดซึม และปลดปล่อยก๊าซไนโตรเจน และเรียกว่า halftime ซึ่ง halftime นี้ จะกำหนดเป็นนาที สำหรับใช้ในการที่ก๊าซไนโตรเจน จะถูกดูดซึมไปถึงครึ่งหนึ่ง จากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดอิ่มตัว ในแต่ละความลึก
M-Value : นอกจากแตกต่างกันในเรื่องของ halftime แล้ว แต่ละ compartment ยังมีความแตกต่างกัน ในเรื่องของ M-Value ด้วย ซึ่งเจ้า M-Value นี้ พูดง่ายๆ ก็คือ ค่ากำหนดสูงสุดของแรงดันในเนื้อเยื่อ (Tissue Pressure) ในแต่ละ compartment ที่จะให้มีได้ ขณะที่นักดำน้ำขึ้นมาสู่ผิวน้ำ หากเกินค่า M-Value ไปแล้ว อาจจะทำให้ระดับความแตกต่าง ของแรงกดดันมีมากเกินไป จนทำให้เป็นโรค อันเนื่องจากความกดดัน (Decompression Sickness) ขึ้นมาได้ compartment ที่มี halftime เร็วๆ ก็จะมีค่า M-Value ที่สูงกว่า ในขณะที่ compartment ที่มี halftime ช้าๆ ก็จะมีค่า M-Value ที่ต่ำกว่าครับ