Images of 4 Marine Animals as New Reserved Wild Life 2019

ประกาศเพิ่มสัตว์ทะเลหายาก 4 ชนิด เป็นสัตว์ป่าสงวน

หลังจากผ่านมติคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ให้สัตว์น้ำ 4 ชนิด ได้แก่ 1. วาฬบรูด้า (Bryde’s whale) 2. วาฬโอมูระ (Omura’s whale) 3.ฉลามวาฬ (Whale Shark) 4. เต่ามะเฟือง (Leatherback turtle) เป็นสัตว์ป่าสงวน มาแล้ว เมื่อวานนี้ ราชกิจจานุเษกษา ได้ประกาศ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 ฉบับใหม่ บรรจุสัตว์ทะเลทั้ง 4 ชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวนเรียบร้อยแล้ว นับเป็นการประกาศรายช่อสัตว์ป่าสงวนเพิ่มเป็นครั้งแรกในรอบ 27 ปี ทำให้ปัจจุบันนี้ ไทยมีสัตว์ป่าสงวนรวมทั้งสิ้น 19 ชนิดแล้ว เรามารู้จักสัตว์น้ำที่เพิ่มขึ้นใหม่ทั้ง 4 ชนิดกันเถอะ 1. วาฬบรูด้า (Bryde’s whale) ชื่อของมันถูกตั้งให้ผู้ค้นพบมันเป็นคนแรก คือโยฮัน บรูด้า ในปี ค.ศ. 1909 มันถูกจัดว่าเป็นชนิดหนึ่งของวาฬไม่มีฟัน (Baleen Whale) ขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในเขตร้อน มักอาศัยอยู่ในทะเลที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 16 องศาเซลเซียส เช่นในทะเลของประเทศไทย โดยในไทยพบว่ามีวาฬบรูด้าอยู่ประมาณ 20 – 25 ตัว โดยพบห่างจากชายฝั่ง 4 – 30 กิโลเมตรของทะเลอ่าวไทย วาฬบรูด้ามีรูปร่างเรียวสีเทาอมฟ้า มีครีบหลังเป็นรูปเคียวโค้งไปทางด้านหลังของลำตัว มีรอยจีบใต้ลำคอขนานกับลำตัวประมาณ 40 – 70 รอย ความยาวสูงสุดของตัวผู้โตเต็มวัยอยู่ที่ 15 เมตร ตัวเมียอยู่ที่ 16.5 เมตร และน้ำหนักสูงสุดอยู่ที่ 40 ตัน แต่ถึงแบบนั้นอาหารของมันกลับมีขนาดเล็ก คือแพลงก์ตอนของสัตว์จำพวกกุ้ง หมึกกระดอง และฝูงปลาขนาดเล็ก มันมักจะหากินเพียงลำพัง ยกเว้นวาฬเด็กที่ออกหากินกับแม่ โดยวิธีการกินอาหารของมันนั้นจะใช้ซี่กรองขนาดใหญ่รูปร่างคล้ายตะแกรงที่อยู่บริเวณขากรรไกรบนของมัน กรองสัตว์ขนาดเล็กๆ เป็นอาหาร โดยวาฬบรูด้าเต็มวัยหนึ่งตัวอาจกินอาหารถึง 590 กิโลกรัมต่อวัน ปัจจุบันพวกมันถูกคุกคามจากมนุษย์จนมีจำนวนลดลงอย่างมาก เนื่องจากปลาและกุ้งขนาดเล็กซึ่งเป็นอาหารของมันมีจำนวนลดลงเพราะมนุษย์ และมนุษย์ยังปล่อยมลพิษทางน้ำ และมลพิษทางเสียงจากการเดินเรือยนต์ บางครั้งมันยังได้รับอุบัติเหตุจากอวนของชาวประมง หรือการขับเรือชนโดยมิได้ตั้งใจอีกด้วย 2. วาฬโอมูระ (Omura’s whale) เป็นวาฬสายพันธุ์หายากที่มีความใกล้เคียงกับวาฬบรูด้า ถูกค้นพบครั้งแรกจากซากของมันในปี ค.ศ. 2003 และเมื่อพิจาณาจากซากแล้วจึงพบว่ามีความต่างจากวาฬบรูด้า กล่าวคือวาฬโอมูระนั้นมีขนาดเล็กกว่า ตัวผู้ที่โตเต็มวัยยาวเพียง 10…

อ่าน ประกาศเพิ่มสัตว์ทะเลหายาก 4 ชนิด เป็นสัตว์ป่าสงวน
Yellow-lipped sea krait (Laticauda colubrina)

รู้จักกับ งูทะเล … ถ้าเจอกันตอนดำน้ำ ใครควรจะกลัวใคร ?

พิษงูทะเลนั้นร้ายแรงกว่างูเห่า 2-10 เท่าอีกต่างหาก มันช่างน่ากลัวเสียนี่กระไร … ความจริงแล้ว ยังมีอีกหลายประเด็นเกี่ยวกับงูทะเลที่ไม่ได้พูดถึงกัน ว่าจริงๆ แล้ว มันร้ายกาจแบบนั้นจริงหรือไม่

อ่าน รู้จักกับ งูทะเล … ถ้าเจอกันตอนดำน้ำ ใครควรจะกลัวใคร ?

ทะเลที่ไร้ฉลาม…น่ากลัวอย่างไร

ในหลายๆประเทศ เช่น ปาเลา มัลดีฟส์ ฮอนดูรัส ฯลฯ ได้ประกาศห้ามทำการซื้อขายหูฉลาม และหันมาจัดตั้งเขตอนุรักษ์ฉลามอย่างจริงจังแทนแล้ว ‘A living shark’ is far more worthy than ‘a dead shark’. A study in Palau suggests that a single reef shark has a value to the tourism industry up to US$ 1.9 million over its lifetime. In contrast, if the same shark was killed for consumtion, it’ll worth only US$ 108. Therefore, many countries and states such as Palau, maldives, Hawii, Marshell Islands, Hoduras, etc. have banned shark fin trade. Many of them have established a shark sanctuary. Episode 1: จะเกิดอะไรขึ้น…ถ้าฉลามหายไป Episode 2: ฉลามสร้างประโยชน์ให้มนุษย์มากกว่าทำร้าย Episode 3: ฉลาม vs. มนุษย์….ใครกันแน่ที่น่ากลัว อ้างอิง: http://www.pewtrusts.org/en/research-and-analysis/reports/2011/05/02/milliondollar-reef-sharks ที่มา: Nature Toon การ์ตูนสื่อความหมายธรรมชาติ

อ่าน ทะเลที่ไร้ฉลาม…น่ากลัวอย่างไร

ฉลาม vs. มนุษย์ … ใครกันแน่ที่น่ากลัว

จำนวนคนที่ถูกฉลามทำร้าย กับ จำนวนฉลามที่ถูกคนล่า … ใครกันแน่ที่น่ากลัว

อ่าน ฉลาม vs. มนุษย์ … ใครกันแน่ที่น่ากลัว

ฉลามสร้างประโยชน์ให้มนุษย์มากกว่าทำร้าย

ประโยชน์ของฉลาม ที่มากกว่าซุปหูฉลาม

อ่าน ฉลามสร้างประโยชน์ให้มนุษย์มากกว่าทำร้าย

จะเกิดอะไรขึ้น…ถ้าฉลามหายไป

ถ้าฉลามผู้ล่า กลายเป็นผู้ถูกล่าโดยมนุษย์ อะไรจะเกิดขึ้นกับระบบนิเวศใต้ทะเล และกระทบต่อคนเราอย่างไร

อ่าน จะเกิดอะไรขึ้น…ถ้าฉลามหายไป

10 อาชีพสิ่งมีชีวิตแนวปะการัง

รู้ไหม… สิ่งมีชีวิตใต้ทะเลก็มี ‘อาชีพ’ นะ

ตอนนี้ เราจะพาไปสำรวจ ‘เมืองแนวปะการัง’
ไปดูซิว่า.. เหล่าสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในเมืองนี้ ทำหน้าที่อะไรกันบ้าง

อ่าน 10 อาชีพสิ่งมีชีวิตแนวปะการัง

เจอเม่นทะเล ไม่ต้องกลัว แค่ระวังตัวนิดนึง

เรื่องของสัตว์ทะเลที่น่ากลัวที่สุด (สำหรับนักดำน้ำใหม่) รู้จักไว้ เพื่อไม่ต้องกลัวอีกต่อไป

อ่าน เจอเม่นทะเล ไม่ต้องกลัว แค่ระวังตัวนิดนึง
A jellyfish ( Aurelia Aurita - Familia : Ulmariidae ) swims around in the sunshine on the turquoise Mediterranean seashore

“แมงกะพรุน” ทั่วโลกเพิ่มไม่หยุด หวั่นทะเลเสียสมดุล

นักสมุทรศาสตร์เผย สถิติแมงกะพรุนทั่วโลกกำลังแพร่พันธุ์เต็มมหาสมุทร อย่างไม่มีทีท่าว่าจะลดจำนวนลงได้ง่ายๆ เหมือนอย่างที่ผ่านมา ขณะที่ปลาทะเลและสัตว์ทะเลชนิดต่างๆ กลับลดลงอย่างน่าใจหายเพราะน้ำมือของมนุษย์ ภาพประกอบ: แมงกระพรุนแหวกว่ายอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ใกล้กับชายฝั่งเมืองเคแมร์ ประเทศตุรกี ซึ่งถูกบันทึกภาพไว้ได้เมื่อเดือน มิ.ย. 2547 (ภาพจาก AFP PHOTO / TARIK TINAZAY) “เมื่อสัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่น ปลา ลดจำนวนลง สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นมาแทนที โดยเฉพาะแมงกะพรุน” คำพูดของริคาร์โด อากิลาร์ (Ricardo Aguilar) ผู้อำนวยการของโอเชียนา (Oceana) องค์กรสากลด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติแห่งท้องทะเล ซึ่งรายงานจากสำนักข่าวเอเอฟพี ระบุอีกว่า ในขณะนี้ท้องทะเลทั่วโลกกำลังประสบกับปัญหาแมงกะพรุนแพร่กระจายเป็นจำนวนมาก และในบางท้องที่ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายกับนักท่องเที่ยวได้ ข้อมูลจากนักสมุทรศาสตร์ ระบุว่า โดยปกติ แมงกะพรุนจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นในทุกๆ 12 ปี และจะมีปริมาณมากคงที่อย่างนั้นต่อไปราว 4-6 ปี ก่อนจะค่อยลดลงอีกครั้ง เป็นวัฏจักรเช่นนี้มานานร่วม 2 ศตวรรษ ทว่าในปี 2551 นี้นับเป็นปีที่ 8 แล้ว ที่ฝูงแมงกะพรุนในทะเลต่างพากันเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างขาดการควบคุม จนมีปริมาณมากและกลายเป็นปัญหาในหลายๆ ท้องที่ เช่น ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ที่มากกว่าปัญหาคือ มันกลับกลายเป็นสัญญาณเตือนว่า สิ่งแวดล้อมในทะเลกำลังย่ำแย่ลงทุกขณะ ระบบนิเวศน์กำลังเข้าสู่ภาวะเสียสมดุล สาเหตุที่ทำให้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอย่างแมงกระพรุนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น เอเอฟพีรายงานว่า เป็นเพราะการลดจำนวนลงของปลาและสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นๆ จากการถูกล่า และการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลโดยมนุษย์เรานั่นเอง โดยเฉพาะพวกทูนา, ฉลาม และเต่าอีกหลายชนิด ซึ่งหากสัตว์เหล่านี้ลดน้อยลง นั่นหมายถึง ศัตรูที่จะมาคอยแย่งอาหารกับแมงกะพรุนก็ลดลงด้วย ทำให้แมงกะพรุนมีแหล่งอาหารอันโอชะมากมาย ทั้งแพลงก์ตอนและปลาขนาดเล็ก แอนดรูว์ ไบรเออร์เลย์ (Andrew Brierley) นักวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย เซนต์แอนดรูว์ส (University of St Andrews) ในสกอตแลนด์ อธิบายว่า เมื่อแมงกะพรุนเพิ่มมากขึ้น ก็จะไปแย่งอาหารกับปลาอื่นๆ อีก และมันก็ยังเป็นศัตรูผู้ล่าปลาเหล่านั้นไปด้วย ขณะเดียวกัน สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำทะเลสูงขึ้น ก็เป็นปัจจัยส่งเสริมให้แมงกะพรุนขยายพันธุ์ได้ดียิ่งขึ้นด้วย ก็ยิ่งทำให้แมงกะพรุนครองอาณาเขตในมหาสมุทรได้ไม่ยาก

อ่าน “แมงกะพรุน” ทั่วโลกเพิ่มไม่หยุด หวั่นทะเลเสียสมดุล

อากาศวิปริต แตนทะเลเกลื่อนหาด – แปรปรวนยาวถึงกลางปี

ลานีญ่า ทำสภาพอากาศเมืองไทยแปรปรวนยาว แตนทะเลเกลื่อนชายหาดช่วงหน้าร้อน พิษร้ายคันแสบร้อนทั้งตัว ระบาดหนักชายหาดท่องเที่ยวดังเกือบทุกแห่ง

อ่าน อากาศวิปริต แตนทะเลเกลื่อนหาด – แปรปรวนยาวถึงกลางปี